02 149 5555 ถึง 60

 

วิจัยเส้นผมศรีษะมนุษย์ แพทย์ไทยคว้ารางวัลบทความวิจัยผม

วิจัยเส้นผมศรีษะมนุษย์ แพทย์ไทยคว้ารางวัลบทความวิจัยผม

เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของวงการแพทย์ผิวหนัง เมื่อผลงานวิจัยด้านเส้นผมและหนังศีรษะของ โดย รศ.(พิเศษ)พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป สามารถคว้ารางวัลจากงาน ISHRS Poster Awards 2017 ซึ่งจัดโดย สมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นแรกในเอเชีย ในการยืนยันประสิทธิภาพของกระบวนการยิงด้วยเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ เพื่อขจัดปัญหาโรคผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรม

งาน ISHRS Poster Awards 2017 นี้ เป็นงานที่สมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ (InternationalSociety of Hair Restoration Surgery (ISHRS) ซึ่งเป็นสมาคมด้านการแพทย์ระหว่างประเทศแห่งแรกในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและการศึกษาสำหรับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านการผ่าตัดฟื้นฟูเส้นผม โดยจะมีการจัดงานประชุมทางวิชาการขึ้นทุกปี เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการปลูกผมให้เกิดประโยชน์กับคนไข้สูงสุด ซึ่งในปีนี้สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยได้คัดเลือกบทความพิเศษเพื่อการนำเสนองานวิจัย (ประเภทโปสเตอร์) ในหัวข้อวิจัย “Proteomic Analysis inDermal Papilla from Male Androgenetic Alopecia After Treatment with Low Level Laser Therapy” โดย รศ.(พิเศษ)พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป เข้าร่วมในงานดังกล่าว และสามารถคว้ารางวัลที่ 1 ในประเภทงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบของโปสเตอร์ นำมาซึ่งความภาคภูมิใจในความสามารถของแพทย์ผิวหนังไทย

รศ.(พิเศษ)พญ.รั

รศ.(พิเศษ) พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาวิธีในการรักษาโรคผมบางศีรษะล้านที่เกิดจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia, AGA) ซึ่งปกติแพทย์จะใช้ 2 วิธีในการรักษา คือการให้ยากิน หรือยาทา แต่วิธีใหม่ล่าสุดที่ได้นำเข้ามาใช้คือ Low Level Laser Therapy (LLLT) หรือการใช้เลเซอร์ที่มีความเข้มข้นต่ำในการกระตุ้นให้หนังศีรษะสร้างเส้นผมขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีการเริ่มใช้มานานแล้ว แต่ในต่างประเทศเพิ่งจะได้ตีพิมพ์งานวิจัยถึงประสิทธิภาพในการกระตุ้นการสร้างเส้นผมออกมาในปี 2017 นี้เอง แต่สำหรับประเทศไทย และแถบเอเชียเองยังไม่มีงานวิจัยออกมา ด้วยสีผมของคนเอเชียที่ต่างออกไปจากงานวิจัยตัวดังกล่าว

“งานวิจัยชิ้นนี้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ชายไทยที่เป็นโรคผมบางศีรษะล้านที่เกิดจากพันธุกรรมมาเพื่อศึกษาว่าการให้เลเซอร์ความเข้มข้นต่ำนั้นมีผลต่อส่วนใดของผมในระดับโมเลกุล โดยการตัดรากผมไปตรวจก่อนเริ่มการรักษา หลังจากนั้นก็จะให้คนไข้เริ่มทำการรักษาและตัดชิ้นเนื้อเพื่อไปตรวจสอบว่ามีความเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าการใช้เลเซอร์ที่มีความเข้มข้นต่ำในการกระตุ้นให้หนังศีรษะสร้างเส้นผมนั้นให้ผลดีที่24 สัปดาห์ โดยความสำเร็จครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของการศึกษาในประเทศไทย”

รศ.(พิเศษ) พญ.รัชต์ธร กล่าวต่อว่า งานวิจัยชิ้นนี้สามารถยืนยันประสิทธิภาพในการรักษาด้วยเลเซอร์ที่มีความเข้มข้นต่ำแล้ว ยังมีงานวิจัยต่อยอดนำเอาเซลล์เส้นผมมาเพาะเลี้ยงต่อเพื่อศึกษาว่าแสงดังกล่าวมีผลต่อเซลล์ที่เพาะเลี้ยงหรือไม่ ซึ่งจะเป็นการทดลองลึกลงไปถึงระดับโมเลกุลต่อไป

21 March 2561

ที่มา แนวหน้า

Posted By sty_lib

Views, 1526

 

Preset Colors