02 149 5555 ถึง 60

 

รพ.สวนสราญรมย์ ทำโฮมสเตย์เป็นชุมชนบำบัด “ผู้เสพยา” พร้อมสร้างอาชีพ ลดการเสพซ้ำได้ 70%

Manager Online

สุขภาพ

LiteVersion

หน้าหลัก ชุมชน-คุณภาพชีวิต สุขภาพ

Bangkok Dusit Medical Services

รพ.สวนสราญรมย์ ทำโฮมสเตย์เป็นชุมชนบำบัด “ผู้เสพยา” พร้อมสร้างอาชีพ ลดการเสพซ้ำได้ 70%

รพ.สวนสราญรมย์ บำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาและอาการทางจิตอยู่ในภาวะสงบ ด้วยชุมชนบำบัดแบบโฮมสเตย์ จัดที่พักคล้ายรีสอร์ต เน้นดูแลทั้งกาย จิต วิญญาณ สังคม และสร้างอาชีพ ใช้เวลา 4 เดือน ร้อยละ 70 ไม่กลับไปเสพซ้ำ มีอาชีพรายได้ พร้อมเป็นแหล่งศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการตรวจเยี่ยม รพ.สวนสราญรมย์ จ.สุราษฎร์ธานี มีผู้ป่วยจิตเวชที่พักรักษาใน รพ.สวนสราญรมย์ วันละ 350 คน ร้อยละ 40 มาจากการใช้สารเสพติด เพิ่มขึ้นจากช่วง 5 ปีก่อนประมาณ 2 เท่า ทั้งนี้ รพ.สวนสราญรมย์ ได้จัดระบบบริการฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดในระยะถอนพิษยา และอาการทางจิตอยู่ในภาวะสงบแล้ว โดยใช้กระบวนการชุมชนบำบัดแบบโฮมสเตย์ สถานที่พักฟื้นเป็นบ้านพัก 2 ชั้น คล้ายรีสอร์ต ร่มรื่น เป็นธรรมชาติ อิสระ มี 9 หลัง หลังละ 10 เตียง ให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตร่วมกันเสมือนเป็นบ้านของตนเอง ฝึกให้ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบ มีแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดี นับเป็นการบำบัดฟื้นฟูที่อยู่ในระดับพรีเมียมแห่งเดียวในประเทศ หรือดีที่สุดในอาเซียนก็ว่าได้

“การฟื้นฟู ฝึกอาชีพให้กับผู้ป่วย จะเน้นตามความสามารถของผู้ป่วย โดยยึดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น งานเกษตรกรรม การปลูกผัก เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา เพื่อให้มีรายได้ สร้างความภาคภูมิใจตนเอง ซึ่งได้ผลดีมาก และทุกคนจะได้รับการฝึกสติและสมาธิจากทีมสหวิชาชีพ เพื่อป้องกันการกลับไปใช้สารเสพติดซ้ำ ใช้เวลารักษาฟื้นฟู 4 เดือน จากการติดตามผู้ป่วยที่กลับไปอยู่กับครอบครัวในชุมชนร้อยละ 60-70 สามารถเลิกเสพยาได้ มีงานทำ มีอาชีพและมีรายได้ต่อเนื่อง" น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวและว่า รพ.พร้อมเป็นแหล่งศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในงานประชุมยาเสพติดโลกประจำปี 2561 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีหลายประเทศสนใจจะมาศึกษาดูงาน เพราะประสบความสำเร็จสูง ผู้ผ่านการบำบัดไม่หันกลับไปเสพยาซ้ำสูงกว่าร้อยละ 85

นพ.จุมภฎ พรมสีดา ผู้อำนวยการ รพ.สวนสราญรมย์ กล่าวว่า โรคจิตเวชที่พบได้บ่อยในผู้ที่ใช้ยาเสพติด คือ โรคจิตเภท พบได้ร้อยละ 70 รองลงมา คือ โรคซึมเศร้าและโรคบุคลิกผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ทำร้ายคนอื่นพบได้ประมาณร้อยละ 30 ในการบำบัดฟื้นฟู ขณะนี้มีบ้านพักทั้งหมด 9 หลัง รับได้ 60 คน มีพยาบาลดูแลตลอด 24 ชั่วโมง มีระบบการติดตามผลการรักษาหลังจำหน่าย 1 ปี การบำบัดฟื้นฟูฯ จะทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ และอาชีพ ใช้เวลาที่เกิดประโยชน์และมีรายได้ เพื่อสร้างความมั่นใจและภาคภูมิใจให้ผู้ป่วย เนื่องจากผู้ที่ติดยาส่วนใหญ่จะขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ที่สำคัญ ได้ให้ครอบครัวเข้ามาร่วมทำครอบครัวบำบัด 7 - 8 ครั้งด้วย

นพ.จุมภฎ กล่าวว่า สำหรับกลุ่มของผู้ป่วยได้เปิดโอกาสให้ระดมสมองและร่วมกันตั้งกฎเหล็ก 6 ข้อที่ทุกคนต้องเคร่งครัดปฏิบัติตามในการใช้ชีวิตร่วมกัน คือ 1. ไม่ใช้สารเสพติดทุกชนิด 2. ไม่ทะเลาะวิวาท 3. ไม่มีเพศสัมพันธ์ 4. ห้ามลักขโมย 5. ไม่ออกนอกสถานบำบัด และ 6. พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น โดยทุกเช้าจะมีการฝึกสติ หลังเคารพธงชาติ และก่อนนอนทุกวัน และฝึกทำสมาธิขณะทำกิจกรรมกลุ่มทุกประเภท สวดมนต์ทุกวันพระใหญ่ สร้างพลังความเข้มแข็งจิตใจ การดำเนินชีวิตอย่างมีสติ โดยแผนดำเนินการต่อไป รพ. จะสร้างอาชีพให้ผู้ผ่านการบำบัดที่ยังไม่มีอาชีพ และส่งฝึกงานในสถานประกอบการต่างๆ ใน จ.สุราษฎร์ธานี และใกล้เคียง

11 June 2561

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By sty_lib

Views, 767

 

Preset Colors