02 149 5555 ถึง 60

 

นิด้าโพลชี้คนไทยให้นิยาม ‘สุขภาพเสื่อม=ชรา’เผยกลัว‘เจ็บป่วย-สมองเสื่อม’ที่สุด

นิด้าโพลชี้คนไทยให้นิยาม ‘สุขภาพเสื่อม=ชรา’เผยกลัว‘เจ็บป่วย-สมองเสื่อม’ที่สุด

วันพุธ ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2561, 10.57 น.

11 เม.ย. 2561 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้าโพล) เผยแพร่ผลสำรวจเรื่อง “คนแก่..ในความคิดของคนไทย” สอบถามความคิดเห็นประชาชนกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 1,250 คนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 20-21 มี.ค. 2561 ทั้งนี้ยังมีการแบ่งกลุ่มตัวอย่างย่อยออกเป็น “วัยทำงาน” อายุ 18-59 ปี และ “วัยเกษียณ” อายุ 60 ปีขึ้นไป พบว่า

1.เมื่อใดที่เรียกได้ว่า “เข้าสู่วัยแก่ชรา” 3 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี เลือกตอบ อันดับ 1 “เมื่อสุขภาพแย่ลง” ร้อยละ 47.78 รองลงมา “เมื่ออายุย่างเข้า 65 ปี” ร้อยละ และอันดับ 3 “เมื่ออายุย่างเข้า 75 ปี” ร้อยละ 20.89 ส่วน 3 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างวัยเกษียณ อายุ 60 ปีขึ้นไปเลือกตอบ อันดับ 1 “เมื่อสุขภาพแย่ลง” ร้อยละ 59.36 รองลงมา “เมื่ออายุย่างเข้า 65 ปี” ร้อยละ 31.45 และอันดับ 3 “เมื่อมีปัญหาในการขึ้นบันได” ร้อยละ 28.27

2.อะไรที่ทำให้คิดว่า “แก่แล้วไม่ดี” 3 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี เลือกตอบ อันดับ 1 “เจ็บป่วยหนัก” ร้อยละ 58.53 รองลงมา “ความจำเสื่อม” ร้อยละ 55.53 และอันดับ 3 “เป็นภาระลูกหลานหรือสังคม” ร้อยละ 32.37 ส่วน 3 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างวัยเกษียณ อายุ 60 ปีขึ้นไปเลือกตอบ อันดับ 1 มีเท่ากัน 2 เรื่องคือ “เจ็บป่วยหนัก” กับ “ความจำเสื่อม” เท่ากันที่ร้อยละ 53 รองลงมา “เหงา” ร้อยละ 25.09 และอันดับ 3 “สมรรถภาพทางเพศเสื่อม” ร้อยละ 22.26

3.อะไรที่ทำให้คิดว่า “แก่แล้วดี” 3 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี เลือกตอบ อันดับ 1 “มีเวลากับครอบครัวมากขึ้น” ร้อยละ 66.8 รองลงมา “มีเวลามากขึ้นสำหรับทำสิ่งที่สนใจ/งานอดิเรก” ร้อยละ 45.60 และอันดับ 3 “ได้รับความนับถือมากขึ้น” ร้อยละ 38.88 ส่วน 3 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างวัยเกษียณ อายุ 60 ปีขึ้นไปเลือกตอบ อันดับ 1 “มีเวลากับครอบครัวมากขึ้น” ร้อยละ 68.9 รองลงมา “มีเวลามากขึ้นสำหรับทำสิ่งที่สนใจ/งานอดิเรก” ร้อยละ 46.29 และอันดับ 3 “ได้รับความนับถือมากขึ้น” ร้อยละ 45.58

และ 4.เมื่อแก่ชราแล้วจะมีความสุขเพียงใด 3 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี เลือกตอบ อันดับ 1 “มีความสุขค่อนข้างมาก” ร้อยละ 46.43 รองลงมา “มีความสุขมาก” ร้อยละ 33.09 และอันดับ 3 “มีความสุขค่อนข้างน้อย” ร้อยละ 15.82 ส่วน 3 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างวัยเกษียณ อายุ 60 ปีขึ้นไปเลือกตอบ อันดับ 1 “มีความสุขค่อนข้างมาก” ร้อยละ 45.23 รองลงมา “มีความสุขมาก” ร้อยละ 34.98 และอันดับ 3 “มีความสุขค่อนข้างน้อย” ร้อยละ 14.13

11 April 2561

ที่มา แนวหน้า

Posted By STY_Lib

Views, 598

 

Preset Colors