02 149 5555 ถึง 60

More About Mental Health and Psychiatry Abstract Databases

         

1.หลักการและเหตุผล

เนื่องจากการขยายตัวของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ทเข้าสู่งานต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และความเปลี่ยน แปลงของโลกในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน ทำให้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ทเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้จากแหล่งต่างๆได้อย่าง กว้างขวางและรวดเร็ว ส่งผลให้สังคมเกิดความตื่นตัวและต้องการใช้อินเตอร์เน็ทมากขึ้น

          องค์ความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยนั้น จัดเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าสูงในเชิงวิชาการ ในอดีตที่ผ่านมาองค์ความรู้เหล่านี้มักจะมีการเผยแพร่เฉพาะใน วารสารวิชาการวิชการ และมีการเก็บเฉพาะอยู่ในห้องสมุดเท่านั้น ทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูล แต่ในปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การสืบค้นข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ สามารถทำได้ อย่างรวดเร็วบนระบบอินเตอร์เน็ท (Leipsic, ค.ศ.1999; Sherer, ค.ศ.1999)

          การสืบค้นข้อมูลองค์ความรู้ที่เป็นบทคัดย่อทางการวิจัยทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในประเทศไทย นั้น ยังไม่หน่วยงานใดได้จัดทำขึ้น กรมสุขภาพจิตในฐานะที่รับผิดชอบโดยตรง การพัฒนางานวิชาการด้านสุขภาพจิต จึงได้รวบรวมผลงานวิจัยทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล ให้มีการสืบค้นได้ทางระบบอินเตอร์เน็ท โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลและเผยแพร่เป็นครั้งแรกที่ website ของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น แต่ประสบปัญหาทางเทคนิคหลายประการ จึงได้มีการพัฒนาปรับปรุงเรื่อยมา

         ฐานข้อมูลเวอร์ชั่น 2 นี้ ได้นำฐานข้อมูลเดิมของปี 2542 มาปรับปรุงในด้าน 1. การจัดเก็บข้อมูลที่มีการกำหนดกรอบที่ย้อนหลังในแหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญในทางวิชาการ และเปลี่ยนเป้าหมายจากเก็บย้อนหลังเพียง 20 ปี ก็เปลี่ยนเป็นเก็บย้อนหลังทั้งหมด เปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บที่มีรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมขึ้น และเปลี่ยนเวอร์ชั่นของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับจัดเก็บข้อมูลให้มีความทันสมัย และให้สามารถประมวลและแสดงผลออนไลน์ได้ ทั้งนี้ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี งบประมาณ 2545 เป็นต้นไป จนได้เป็นฐานข้อมูลสุขภาพจิตและจิตเวชแห่งประเทศไทยเวอร์ชั่นปัจจุบัน และเผยแพร่ทาง website กรมสุขภาพจิต

          ฐานข้อมูลสุขภาพจิตและจิตเวชแห่งประเทศไทยนี้ กรมสุขภาพจิตได้จัดทำขึ้น เพื่อรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้บทคัดย่อรายงานวิจัย ด้านสุขภาพจิตและจิตเวช จากวารสารวิชาการชั้นนำในประเทศไทย ที่ได้มีการจัดทำและเผยแพร่มาตั้งแต่อดีต คือจากปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) มาจนถึงปีปัจจุบัน ที่จัดเก็บกระจัดกระจายอยู่ในห้องสมุดต่างๆ ขององค์กรในสังกัดกรมสุขภาพจิต ทั่วประเทศ โดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลบทคัดย่อรายงานวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช (Mental Health and Psychiatry Abstract Databases) และเผยแพร่ทางระบบอินเตอร์เน็ทนักวิชาการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช นักวิชาการอื่นๆ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ องค์ความรู้ทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวชได้สืบค้นข้อมูลองค์ความรู้เหล่านั้นได้ โดยกรมสุขภาพจิต มีเป้าหมายที่จัดเก็บรวบรวมข้อมูลบทคัดย่อรายงานวิจัยทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช เพื่อบริการเป็น ฐานข้อมูล องค์ความรู้บทคัดย่อจากการวิจัยสำหรับประเทศไทย ที่จะมีบริการเป็นแบบ One Stop Services สำหรับบริการข้อมูลบทคัดย่อ รายงานวิจัยทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

         อนึ่ง ในปัจจุบัน กรมสุขภาพจิตมีหน้าที่รับผิดชอบในด้าน การป้องกันปัญหายาเสพติด เพื่อให้ข้อมูลที่จัดเก็บในฐานข้อมูลมีความเป็น One Stop Services โดยสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ กรมสุขภาพจิตจึงได้รวบรวมเอาข้อมูล บทคัดย่อรายงานวิจัยทางด้านยาเสพติดมารวบรวมไว้ในฐานข้อมูลเดียวกันนี้ ให้สามารถสืบค้นได้

2. วัตถุประสงค์หลัก:

1. เพื่อรวบรวมข้อมูลวิจัย ด้านสุขภาพจิตและจิตเวชที่ได้รับการจัดทำและเผยแพร่แล้วในประเทศไทยจัดทำเป็นรูปฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์

2. เพื่อให้บริการข้อมูลวิชาการ บทคัดย่อรายงานวิจัย (Abstract Database) ทางด้านสุขภาพจิต และจิตเวช แบบ One Stop Services

          สำหรับแหล่งเอกสารที่คณะผู้จัดทำจะทำการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาลงไว้ในฐานข้อมูลบทคัดย่อ (Abstract Database) นี้ ประกอบไปด้วยข้อมูลบทคัดย่อ/บทสรุปรายงานวิจัย บทความวิชาการ จากวารสารวิชาการด้านสุขภาพจิต จิตเวชศาสร์ จิตวิทยา การพยาบาลจิตเวช และยาเสพติด ซึ่งจะแบ่งกลุ่มแหล่งข้อมูลเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้คือ

          3.1 กลุ่มแหล่งข้อมูลที่จะต้องมีการเก็บและ Maintain ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ 100% ประกอบไปด้วยแหล่งข้อมูลใน 5 อันดับแรกดังต่อไปนี้คือ

          อันดับ 1 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย (Journal of Mental Health of Thailand.) : More about the journal

          อันดับ 2. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย : More about the journal

          อันดับ 3. Paper ที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงาน ในการประชุมวิชาการประจำปีของกรมสุขภาพจิต

          อันดับ 4. วารสารจิตวิทยาคลินิก (Journal of Clinical Psychology.) : More about the journal

          อันดับ 5. วารสารวิชาการกระทรวงสาธารณสุข (Journal of Health Science) : More about the journal

          3.2 แหล่งข้อมูลที่มีความพยายามที่จะเก็บและรวบรวมให้ได้สมบูรณ์ 100% ( คัดเลือกเอาเฉพาะผลงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต จิตเวช และยาเสพติด) ประกอบไปด้วย อันดับที่ 6-9 ดังต่อไปนี้

          อันดับ 6. วารสารกรมการแพทย์ (Bulletin of the Department of Medical Services.): More about the journal

          อันดับ 7. สารศิริราช (Siriraj Hospital Gazette.): More about the journal

          อันดับ 8. จดหมายเหตุทางแพทย์ (Journal of The Medical Association of Thailand.): More about the journal

          อันดับ 9. Paper ที่ได้รับการคัดเลือกนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข: More about the journal

          3.3 แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆเท่าที่เก็บรวบรวมได้ ประกอบไปด้วยแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้คือ

          อันดับ 10. อื่นๆ

          ทั้งนี้คือได้รวบรวมรายงานการวิจัยจากวารสารดังต่อไปนี้ โดยคัดเลือก เอาเฉพาะรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต จิตเวช และในปี 2545 (ซึ่งเป็นปีที่กรมสุขภาพจิตมีการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตในหัวข้อ สุขภาพจิตและยาเสพติด คณะผู้จัดทำได้ทำการเก็บข้อมูลด้านยาเสพติดเพิ่มเติมไปด้วย ดังรายนามเรียงตามอักษร คือ

          10.1 วารสารกระทรวงสาธารณสุข (Journal of Ministry of Public Health.)

          10.2 Research Paper. ที่เป็นผลงานวิจัย อวช. ของข้าราชการสังกัดกรมสุขภาพจิตตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป วารสารของโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต และ วิทยานิพนธ์ของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขที่เรียนต่อปริญญาโทมหาวิทยาลัยต่างๆ

         10.3 ขอนแก่นเวชสาร

         10.4 สารสภาการพยาบาล

         10.5 จุลสารโรงพยาบาลนิติจิตเวช

         10.6 ตากสินเวชสาร

         10.7 พุทธชินราชเวชสาร

         10.8 พยาบาลสาร

         10.9 พยาบาลสงขลานครินทร์

         10.10 รามาธิบดีพยาบาลสาร

         10.11 วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         10.12 วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

         10.13 วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

         10.14 วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

         10.15 วารสารพยาบาล

         10.16 วารสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวอีสาน

         10.17 วารสารโรคเอดส์

         10.18 วารสารโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี

         10.19 วารสารโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่

         10.20 วารสารวิจัยทางการแพทย์

         10.23 วารสารวิจัยทางการพยาบาล

         10.21 วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี

         10.22 วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย

         10.23 วารสารสมาคมพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย

         10.24 วารสารสมาคมพยาบาลภาคตะวันออเฉียงเหนือ

         10.25 วารสารสมาคมพยาบาลสาธารณสุข

         10.26 วารสารสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล

         10.27 วารสารสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)

         10.28 วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคกลาง

         10.29 ศรีนครินทร์เวชสาร


          4.รายละเอียดในฐานข้อมูล

                     ในแต่ละระเบียนในฐานข้อมูล จะประกอบไปด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย ซึ่งอาจจะซ้ำกัน แต่มีเงื่อนไขว่าแหล่งเผยแพร่ของผลงานจะแตกต่างกัน เช่น ในเรื่องเดียวกัน เจ้าของเดียวกัน แต่เคย Present ในเวทีประชุมวิชากรมสุขภาพจิต หรือเวทีประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ขณะเดียวกันอาจจะเผยแพร่ในวารสารชั้นนำอีกด้วย เป็นต้น

                     รายละเอียดที่มีอยู่ในฐานข้อมูล ประกอบไปด้วยตารางหลักดังต่อไปนี้คือ

                   4.1 หมายเลขประจำระเบียนในฐานข้อมูล (Code) จัดให้เป็น Primary Index

                   4.2 ชื่อเรื่อง/ชื่อรายงานวิจัย (Title Name)

                   4.3 ผู้วิจัย/เจ้าของผลงาน (Authors)

                   4.4 ที่อยู่ของผู้วิจัย (Address)

                   4.5 ปีที่เผยแพร่ผลงานวิจัย (Year) ประกอบไปด้วยปี พ.ศ. สำหรับเอกสารภาษาไทย และปี ค.ศ. สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ

                   4.6 แหล่งที่มาของเอกสารงานวิจัย/รายงานการวิจัย (Source)

                   4.7 ประเภทของเอกสาร/รายงานการวิจัย โดยแบ่งเป็น บทคัดย่อรายงานวิจัย/รายงานผู้ป่วย/สรุปรายงานวิจัย วารสารวิชาการ (Abstract Journal/Case Report/Summary), รายงานวิจัยที่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอในเวทีประชุม วิชาการ (Paper), หรือเอกสารงานวิจัย/วิทยานิพนธ์ (Research Paper)

                   4.8 บทคัดย่อ (Abstracts)

                   4.9 ภาษา (Language_Type) ซึ่งมีอยู่สองภาษาคือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

                   4.10 หมายเลข ISSN สำหรับวารสาร และหมายเลข ISBN สำหรับเป็นหนังสือรายงานการวิจัยบางฉบับที่หมายเลขกำกับ

                   4.11 Headings ซึ่งประกอบไปด้วยสองหัวเรื่อง คือ DMH_heading และ DMH_Subheading

                        ก. หัวเรื่องหลัก (DMH_heading): ในฐานข้อมูลของกรมสุขภาพจิตนี้ ได้รวบรวมเรื่องการรักษาพยาบาล การป้องกันส่งเสริม การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวช ยาเสพติด และการพยาบาลจิตเวช ไว้รวมกันเป็นหัวข้อใหญ่ คือ Mental Health.

                         ข. หัวเรื่องรอง (DMH_Subheading) ในฐานข้อมูลของกรมสุขภาพจิตนี้ ได้จัดโครงสร้างของวิชาการสุขภาพจิตแบบเดียวกับโครงสร้างการทำงาน ขององค์การอนามัยโลกเป็นแนวทาง คือ จัดให้หัวข้อ Mental Health เป็นหน่วยใหญ่ และมีหน่วยย่อยของสาขาวิชาดังนี้คือ 1. Psychiatry (ซึ่งจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลทั้งหมด) 2. Mental Health ที่เป็นหน่วยย่อย จะเป็นเรื่องป้องกันส่งเสริมสุขภาพจิต และจิตวิทยา 3. Substance Dependence (ยาเสพติด ส่วนป้องกันส่งเสริม) ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายให้กรมสุขภาพจิตรับผิดชอบในส่วนป้องกันส่งเสริม 3. Child Psychiatry 4. Neuro-Psychiatry 5. Psychiatric Nursing (การพยาบาลจิตเวช) และ 6. ปัญญาอ่อน (Mental Retardation)

                   4.12 Keywords หรือคำสำคัญที่ใช้ในการสืบค้น ซึ่งได้กล่าวรายละเอียดเรื่องนี้ไว้ในโปรแกรม Help 2. Guide to Searching. (โปรแกรมคำแนะนำช่วยสืบค้นข้อมูล)

 

Preset Colors