02 149 5555 ถึง 60

 

กรมสุขภาพจิต เผยญาติ ทีมหมูป่า3 รายเครียดหนัก วอนสื่อเลี่ยงสัมภาษณ์ อาจเสี่ยงเกิดอาการ "ไฮเปอร์เวนติเลชั่นซินโดรม"หรือเครียดฉับพลัน

กรมสุขภาพจิต เผยญาติ ทีมหมูป่า3 รายเครียดหนัก วอนสื่อเลี่ยงสัมภาษณ์ อาจเสี่ยงเกิดอาการ "ไฮเปอร์เวนติเลชั่นซินโดรม"หรือเครียดฉับพลัน

27มิ.ย.61- นาวาอากาศตรี นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ การช่วยเหลือครอบครัวและญาติ ของทีมนักฟุตบอลหมูป่าพร้อมโค้ช รวม 13 คน ที่พลัดหลงอยู่ในถ้ำหลวง เขตวนอุทยาน ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. 2561 เป็นต้นมา และอยู่ระหว่างการเร่งค้นหา ทีมสุขภาพจิตเอ็มแคทจากศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 โรงพยาบาลสวนปรุง และทีมเครือข่ายสุขภาพจิตจังหวัดเชียงราย ได้ประเมินสุขภาพจิตของผู้ปกครองเด็กที่มารอ ณ.จุดรวมญาติใกล้ปากถ้ำ และได้ให้คำปรึกษาญาติจำนวน 13 ครอบครัว พบว่ามีความเครียดมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ ตัวร้อน และนอนไม่หลับ ได้ให้ยารักษาเบื้องต้นแล้ว โดยมี 3 ราย ที่มีความเครียดในระดับรุนแรงอยู่ในความดูแลของทีมจิตแพทย์ใกล้ชิดแล้ว ทีมงานได้วางแผนดูแลจัดทีมเฝ้าระวังในพื้นที่ อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง

"ส่วนทีมค้นหาทั้งงภาครัฐและเอกชน ก็มีความเป็นห่วงสุขภาพจิตของทีมค้นหาด้วยเช่นกัน เพราะต้องทำงานภายใต้ความกดดัน แข่งกับเวลาและมีความเสี่ยง แนะนำให้กำลังใจซึ่งกันและกันในเบื้องต้น ขณะเดียวกันควรสับเปลี่ยนกำลัง เพื่อลดความล้าของร่างกาย "

ทางด้านนพ. ธรณินทร์ กองสุข ผอ.รพ.สวนปรุง จ.เชียงใหม่ จากการสังเกตของทีมสุขภาพจิต ที่ลงพื้นที่พบว่าทีมช่วยเหลือยังมีพลังกายและใจดี กระตือรือร้น มีความหวัง ไม่ท้อถอย แต่ปัญหาที่พบและน่าเป็นห่วงคือ ทีมสื่อมวลชนจากหลายสำนักที่เข้าไปสัมภาษณ์ซักถามญาติของผู้พลัดหลงอยู่ตลอด หากเป็นไปได้ขอให้เลี่ยงการสัมภาษณ์ ญาติที่เป็นผู้หญิง วัยรุ่นและเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจิตใจเปราะบาง เกิดความเครียดได้ง่าย โดยหากมีความจำเป็นก็ขอให้ใช้ท่าทีที่นุ่มนวล หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่ก่อความกลัว ความวิตกกังวล เนื่องจากอาจไปกระตุ้นทำให้ญาติเกิดภาวะที่เรียกว่า "ไฮเปอร์ เวนติเลชั่นซินโดรม" คือ ภาวะหายใจเร็วผิดปกติจากความเครียด เกิดอาการมืดหน้า เป็นลมได้ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกริยาของร่างกายต่อความเครียดที่ฉับพลันรุนแรง อาการดังกล่าวต้องได้รีบการดูแลรักษาโดยเร็ว แม้ว่าจะไม่มีอันตรายถึงชีวิตก็ตาม สิ่งที่กระตุ้นให้เกิด ไฮเปอร์เวนติเลชั่นซินโดรม ได้แก่ ความทุกข์ทรมานใจ ภาวะเครียด ดื่มกาแฟมากเกินไป หรืออยู่ในที่ที่มีผู้คนจำนวนมากแออัด เป็นต้น

28 June 2561

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By sty_lib

Views, 450

 

Preset Colors