02 149 5555 ถึง 60

 

เผลอหลับระหว่างวัน อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเป็น “โรคลมหลับ”

เผลอหลับระหว่างวัน อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเป็น “โรคลมหลับ”

คุณเคยง่วงระหว่างวันแล้วหลับไปโดยไม่รู้ตัวบ้างหรือเปล่า นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนโรคเรื้อรังอย่างหนึ่งก็ได้

หลายคนมีเวลาพักผ่อนน้อยบ้าง รับประทานอาหารไม่ตรงเวลาบ้าง ทำให้ร่างกายเสียสมดุลและทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำลงได้ ดังนั้นจึงเกิดอาการอ่อนเพลีย ง่วงตลอดเวลา บางรายอาจหลับไปโดยไม่รู้ตัวเลย ทางการแพทย์ได้เรียกโรคนี้ว่า “โรคลมหลับ” นั่นเอง

โรคลมหลับ เป็นความผิดปกติด้านระบบประสาทส่วนไฮโปคริติน ทำให้มีผลกระทบกับสมองและมีผลว่าอาจเป็นเรื้อรังได้ จะมีความรู้สึกง่วงอย่างมากในช่วงกลางวันและมักหลับไปโดยไม่รู้ตัว บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงกะทันหันร่วมด้วย ถึงแม้จะนอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็จะยังรู้สึกง่วง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะทำให้มีการชีวิตแย่ลงอย่างมาก และอาจหลับในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมจนเกิดอันตรายได้ เช่น ขับรถ การทำงานก่อสร้างกลางแจ้ง เป็นต้น

สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ขัด แต่พบว่ามีความผิดปกติที่สมองควบคุมการหลับและตื่น โดยมีการหลับแทรกเข้ามาในขณะที่ยังตื่นอยู่ แต่โรคนี้มีการคาดเดาถึงสาเหตุหลัก ๆ ด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่

1.ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ

2.ปัญหาสุขภาพ เช่น โรคมะเร็งสมอง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคสมองอักเสบ หรือการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นบริเวณศีรษะ เป็นต้น

3.ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อระบบการทำงานของสมอง เช่น ความเครียด การติดเชื้อ การรับวัคซีนบางชนิดอย่างแพนเดมิกวัคซีน เป็นต้น

อาการของโรค

ส่วนใหญ่จะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ช่วงอายุ 10-25 ปี โดยอาการอาจค่อย ๆ รุนแรงมากขึ้นใน 2-3 ปีแรก หรืออาจเกิดขึ้นภายในเวลาเพียง 2-3 สัปดาห์ หลังจากเริ่มแสดงอาการ ซึ่งแต่ละรายอาจมีอาการแตกต่างกันไป

• อ่อนแรงฉับพลัน อยู่ ๆ ก็เผลอหลับไป

• กริยาท่าทางหรืออารมณ์เป็นตัวกระตุ้น เช่น หัวเราะ โกรธ แล้วก็เผลอหลับไป

• เห็นภาพหลอน ครึ่งหลับครึ่งตื่น

• รู้สึกตัวแต่ไม่สามารถขยับร่างกายได้

• ตอนกลางคืนจะนอนหลับเหมือนคนปกติ แต่กลางวันจะมีอาการของโรคลมหลับ

การสังเกตอาการอาจจะลำบากเพราะเป็นอาการเฉียบพลัน แต่เราพอสังเกตด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นโรคลมหลับหรือเปล่า

1. มีอาการง่วง เหงา หาว นอนตลอดทั้งวัน

2. มีอาการหลับอย่างเฉียบพลัน

3. มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

4. มีอาการนอนหลับแบบตากระตุก

การรักษา ทำได้โดยต้องมาตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ก่อนเนื่องจากโรคนี้พบได้น้อย ยังไม่มียารักษา และต้องแยกสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการง่วงตลอดได้ เช่น โรคซึมเศร้า การใช้ยาบางตัว เป็นต้น

ส่วนการรักษาเบื้องต้น มีดังนี้

1. เพิ่มการงีบหลับอย่างน้อยวันละ 10-15 นาที

2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

3. จัดตารางการนอนหลับของตัวเองในแต่ละวัน

4. ออกกำลังกายและรับประทานอาหารให้ตรงเวลาเสมอ

5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน งดการสูบบุหรี่

6. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อันตราย

ดังนั้นคุณควรดูแลตัวเองให้สม่ำเสมอ ทั้งรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้เพียงพอ พักผ่อนให้เพียงพอต่อร่างกายอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง และที่สำคัญควรออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามกล้ามเนื้อ สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง

18 February 2565

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 4681

 

Preset Colors