02 149 5555 ถึง 60

 

รู้จักภาวะ "ปอดอักเสบ" ผู้ป่วยโควิด-19 อาจถึงตายได้

รู้จักภาวะ "ปอดอักเสบ" ผู้ป่วยโควิด-19 อาจถึงตายได้

ผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงนี้จำนวนมากจะมีภาวะ “ปอดอักเสบ” ร่วมด้วยทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุที่อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

จากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงนี้พบว่าจังหวัดติดเชื้อสูงสุดคือ กรุงเทพมหานคร โดยวันนี้ผู้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงถึง 2,904 ราย และพบว่าผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงนี้จำนวนมากจะมีภาวะ “ปอดอักเสบ” ร่วมด้วยทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุที่อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

วันนี้ คมชัดลึกออนไลน์ จึงขอพาไปรู้จักกับภาวะ “ปอดอักเสบ” โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.สว่าง แสงหิรัญวัฒนา ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้

“ปอดอักเสบ” ทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนออกซิเจนทำงานได้ไม่ดี ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจอึดอัด หายใจลำบาก มีระดับความรุนแรงตั้งแต่รุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมากถึงขั้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นหากมีอาการผิดปกติควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็กและรักษาตามขั้นตอน จะช่วยบรรเทาอาการให้หายได้ในเร็ววัน

โรค "ปอดอักเสบ" หรือโรคปอดบวมเป็นการอักเสบของเนื้อปอดและหลอดลม โดยเกิดขึ้นได้จาก 3 สาเหตุหลักคือ

1) การติดเชื้อ ได้แก่

เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เชื้อนิวโมค็อกคัส (Pneumococcus)เชื้อไวรัส ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ เชื้อไวรัสซาร์ส (SARS Virus)

อื่นๆ ได้แก่ เชื้อรา พยาธิ ฯลฯ

2) การไม่ติดเชื้อ ได้แก่

สำลักเศษอาหารเข้าไปในปอดหายใจเอาควัน ฝุ่น เข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก

3) การแพ้ภูมิตัวเอง ภูมิต้านทานต่ำ ได้แก่

ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี (SLE)ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแฝด เด็กขาดสารอาหาร ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรัง

ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยเบาหวานผู้ที่กินยาสเตียรอยด์นานๆ

ในบางกรณีอาจเกิดจากโรคแทรกซ้อนของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทอนซิลอักเสบ หัด อีสุกอีใส ไอกรน เป็นต้น

อาการ "ปอดอักเสบ" สามารถสังเกตได้ดังนี้

ไอ มีเสมหะ มีไข้สูง อาจตัวร้อนตลอดเวลา หนาวสั่นมากหายใจลำบาก หายใจหอบเร็วอาจเจ็บแปล๊บหน้าอกเวลาหายใจเข้าอาจไอแรงร้าวไปที่หัวไหล่หรือสีข้าง

ตรวจวินิจฉัยปอดอักเสบ

การตรวจวินิจฉัยโรคปอดอักเสบ แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยจะใช้เครื่องตรวจฟังเสียงปอด หลังจากนั้นหากต้องทำการตรวจพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเอกซเรย์ปอด ตรวจเลือด ตรวจเสมหะ ตรวจเสมหะ RP33 (Respiratory Pathogen Panel 33) เป็นต้น ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

ปอดอักเสบ อย่าปล่อยให้รุนแรง

การรักษาโรคปอดอักเสบแพทย์จะทำการพิจารณารักษาตามอาการและสาเหตุเป็นหลัก หากเป็นปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ แพทย์จะให้รับประทานยาฆ่าเชื้อตามชนิดของเชื้อที่พบและนัดติดตามอาการเป็นระยะ หากอาการไม่ดีขึ้นจำเป็นจะต้องตรวจหาสาเหตุอื่นเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ

นอกจากนี้หากเป็นผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ อายุมากกว่า 65 ปี มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เหนื่อยหอบรุนแรง เจ็บหน้าอก และรับประทานอาหารลำบากอาจต้องอยู่โรงพยาบาลเพื่อเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์เป็นสำคัญ

วิธีป้องกันปอดอักเสบ

การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอช่วยให้ห่างไกลจากโรคปอดอักเสบ นอกจากนี้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบคืออีกหนึ่งทางเลือกของการป้องกัน แต่จำเป็นจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจพิจารณาก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ

ปอดอักเสบเป็นโรคที่ไม่ควรละเลย เพราะการตรวจพบในระยะแรกเริ่มของโรคและทำการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่เพียงช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น แต่ยังทำให้หายขาดได้โดยเร็ว

16 March 2565

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 861

 

Preset Colors