02 149 5555 ถึง 60

 

ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้

ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้

กทม. 9 ต.ค.-มารู้จักอาการ Pseudobulbar affect (PBA) หรือ "ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้" ของ "โจ๊กเกอร์" ภาพยนตร์ที่กำลังถูกพูดถึงไปทั่วโลก และติดอันดับภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในประเทศต่างๆ

ภาพยนตร์เรื่อง "Joker" จัดอยู่ในเรท R (Restricted) เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปีจะเข้าชมได้ ต่อเมื่อมีผู้ปกครองควบคุมดูแลเท่านั้น เนื้อหาประกอบไปด้วยความรุนแรงระดับสูง ภาษาที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงความเศร้า หดหู่ และสถานการณ์ที่อาจกระทบภาวะทางจิตใจได้

นำแสดงโดย "วาคีน ฟีนิกซ์" รับบทเป็น "อาเธอร์ เฟล็ก" หรือ "โจ๊กเกอร์" ทำรายได้เปิดตัวเมื่อสัปดาห์ก่อน 2 วัน คือ พฤหัสบดีรอบพรีวิว และวันศุกร์สำหรับการเข้าฉายวันแรก ขายตั๋วไปได้ถึง 39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และล่าสุดข้อมูลจากเว็บไซต์ IMDB ระบุว่า ทำเงินได้ถึง 96.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนทั่วโลกนับถึงเมื่อวันที่ 7 ต.ค.62 กวาดไป 248 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ติดอันดับภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในประเทศต่างๆ

ก่อนหน้านี้ "วาคีน ฟินิกซ์" ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆ ว่า เขาทำการบ้านอย่างหนักในการถ่ายทอดเรื่องราวของ "โจ๊กเกอร์" บนจอภาพยนตร์ให้สมบทบาทที่สุด โดยเฉพาะการศึกษาวิธีหัวเราะแบบ "โจ๊กเกอร์" จากผู้ป่วยที่มีอาการ "Pseudobulbar affect" หรือ PBA หรือ "ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้"

Pseudobulbar affect สู-โด-บัล-บาร์-แอฟ-เฟ็ค (PBA) ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้

การร้องไห้ การหัวเราะ เป็นเรื่องปกติของชีวิตคน แต่บางครั้งการหัวเราะและการร้องไห้ ก็อาจเป็นความผิดปกติ ได้เหมือนกัน

อาการของผู้ป่วย PBA

1.ร้องไห้ หรือหัวเราะรุนแรง ควบคุมไม่ได้

2.การร้องไห้หรือหัวเราะนั้น ไม่เข้ากับสถานการณ์

3.การแสดงสีหน้าไม่ตรงกับอารมณ์

4.อาการเป็นอย่างยาวนานเกินกว่าที่คาดไว้

5.มีอาการได้หลายครั้งต่อวัน

สาเหตุที่พบ เชื่อว่า PBA เกิดจากปัญหาที่สมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) พบได้ในโรคต่างๆ

• โรคหลอดเลือด

• โรคความจำเสื่อมและโรคพาร์กินสัน

• เนื้องอกในสมองบางชนิด

• Multiple Sclerosis โรคปลอกประสาทเสื่อม

วิธีรักษา

1.พบแพทย์และอธิบายอาการ เพื่อแยกระหว่าง PBA กับโรคทางอารมณ์ชนิดอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า ไบโพลาร์

2.ทำไดอารี่บันทึกช่วงเวลาที่มีอาการ

3.รักษาด้วยวิธีการใช้ยา

วิธีดูแลตนเองหรือคนที่มีอาการ

• พูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการนี้กับครอบครัว เพื่อลดความตื่นตระหนกเมื่อมีอาการ

• ปรับเปลี่ยนอิริยาบถสามารถลดอาการได้ เช่น จากลุกเป็นนั่ง จากนั่งเป็นเดิน

• หายใจเข้า-ออก ช้าๆ

• ฝึกการผ่อนคลายทุกๆ วัน

10 October 2562

ที่มา The Nation

Posted By Nitayaporn/Thongpet/Kanchana

Views, 3060

 

Preset Colors