02 149 5555 ถึง 60

 

คลี่ปมคนติด "โซเชียล" ต้องการมีตัวตน ชอบเผือกเรื่องชาวบ้าน พบเสพติดอาหาร มีภาวะซึมเศร้า

คลี่ปมคนติด "โซเชียล" ต้องการมีตัวตน ชอบเผือกเรื่องชาวบ้าน พบเสพติดอาหาร มีภาวะซึมเศร้า

กรมสุขภาพจิต เปิดปมจิตใจคนติด "โซเชียล" เหตุต้องการมีตัวตน อยากรู้อยากเห็นเรื่องคนอื่น อยากให้คนอื่นรู้เรื่องตัวเอง โหยหาแรงสนับสนุน พบ 29% เสพติดอาหาร ชอปปิ้ง 27% มีภาวะซึมเศร้า แนะวิธีครอบครัวดึงลูกออกจากโซเชียล

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานเฟซบุ๊กเกือบ 600 ล้านคนทั่วโลก และมีราวๆ 10 ล้านคนในไทย สถิตการใช้ทุกๆ 20 นาที มีการอัพโหลดรูปถ่ายมากกว่า 3.7 ล้านรูป แชร์ ลิงก์ และอัฟเดทสเตตัส มากว่าล้านข้อความ โดยเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้คนทั่วโลกมีแนวโน้มจะติดโลกโซเชียลมากขึ้น คือ การไม่อยากอยู่อย่างโดดเดี่ยว, ต้องการการมีตัวตนมากกว่าที่เป็นอยู่ มากกว่าที่คิด, มีความอยากรู้อยากเห็นเรื่องคนอื่น พอๆกับต้องการให้คนอื่นรู้เรื่องของตน และการโหยหาแรงสนับสนุนและการยอมรับจากสังคม

น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า มีรายงานการศึกษาผลกระทบจาการติดโซเชียล พบว่า ทำเกิดความชุกที่จะเสพติดอาหารและชอปปิ้งร้อยละ 29.5 ทำให้มีปัญหาภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 27.7 และทำให้เกิดอาการวิตกกังวล และภาวะอารมณ์แปรปรวน ร้อยละ 21.1 นอกจากนี้ ยังพบว่าการติดโซเชียลก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อตัวเองและต่อสังคมที่รุนแรงในแต่ละช่วงวัย เช่น ในกลุ่มวัยก่อนเรียน พบปัญหาสมาธิสั้น สูญเสียทักษะสังคม และการเสียการเรียนรู้จากประสบการณ์ และการลงมือทำ กลุ่มวัยเรียนก่อให้เกิดปัญหาด้านความรุนแรง อ้วน,สายตาเสีย, เสียวินัย, และผลการเรียนลดลง กลุ่มวัยรุ่น ทำให้เกิดค่านิยมการบริโภคติดอินเทอร์เน็ต การรังแกกันทางโซเชียล,การล่อลวงค่านิยม และพฤติกรรมทางเพศ ผิดปกติ เป็นต้น

สำหรับการป้องกันแก้ไขปัญหา ปัจจุบันได้มีการบรรจุการติดโซเชียล เป็นโรคทางจิตเวชปะเภทหนึ่งที่ต้องได้รับการวินิจฉัย และบำบัด โดย แบ่งประเภทของการติดโซเชียลมีเดีย เป็น 3 แบบ คือ ติดสาระ เช่น ติดเกม ติดพนัน , ติดสัมพันธ์ เช่น ติดเฟซบุ๊ก และติดอุปกรณ์ เช่นติดรุ่นของสมาร์ทโฟน โดยหากสงสัยว่าติดโซเชียล ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 อย่างไรก็ตามแนวทางที่ผ่านเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้นจึงได้มีการระดมนักวิชาการเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้อย่างจริงจังมากขึ้นในเวทีการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติที่ผ่านมา ผลมีการเสนอให้เพิ่มหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน ให้เด็กรุ่นใหม่มีภูมิคุ้มกันในการใช้การใช้งานอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เด็กรู้เท่าทัน ตระหนักถึงผลเสียจากการใช้โซเชียลที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งเรียนรู้วิธีการใช้อย่างเหมาะสม และจะต้องเพิ่มการให้คำแนะนำพ่อแม่ที่ศูนย์คลินิกเด็กดี ศูนย์เด็กเล็กและร.ร.อนุบาลให้เข้าใจผลเสีย และไม่ควรให้ลูกได้อุปกรณ์จอใสก่อนอายุ 5 ขวบ

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต แนะนำการควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตใน ครอบครัว ว่า ให้ใช้หลัก “3 ต้อง 3 ไม่” คือ ต้องกำหนดเวลา, ต้องกำหนดรายการ ต้องเล่นกับลูก และไม่ใช้อินเทอร์เน็ตในห้องนอน ในเวลาที่เป็นเวลาของครอบครัว และพ่อแม่ผู้ปกครองต้องไม่เป็นแบบอย่างที่ผิด พร้อมแนะนำข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ต คือ Do รู้เป้าหมาย ควบคุมเวลา ใช้วิจารณญาณกับเนื้อหา และใช้เพื่อทำสิ่งดีๆ ให้กับชีวิต และ Don’t คือ อย่าทำด้วยความรู้สึก เช่น เล่นอินเทอร์เน็ต เพราะรู้สึกเบื่อ เหงา ตื่นเต้น เล่นไป เรื่อยๆ งมงาย รุนแรง ลามก จมปลัก แต่ควรใช้อินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุผล เช่น เพื่อ ค้นหาความรู้ เพื่อผ่อนคลายความเครียด

27 August 2561

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 927

 

Preset Colors