02 149 5555 ถึง 60

 

เผยคลินิกวัยรุ่นคิวยาวผปค.แห่ปรึกษาลูกติดโซเชียล

เผยคลินิกวัยรุ่นคิวยาวผปค.แห่ปรึกษาลูกติดโซเชียล

ห่วงเด็ก Gen Z ติดโซเชียลหนัก ก่อโรคซึมเศร้า หลงตัวเอง แนะผู้ปกครองชวนลูกหลาน ทำกิจกรรม ส่งเสริมคุณธรรม พร้อมเปิดตัวโรงการ “ไทยแลนด์ซูเปอร์แคมป์" ดึงเยาวชนออกจากโลกออนไลน์

เมื่อวันที่16 ส.ค. นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผอ.สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวแถลงข่าวเปิดเผยข้อมูล"สุดอึ้งเด็กไทย Gen Z โดนโรคออนไลน์รุมทึ้งเสี่ยงซึมเศร้า" พร้อมเปิดตัวโครงการไทยแลนด์ซูเปอร์แคมป์" ว่า ปัจจุบันเด็กไทยใช้เวลาท่องอินเทอร์เน็ต 35 ชั่วโมง/สัปดาห์ เฉลี่ยวันละ 5 ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 3 ชั่วโมง ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลการใช้งานโซเซียลมีเดียของคนไทยในรอบปี 2017 โดยบริษัท โธธ โซเซียล จำกัด พบวัยรุ่นหันมาเล่นทวิตเตอร์มากขึ้นเพื่อหลบหนีการส่องเฟสบุ๊คจากพ่อ แม่ อย่างไรก็ตามแม้สื่อดิจิตอลจะเข้ามาในชีวิตประจำวันของเด็กและเยาวชน  หรือยุคดิจิตอลโดยกำเนิด แต่จากการสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ โดยมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย พบเยาวชนร้อยละ 95ตระหนักดีว่าอินเตอร์เน็ตมีอันตราย ร้อยละ 70 รู้ว่าเพื่อนออนไลน์ไม่พูดความจริง และร้อยละ 46 เคยถูกแกล้งทางออนไลน์

นพ.ไพโรจน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สังคมออนไลน์ส่วนใหญ่เลือกจะนำเสนอด้านดีหรือจัดฉากชีวิตที่ดี เช่น การโพสต์ภาพมื้ออาหารสุดหรู ไปเที่ยว ใช้ของแพง หรือการใช้แอพพลิเคชั่นแต่งรูปก่อนโพสต์ สิ่งเหล่านี้กำลังสะท้อนสังคมที่เน้นค่านิยมทางวัตถุ และจะส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าเมื่อโลกแห่งความเป็นจริงไม่เป็นไปอย่างที่หวังไว้ หรือมีการเปรียบเทียบกับคนอื่น ดังนั้น สสส.จึงสนับสนุนโครงการไทยแลนด์ ซูเปอร์ แคมป์ เพื่อสนับสนุนให้เด็กเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ส่งเสริมคุณธรรมที่จะช่วยยึดโยงจิตใจให้เข้มแข็ง โดยออกแบบกิจกรรมในรูปแบบค่ายที่สนุกสนานเพื่อดึงเด็กออกจากหน้าจอให้มากที่สุด  

ด้าน พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า ปัญหาการติดโซเชียลของเด็กไทยนับวันยิ่งรุนแรงขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากพ่อแม่ใช้อุปกรณ์ไอทีเลี้ยงลูก ทำให้ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ลดลง เพราะขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างและการเรียนรู้จากธรรมชาติ ขาดการยอมรับ นับถือตนเอง รู้สึกว่าด้อยคุณค่าในตัวเอง เกิดความทุกข์จากการเปรียบเทียบตนเองและเพื่อนในโซเชียล อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ วิธีแก้คือการสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรมให้เยาวชน ได้รู้กระบวนการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ รู้เท่าทันโลกออนไลน์ เข้าใจตนเองและคนรอบข้าง มีสติในควบคุมอารมณ์ร่วมถึงสร้างวินัยให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัยใหม่ ทั้งนี้จากการเก็บข้อมูลในอเมริกาพบร้อยละ 10-15 ของเด็กติดเกมส์ ติดโซเชียลมีภาวะซึมเศร้า สมาธิสั้น ความสัมพันธ์ในครอบครัวลดลง ร้อยละ 4-5 มีการฆ่าตัวตาย ทั้งนี้การติดโซเชียล ติดเกมทำให้มีการใช้สมองส่วนคิดวิเคราะห์น้อยลง เพิ่มการใช้สมองส่วนความอยาก หากไม่ได้เล่นจะหงุดหงิด อาการเหมือนติดยา

“ในคลินิกวัยรุ่นขณะนี้มีการจองคิวยาวเป็นปีสำหรับให้คำปรึกษาเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว มีภาวะซึมเศร้า และผลการเรียนไม่ดี ถือเป็นเรื่องใหญ่การเล่นเฟสบุ๊คไปเรื่อยๆ จะมีผลทำให้เด็กเป็นโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะคนมีความทุกข์จะอยู่ในโลกนี้ยากเนื่องจากในโลกที่สร้างขึ้นมาเสมือนจริงนั้นสวยงาม เมื่อเอาชีวิตตัวเองไปเปรียบกับคนอื่นก็จะทุกข์ จนทำให้เยาวชนยุคใหม่มีโรคหลงตัวเองหลอกตัวเองเพิ่มมากขึ้น เยาวชนไม่มีวินัยมีแต่ความคิดอยากได้ยากมีไม่มีความอดทน เนื่องจากไม่เคยฝึกเรื่องความอดทน อย่างไรก็ตามเกมส์กับเฟสบุ๊กมีทั้งข้อดีข้อเสียสิ่ง ผู้ปกครองต้องรู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์ รู้จักการตั้งกติกา โดยยึดหลักใจดี เข้าใจ แต่เอาจริงคือต้องมีการกำหนดเวลาในการเล่นหากลูกเล่นเกินเวลาก็จะมีบทลงโทษเป็นต้นโดยใช้ช่วงเวลาทองคือก่อนซื้อโทรศัพท์ต่อลองกับลูก" พญ.จิราภรณ์ กล่าว.... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/politics/660884

17 August 2561

ที่มา เดลินิวส์

Posted By Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 1071

 

Preset Colors