02 149 5555 ถึง 60

 

คำถาม  ก.พ.ได้จัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ตามระบบจำแนกตำแหน่งใหม่แล้วหรือไม่ อย่างไร?

คำตอบ

ก.พ. ยังมิได้ออกกฎ ก.พ. เกี่ยวกับการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ตาม
ระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ แต่มีแนวคิดในการจัดประเภทตำแหน่งและระดับ
ตำแหน่ง ตามระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ตำแหน่งประเภทบริหาร
1.1 ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง หัวหน้ากลุ่มภารกิจระดับกระทรวง อธิบดี
1.2 ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น เช่น รองอธิบดี
2. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ
2.1 ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง เช่น ผู้อำนวยการสำนัก (9 บส.)
2.2 ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น เช่น ผู้อำนวยการกอง (8 บก.)
3. ตำแหน่งประเภทวิชาการ (ตำแหน่งที่ใช้วุฒิตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป)
3.1 ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ เช่น นายแพทย์ 10 วช.
3.2 ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ เช่น นายแพทย์ 9 วช. พยาบาลวิชาชีพ 9 วช. นักวิชาการสาธารณสุขสุขภาพจิต 9 ชช.
3.3 ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ เช่น นายแพทย์ 8 วช. พยาบาลวิชาชีพ 8 วช. นักจิตวิทยา 8 ว เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 8
3.4 ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ เช่น นายแพทย์ 4-6/7 วช. พยาบาลวิชาชีพ 6 ว/7 วช. นักจิตวิทยา 6 ว - 7 ว นักวิชาการเงินและ บัญชี 6ว-7 ว เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6-7
3.5 ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ เช่น พยาบาลวิชาชีพ 3-5 นักจิตวิทยา 3-5 นักวิชาการเงินและบัญชี 3-5 เจ้าหน้าที่บริหารงาน ทั่วไป 3-5
4. ตำแหน่งประเภททั่วไป (ตำแหน่งที่ใช้วุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี)
4.1 ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ
4.2 ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส
4.3 ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน เช่น พยาบาลเทคนิค 5-6 ผู้ช่วยทันตแพทย์ 5-6 โภชนากร 5-7
4.2 ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน เช่น พยาบาลเทคนิค 2-4 ผู้ช่วยทันตแพทย์ 1-4 โภชนากร 2-4 เจ้าพนักงานธุรการ 2-5

 

Preset Colors