02 149 5555 ถึง 60

 

7 เดือน ฆ่ากันตายในครอบครัว สถิติพุ่ง!! จี้รัฐแอคชั่นแก้ปัญหา

7 เดือน ฆ่ากันตายในครอบครัว สถิติพุ่ง!! จี้รัฐแอคชั่นแก้ปัญหา

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ที่โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ หลักสี่ กรุงเทพฯ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนา “จับสัญญาณอันตรายความตายความรุนแรงในครอบครัว

นางสาวอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า มูลนิธิฯได้เก็บสถิติข่าวความรุนแรงในครอบครัว จากหนังสือพิมพ์ 11 ฉบับ ระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2561 พบว่าเพียงแค่ 7 เดือน มีข่าวความรุนแรงในครอบครัวสูงถึง 367 ข่าว แบ่งเป็นข่าวฆ่ากันตาย 242 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 65.9 รองลงมาเป็นข่าวทำร้ายร่างกาย 84 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 22.9 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบสถิติข่าวฆ่ากันตายย้อนหลังในปี 2555 และ2559 พบว่าปี 61 มีสถิติสูงสุดกว่าทุกปี ซึ่งหากวิเคราะห์เชิงลึกของข่าวกระทำความรุนแรงในครอบครัว พบปัจจัยกระตุ้นมาจากสุราและยาเสพติด รองลงมาเป็นการหึงหวง และความบีบคั้นทางเศรษฐกิจ และที่น่าห่วงคือ อาวุธปืนที่ใช้ก่อเหตุมากที่สุด ร้อยละ 40.5 รองลงมาเป็นของใช้ใกล้มือ อาทิ มีด ไม้ ค้อน</p>

<p>นางสาวอังคณากล่าวอีกว่า นอกจากนี้ พบว่านี้ร้อยละ 94.9 ของผู้ที่พบเห็นเหตุความรุนแรง เลือกที่จะนิ่งเฉย ไม่เข้าไปช่วยเหลือ สะท้อนให้เห็นว่าสังคมยังมีวิธีคิดชายเป็นใหญ่ ที่มองว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาลิ้นกับฟัน ไปช่วยเขาเมื่อเขาดีกันเราก็จะเป็นหมา ส่งผลให้คนในสังคมไม่อยากเข้าไปช่วยเหลือ และไม่กล้าเข้าไปแก้ปัญหา ทำให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น สังคมจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ว่า เรื่องครอบครัวเป็นเรื่องของสังคมหรือสาธารณะชน เมื่อพบเห็นเหตุการณ์ให้ช่วยเหลือทั้งการแจ้งปัญหาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีอำนาจหน้าที่ หรือการเข้าไปช่วยเหลือด้วยตนเอง

g>นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า สถิติความรุนแรงในครอบครัวปี 61 ที่เรารวบรวมมา 7 เดือน และคาดว่าตลอดทั้งปีจะมีเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จากสถิติที่จัดเก็บปีที่ผ่านมาๆ ทำให้ตนตั้งคำถามว่า ซึ่งส่วนหนึ่งอาจใช่ที่สังคมยังมีวิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่ ความบีบคั้นทางเศรษฐกิจ แต่สำคัญอีกอย่างคือ เราเห็นรีแอคชั่นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน้อยมาก ตรงนี้อาจไม่ใช่แค่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่ดูแล พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ยังรวมไปถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข ที่มีกลไกให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ แต่กลับไม่ออกมาณรงค์ให้ความรู้ประชาชน อาทิ ประชาชนหลายคนยังไม่รู้ว่ามีศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 ศูนย์พึ่งได้ ไม่รู้กฎหมายว่ากระทำอย่างนี้จะผิดกฎหมายอย่างไร ปัญหาจึงเพิ่มขึ้นดังกล่าว</p>

สังเกตได้จากเคสความรุนแรงที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีแต่เอ็นจีโอเท่านั้นที่ออกมาเคลื่อนไหว ให้ข้อมูลให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ทั้งที่บทบาทการแก้ปัญหาหลักคือรัฐ ที่มีเจ้าหน้าที่และกลไกสนับสนุนทั่วประเทศ ฉะนั้นเร็วๆนี้มูลนิธิจึงเตรียมไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พม.เพื่อรายงานสถานการณ์ รายงานสิ่งที่เครือข่ายเอ็นจีโอได้ขับเคลื่อนอยู่ ตลอดจนเสนอให้บูรณาการการทำงานเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน นายจะเด็จกล่าว

24 August 2561

ที่มา มติชนรายวัน

Posted By Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 523

 

Preset Colors