02 149 5555 ถึง 60

 

สองเซลล์ สามกลไก สี่หลักการ ต้านโควิด (ด้วยตนเอง) (ตอนที่ 2)

สองเซลล์ สามกลไก สี่หลักการ ต้านโควิด (ด้วยตนเอง) (ตอนที่ 2)

ก้าวทันสุขภาพ เรื่องโดย... นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์

สามกลไกของระบบทางเดินหายใจในการรับมือโควิด-19

กลไกของระบบทางเดินหายใจที่ชี้ขาดว่า การดำเนินโรคและพยากรณ์โรคของเชื้อโควิด-19 ที่เข้าสู่ร่างกายเป็นอย่างไร คือ

1. กลไกของภูมิคุ้มกันของระบบทางเดินหายใจ (innate and adaptive immunity) ทั้งภูมิคุ้มกันแต่กำเนินและภูมิคุ้มกันเฉพาะโรค ทั้งภายนอกเซลล์และภายในเซลล์ (เช่น AMP, ซ่อมแซม/รีไซเคิลเซลล์ autophagy)

2. กลไกของระบบการอักเสบของเซลล์เยื้อบุทางเดินหายใจ (inflammation) ทั้งระบบกระตุ้นการอักเสบและยับยั้งการอักเสบ โดยภูมิคุ้มกันของระบบทางเดินหายใจ ทั้งการทำลายเชื้อโควิด-19 ด้วยการเก็บกินแบบการอักเสบและปล่อยสารกระตุ้นการอักเสบ (cytokine storm) และด้วยการสลายเซลล์แบบไม่มีการอักเสบ (apoptosis)

3. กลไกการทำงานของเซลล์เยื้อบุหลอดเลือด (endothelial function) ถ้าเกิดความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุหลอกเลือดฝอย (รอบๆ ถุงลม) ทั้งจากโรคหรือภาวะที่เป็นอยู่เดิม เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน หัวใจล้มเหลว (หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง-เอ็นซีดี) และจากการอักเสบลุกลามจากเซลล์เยื่อบุถุงลมที่อยู่ติดกัน ส่งผลให้เซลล์หลอดเลือดอักเสบ หดตัว เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ง่าย ขาดเลือด

ซึ่งทั้ง 3 กลไกนี้ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน เช่น ภูมิคุ้มกันแต่กำเนิน จะปล่อยสารกระตุ้นการอักเสบให้มากขึ้น และลดการอักเสบให้น้อยลง ทำให้การอักเสบที่เกิดขึ้นพอเหมาะพอควรกับเชื้อโควิด-19 ที่มากระตุ้น

การอักเสบก็ส่งผลต่อให้ภูมิคุ้มกันเฉพาะโรคอย่างเหมาะสมเกิดตามมา หรือภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดในเซลล์เยื้อบุทางเดินหายใจ ช่วยลดการตายของเซลล์ดังกล่าว ก็ไม่ไปทำให้เซลล์เยื่อบุหลอดเลือดที่อยู่ติดกัน เกิดการทำงานผิดปกติไป

แม้แต่เซลล์เยื้อบุหลอดเลือดที่ทำงานปกติ ก็ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันในเซลล์เยื้อบุถุงลมสร้างภูมิคุ้มกันในเซลล์ดีขึ้นด้วย หรือการทำงานผิดปกติของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดฝอย ทำให้หลอดเลือดหดตัว เกิดลิ่มเลือดง่ายขึ้น เลือดไปเลี้ยงเซลล์เยื่อบุถุงลมลดลง ก็ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของเซลล์เยื่อบุถุงลมลดลงด้วย ในขณะเดียวกัน การควบคุมการอักเสบให้พอเหมาะของเซลล์ดังกล่าวก็ลดลงด้วย ก็ส่งผลให้การทำงานของเซลล์เยื้อบุหลอดเลือดฝอยผิดปกติมาขึ้นด้วย

สี่หลักการต้านภัยโควิด-19

สองเซลล์ คือ เซลล์เยื่อบุถุงลม (ทางเดินหายใจ) เป็นเซลล์ที่โควิด-19 เข้าไปยึดครองแล้ว จะมีปอดอักเสบ ปอดบวมตามมา ส่วนเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดที่ผิดปกติและถูกโควิด-19 ยึดครองแล้ว ก็จะเกิดการลุกลามไปตามกระแสเลือด การอักเสบและล้มเหลวของหลายอวัยวะจนเสียชีวิตได้

สามกลไก คือ กลไกภูมิคุ้มกัน กลไกการอักเสบ และกลไกการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด เป็นกลไกหลักในการชี้แพ้ ชี้ชนะ ของร่างกายเรากับเชื้อโรคโควิด-19

ดังนั้น สี่หลักการในการเอาชนะหรือกำราบโควิด-19 ให้อยู่หมัดด้วยตนเอง ก็คือ หลักการ “ห้ามเข้า ขับออก สมดุล และเลือดลมดี”

⦸ ห้ามเข้า

คือ การไม่ให้เชื้อโรคโควิด-19 เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของเราหรือเข้าให้น้อยที่สุด เป็นมาตรการที่คนไทยแทบทุกคนได้ทำกันอยู่เป็นนิวนอร์มอล (new normal) อยู่แล้ว คือ ใส่แมสก์กัน หมั่นล้างมือ ถือระยะห่างกัน แต่ต้องเน้นย้ำให้ทำทุกครั้งที่ “พบปะผู้คน” ไม่ว่าจะในบ้านหรือนอกบ้าน และไม่ควรถอดแมสก์กินอาหารในห้องติดแอร์เกินครึ่งชั่วโมง เพราะแม้นั่งห่างกัน 4.6 เมตร ก็ติดเชื้อโควิด-19 กันได้ ควรถอดแมสก์กินอาหารกันใน “ที่โล่ง มีลม มีแดด” เพื่อลดโอกาสติดเชื้อในครอบครัวและเวลากินอาหาร

นอกจากนี้ หลักการ “ห้ามเข้า” ยังรวมไปถึงกลไกภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดประเภทสิ่งกีดขวางทางกายภาพ เช่น ขนจมูก น้ำลาย น้ำมูก เมือกในทางเดินหายใจ ที่คอยดักจับเชื้อโควิด-19 ไว้ และการติดต่อกันเป็นแผ่นของเซลล์เยื้อบุทางเดินหายใจ ไม่มีรู รอยรั่ว หรือช่องทางให้เชื้อโควิด-19 ผ่านเข้าไปในเซลล์หรือแทรกเข้าไประหว่างเซลล์ได้

 ขับออก

คือ หลั่งน้ำตา สั่งน้ำมูก บ้วนน้ำลาย คายเสมหะ อุจจาระปัสสาวะ ขำระกายด้วยเหงื่อ เป็นหลักการใหญ่ในการขับเชื้อโควิด-19 ออกจากทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และทางผิวหนังของเรา

โดยในน้ำตา น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ อุจจาระปัสสาวะและเหงื่อ ของเรา มีภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดประเภทสายกรดอะมิโนต้านจุลินทรีย์ (AMP) อยู่แม้ว่าจะมีการตรวจพบเชื้อโรคโควิด-19 (ด้วย RTPCR) ในน้ำตา น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ แต่ไม่พบในน้ำปัสสาวะและในเหงื่อ และยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันได้ว่า โรคโควิด-19 ติดต่อกันได้ทางอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระ

ทั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะในปัสสาวะ เหงื่อ มีภูมิคุ้มกันแต่กำเนินประเภทสายกรดอะมิโนต้านจุลินทรีย์ (AMP) ออกมามากจนเชื้อโควิด-19 อยู่ไม่ได้ ถูกทำลายหมด

ดังนั้น การขับเชื้อโควิด-19 ออกทางน้ำตา น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ แม้ว่าจะเป็นการขับเชื้อออกจากร่างกายเป็นอย่างดี แต่ก็ควรจะเก็บสารคัดหลั่งเหล่านี้ ไม่ไห้เกิดเป็นละอองฝอยไปติดผู้อื่นโดยการใช้วัฒนธรรมเอเชียเก่แก่ คือ กระโถน บ้วนน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ลงกระโถนที่มีน้ำสบู่หรือน้ำชา (ชาดำหรือชาเขียวก็ได้) ซึ่งมีรายงานว่า น้ำชาดำชาเขียว ทำลายเชื้อโควิด-19 ในน้ำลายได้ใน 10 วินาที และเชื้อไม่สามารถแพรไปติดผู้อื่น (เพราะเพาะเชื้อไม่ขึ้นในเซลล์)

นอกจากนี้แล้ว การกินอาหาร เครื่องดื่ม เช่น พริก กระเทียม น้ำชาเขียวร้อน ที่ช่วยให้เกิดน้ำมูก น้ำตาไหล มีน้ำลาย ขับเสมหะ ออกมามาก ก็ช่วยส่งเสริมการสร้าง AMP และสนับสนุนการขับออกและยังเป็นวิธีในการทดสอบว่า ภูมิคุ้มกันในการขับเชื้อโรคออกของเรายังดีอยู่หรือไม่

ถ้าระบบ “ขับออก” ของเรายังดีอยู่ระหว่างกินอาหารและหลังอาหารต้องมีการขับเสมหะ บ้วนน้ำลาย สั่งน้ำมูก หรือการถ่ายอุจจาระ 1-2 ครั้งต่อวัน และมีเหงื่อออกท่วมตัว จากการออกกำลังกายทุกครั้ง (อย่างน้อยครึ่งชั่วโมงต่อวัน) เป็นต้น

☯ สมดุล

หมายถึง ความไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ของกลไกภูมิคุ้มกันและกลไกการอักเสบ กล่าวคือ

1. ความสมดุลของเชื้อโรคโควิด-19 ที่เข้าสู่ทางเดินหายใจ กับภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด ซึ่งถ้าเชื้อมากเกินไป ภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดน้อยเกินไป เชื้อก็จะจับกับตัวรับบนผิวเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจเข้าสู่ภายในเซลล์ แบ่งตัวออกลูกหลานต่อไปได้ (ติดเชื้อ)

2. ความสมดุลของการ “กระตุ้น” ภูมิคุ้มกัน (ทั้งแต่กำเนิดและเฉพาะโรค) กับการ “ยับยั้ง” ภูมิคุ้มกัน ซึ่งถ้าภูมิคุ้มกันทั้ง 2 แบบ มากเกินไปแม้กำจัด/ทำลายเชื้อโควิด-19 ได้ แต่การยับยั้งภูมิคุ้มกันน้อยเกินไป ภูมิคุ้มกันที่มากเกินไปจะปล่อยสารกระตุ้นเซลล์การอักเสบ เกิดการอักเสบลุกลามไปทั่ว (cytokine storm) แต่ถ้าการยับยั้งภูมิคุ้มกันมากเกินไป การกระตุ้นภูมิคุ้มกันน้อยเกินไป นอกจากอาจทำลาย กำจัดเชื้อโควิด-19 ไม่ได้แล้ว ยังทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดการติดเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัสอื่นๆ แทรก ทำให้อวัยวะทำงานล้มเหลว ถึงแก่ชีวิตได้เหมือนกัน

3. ความสมดุลของภูมิคุ้มกันภายนอกเซลล์ (ทั้งประเภทแต่กำเนิดและปรับตัว) กับภูมิคุ้มกันภายในเซลล์ ซึ่งถ้าภูมิคุ้มกันภายนอกเซลล์มีมากเกินไป (โดยการรับเชื้อ ติดเชื้อมาก่อน หรือฉีดวัคซีนกระตุ้น) แต่ภูมิคุ้มกันภายในเซลล์มีน้อยเกินไป ก็จะเกิดกรณีเชื้อโควิด-19 สายพันเดลตา ที่ขยายพันธุ์ได้ในเซลล์และรวมเซลล์รอบข้างเป็นโรงงานขนาดใหญ่ (syncytia) โดยไม่ต้องออกมานอกเซลล์ จึงไม่ถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันภายนอกเซลล์แม้จะมีอยู่มาก

💧 เลือดลมดี

หมายถึง “ระบบเลือดดี” คือ เซลล์เยื่อบุหลอดเลือดทั้งร่างกาย ทำงานได้ปกติ ไม่มีความปกติที่เพิ่มการอักเสบ เพิ่มการหดตัวของหลอดเลือด เพิ่มการเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นทางเดินเลือด ทำไห้อวัยวะขาดเลือด ที่เรียกว่า endothelial dysfunction และ “ระบบลมดี” คือ เซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจมีภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด (ทั้งในและนอกเซลล์) และภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวปกติดี

การศึกษาผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 180 คนพบว่า การตรวจการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดผิดปกติโดยการดูอัลตราซาวนด์หลอดเลือดแดงที่แขน สัมพันธ์กับการตายจากโควิด-19 แล้วเราจะได้อย่างไรว่า เซลล์เยื่อบุหลอดเลือดของเราแข็งแรงดี ทำงานปกติหรือไม่

ผู้ที่มีการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดปกติดี มีลักษณะดังนี้

• ไม่มีโรคติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคอ้วน ไขมันผิดปกติ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง หรือมีโรคใดโรงหนึ่งอยู่ แต่ควบคุมโรคได้ดี อยู่ในเกณฑ์ปกติ

• ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดมควันบุหรี่เป็นประจำ ไม่ดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์ ไม่เสพยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทั้งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและโรคโควิด-19

หมอชาวบ้าน ปีที่ 43 ฉบับที่ 512 เดือนธันวาคม 2564

(อ่านต่อตอนหน้า☺)

7 March 2565

By STY/Library

Views, 2175

 

Preset Colors