02 149 5555 ถึง 60

 

กรมสุขภาพจิต ผสานความร่วมมือสมาคมจิตแพทย์ฯ ราชวิทยาลัยจิตแพทย์ฯ สสส.และ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก ประจำปี 2566 พร้อมเน้นย้ำเพราะทุกคนคือฮีโร่ สามารถเป็นผู้ช่วยเหลือเพื่อหยุดยั้งการฆ่าตัวตาย

วันนี้ (9 กันยายน 2566) กรมสุขภาพจิตจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก ประจำปี 2566 พร้อมเชิญชวนทุกคนในสังคมร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันเพื่อหยุดยั้งการฆ่าตัวตาย ซึ่งทุกคนสามารถเป็นผู้ช่วยเหลือ ผู้ให้โอกาสเพื่อให้ผู้ที่กำลังอยู่ในสภาวะเปราะบางได้

นายแพทย์ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ตามที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำหนดให้ทุกๆ วันที่ 10 กันยายนของทุกปี เป็น ‘วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก’ หรือ ‘World Suicide Prevention Day’ เพื่อสร้างความตระหนักให้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการป้องกันการฆ่าตัวตายความสำคัญของปัญหาด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะการสูญเสียของประชาชนจากการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องที่รัฐให้ความสำคัญ เพราะสุขภาพจิตถือว่าเป็นข้อบ่งชี้และเกี่ยวข้องในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ หรือการเปลี่ยนแปลงของระบบการเรียนการศึกษา ทุกการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนไทยได้อย่างต่อเนื่อง คนส่วนหนึ่งสามารถปรับตัวได้ แต่คนอีกจำนวนหนึ่งอาจไม่พร้อมในการปรับตัว ก็จะส่งผลกระทบด้านสุขภาพจิตได้มาก ซึ่งตัวเลขประมาณการของผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย จากใบมรณบัตร โดยกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 ที่ผ่านมาอยู่พบว่า ที่ 7.97 ต่อแสนประชากรต่อปี ซึ่งสูงกว่าปี 2564 ที่มีอัตราอยู่ที่ 7.35 ต่อแสนประชากรต่อปีอีกด้วย วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลกปีนี้ กรมสุขภาพจิตได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทย โดยในปีนี้ยังเป็นความร่วมมือของหลายภาคส่วน ประกอบด้วย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สอดคล้องกับหัวใจสำคัญของการทำงานปีนี้ เราต้องการให้สังคมไทยสามารถร่วมมือ และช่วยเหลือกันและกันเพื่อหยุดยั้งการฆ่าตัวตาย ซึ่งทุกคนสามารถเป็นผู้ช่วยเหลือ ผู้ให้โอกาสเพื่อให้ผู้ที่กำลังอยู่ในสภาวะเปราะบางได้กลับมาใช้ชีวิตได้ดังเดิมและจะมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในหลายช่องทางร่วมกับหลายๆองค์กรเครือข่าย มุ่งเป้าให้คนไทยสามารถใช้พลังใจ และรู้สึกมีหวังในสถานการณ์ที่เคร่งเครียด ให้ทุกคนเห็นว่าทุกคนในสังคมมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือและนำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศชาติในวันพรุ่งนี้ และลดการสูญเสียให้น้อยที่สุด

แพทย์หญิงดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ผู้อำนวยการกองบริหารระบบริการสุขภาพจิต กล่าวว่า จากปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดความสูญเสียต่อสังคมและเศรษฐกิจทั่วโลก อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จยังถือเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญของสถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนในประเทศ ซึ่งองค์การอนามัยโลกคาดว่าในแต่ละปีจะมีการฆ่าตัวตายสำเร็จเป็นจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน หรือเท่ากับมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ทุก 40 วินาที นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังประมาณว่าเมื่อมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจะเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อบุคคลใกล้ชิด หรือคนในครอบครัวอย่างน้อย 6 คนอีกด้วย ซึ่งเป้าหมายในยุทธศาสตร์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ พ.ศ.2564 – 2565 ที่กำหนดให้อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต้องไม่เกิน 8.0 ต่อแสนประชากร สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมีศักยภาพในรับฟังเสียงที่อยู่ในความรู้สึกของตัวเองมากยิ่งขึ้น ปัจจัยหนึ่งมาจากทุกภาคส่วน ในสังคมที่หันมาร่วมเป็นสื่อกลางในการรับฟังเสียงจากหัวใจของประชาชน เพื่อการช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาได้อย่างทันท่วงที หรือ อสม. ช่วยประเมินให้ โดยระบบเปิดให้บริการเมื่อ 1 มกราคม 2562 จนถึงปัจจุบันมีผู้ให้ข้อมูลถึง 4.4 ล้านราย นอกจากนี้กรมสุขภาพจิตยังมีช่องทางบริการปรึกษาออนไลน์ผ่านช่องแชท Line@คุยกัน และเชื่อมโยงกับการดำเนินงานของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้ทีมปฏิบัติการ Hope Task Force ในการช่วยเหลือผู้ส่งสัญญาณเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายผ่านทางช่องทางออนไลน์ แต่ทั้งนี้การช่วยเหลือที่ทรงพลังที่สุดคือความร่วมมือจากทุกพลังในสังคม ที่จะไม่มองข้ามหรือปล่อยให้ความทุกข์ของใครคนใดคนหนึ่ง เราสามารถร่วมกันหยุดยั้งจากการสังเกต และส่งผ่านพลังใจให้เกิดพลังในการหยัดยืนได้อย่างมั่นคงจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ กรมสุขภาพจิตและเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนจึงร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมวันป้องกันการฆ่าตัวตายประจำปี 2566 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการฆ่าตัวตายในสังคมไทย โดยหัวใจสำคัญของการทำงานปีนี้ เราต้องการให้สังคมไทย ร่วมเป็นผู้ช่วยเหลือและยับยั้งการสูญเสีย รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในหลายช่องทาง มุ่งเป้าให้คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน ให้เห็นว่าทุกคนในสังคมมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติให้เดินหน้าต่อไป โดยลดการสูญเสียให้น้อยที่สุด กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาระบบเพื่อให้ประชาชนสามารถประเมินตนเอง ผ่านแพลตฟอร์ม Mental Health Check In ระบบจะแสดงผลการประเมินและคำแนะนำในการดูแลสุขภาพจิตเบื้องต้น โดยสามารถแจ้งเบอร์โทรให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ หรือแจ้งขอรับการติดตามเยี่ยมที่บ้านได้ ซึ่งในกลุ่มที่ยังไม่เข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลจะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

9 September 2566

ที่มา กลุ่มสื่อสารและประชาสัมพันธ์ สำนักวิชาการสุขภาพจิต

Posted By ITDMH

Views, 353

 

Preset Colors