ภัยเงียบจากสุขภาวการณ์นอนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19
COVID – SOMNIA ภัยเงียบจากสุขภาวการณ์นอนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19
เรื่อง โดย อ. พญ.ปุณฑริก ศีรสวาท
เป็นเวลานานกว่า 2 ปี ที่ทุกคนต่างต้องใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ซึ่งส่งผลกระทบโดยรงต่อวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปคลอบคลุมทั้งวัยเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ด้วยภาวะความวิตกกังวลส่งผลให้ การนอนไม่หลับ หรือการนอนหลับอย่างไม่มีคุณภาพ กลายเป็นภัยเงียบด้านสุขภาพที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น คอลัมน์ บอกเล่าก้าวทันหมอ จะพาผู้อ่านเตรียมพร้อมรับมือปัญหาการนอน รวมถึงวิธีการรักษาที่ถูกต้อง ปลอดภัย กับศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
อ. พญ.ปุณฑริก ศีรสวาท จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาการนอนหลับ ศูนย์นิทราเวชโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า COVID – SOMNIA คือปัญหาการนอนที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 พบว่า
- กลุ่มประชากรที่มีปัญหาการนอนหลับยาก เพิ่มขึ้นร้อยละ 30
- กลุ่มประชากรที่มีชั่วโมงสำหรับการนอนหลับลดลง เพิ่มขึ้นร้อยละ 19
- กลุ่มประชากรที่มีปัญหาเรื่องความรบกวนการนอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20
ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงให้ปัญหาการนอนเกิดขึ้นกระจายในทุกกลุ่มประชากรเป็นผลกระทบความวิตกกังวลที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในด้านการติดและแพร่เชื้อโรค การระมัดระวังตัว ความเป็นห่วงสมาชิกในครอบครัว สภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งการจำกัดเสรีภาพในการติดต่อทางสังคมรูปแบบการทำงานและการเรียนออนไลน์ที่เปลี่ยนไปอย่างมากล้วนกำหนดให้ต้องปรับตัวอย่างฉับพลันถือเป็นจุดกระตุ้นที่ทำให้เกิดปัญหาการนอนสะสมซึ่งอาจส่งผลให้ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว
ปรับวิธีชีวิตอย่างรู้เท่าทันและรับมือ COVID – Somnia
ปัจจุบันเป็นยุคที่ข่าวสารมีจำนวนมาก ไม่แน่นอนและปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ความเครียดและความกังวลจึงเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติการดูแลเรื่องการนอนและสภาพจิตใจเบื้องต้นจึงเป็นหนทางรับมือที่สำคัญ อีกทั้งการตระหนักและยอมรับความเป็นจริงก็จะช้วยให้จัดการได้ง่ายขึ้น พร้อมกับการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการใช้ชีวิตพื้นฐาน ดังนี้
1. เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้นาฬิกาชีวิตทำงานได้เป็นปกติ รวมถึงให้ร่างกายสามารถหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ได้ตามกลไกของนาฬิกาชีวิตที่เหมาะสม
2. มีเวลาผ่อนคลายก่อนนอน 30 -60 นาที เพื่อลดความดึงเครียดและพาร่างกายเข้าสู่การนอนอย่างสมบูรณ์ โดยงด ทำกิจกรรมหนักๆ และปรับเปลี่ยนมาทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ เช่น อ่านหนังสือประเภทเบาสมอง ฟังเพลง สวดมนต์ ฟังธรรมะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้หน้าจอ เพื่อลดการมองแสงสีฟ้าที่ส่งผลเสียกับการนอนโดยตรง เนื่องจากแสงสีฟ้าที่ส่งผลเสียกับการนอนโดยตรง เนื่องจากแสงสีสีฟ้าจะยับยั้งการหลั่งเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับการนอนหลับ
3. จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สำหรับการนอน ควรจัดห้องนอนและห้องทำงานหรือห้องเรียนให้แยกจากกันเป็นสัดส่วน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ Work From Home
หลี่ยงการทำงานและเรียนในเตียงนอน รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เงียบ มืด และเย็น เพื่อให้เกิดสุขนามัยการนอนที่ดี
นวัตกรรมทางการแพทย์ของศูนย์นิทราเวช
CBT-I Clinic คลินิกบำบัดความคิดและพฤติกรรมสำหรับโรคนอนไม่หลับได้นำนวัตกรรมการรักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนไม่หลับ ด้วยวิธีการปรับความคิดและพฤติกรรมเพื่อการรักษาโรค ปัจจุบันให้การรักษาทั้งในรูปแบบของ Onsite และ Online มุ่งเน้นการซักประวัติถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของผู้ป่วย
แต่ละคนผ่านเครื่องมือต่างๆโดยมีกระบวนการรักษาดังนี้
1. การปรับพฤติกรรมการนอน(Behavioral Therapy) เช่น Sleep Consolidation ลดจำนวนที่ใช้บนที่นอนให้เหมาะสมกับจำนวนชั่งโมงการนอน Stimulus Contort ลดการกระตุ้นร่างกายด้วยพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการตื่นตัวบนที่นอน
2. การปรับกระบวนการคิด(Cognitive Therapy)เน้นการปรับความคิดเความเชื่อความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการนอน เช่น ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงการนอน ความเพลียกับความง่วงซึ่งมีความแตกต่างกัน การจัดการความกังวและแก้ปัญหาความคิดที่รบกวนการนอนเป็นต้น
3. วิธีบ่อยวางความคิดก่อนการนอน ซึ่งอิงหลักพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนที่เชื่อว่าความเครียดจะกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทอัติโนมัติ และทำให้การนอนเกิดขึ้นได้ยาก หากสามารถลดการกระตุ้นระบบประสาทอัติโนมัติได้ การนอนจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
4. วิธีป้องกันการเป็นซ้ำของโรคนอนไม่หลับเช่นการปรับสุขอนามัยการนอน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงปัจจัยกระตุ้นและปัจจัยที่ทำให้โรคนอนไม่กลับยังคงอยู่ รวมถึงให้ผู้รับบริการสามารถวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาการนอนไม่หลับเบื้องต้นได้หากเริ่มกลับมามีอาการอีกครั้ง
ปัจจุบันการให้ยริการทาง Tele – Clinic และแอปพลิเคชั่น NITRA ของศูนย์นิทราเวช ได้รวบรวมข้อมูลความรู้ เกี่ยวกับการนอน ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างศูนย์นิทราเวช และบริษัท SCG ซึ่งอยู่ระหว่างการวิจัยชุดแรกจากผู้ป่วยที่จบในโปรแกรมการรักษาและนำมาพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อ.พญ. ปุณฑริก กล่าวทิ้งท้ายว่า โรคนอนไม่หลับอาจให้การรักษาด้วยยาควบคู่ไปได้เช่นกันกรณีผู้ป่วยมีปัญหาการนอนที่ประเมินแล้วว่ามีความจำเป็นต้องได้รับยาร่วมด้วย ยังคงรักษาควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมด้วยการให้ยา 4-6 สัปดาห์ และปรับลดลงเป็นลำดับ
The Prestige of KCMH&MDCU(โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์) ปีที่ 7 ฉบับที่ 72 ประจำเดือน มีนาคม 2565
6 May 2565
By STY/Library
Views, 875