02 149 5555 ถึง 60

 

ครอบครัวเปราะบาง! ม.มหิดลเปิดผลวิจัยพบผู้สูงอายุถูกทิ้งให้อยู่ลำพังเพิ่มสูงขึ้น

ครอบครัวเปราะบาง! ม.มหิดลเปิดผลวิจัยพบผู้สูงอายุถูกทิ้งให้อยู่ลำพังเพิ่มสูงขึ้น

วันอังคาร ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561, 13.39 น.

18 ก.ย.61 ที่โรงแรมพูลแมน สุขุมวิท 21 นักวิจัยของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอชุดโครงการวิจัย "การดูแลครอบครัวเปราะบาง ในสถานการณ์เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรและสังคมไทย" ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อสะท้อนปัญหาของครอบครัวเปราะบาง แนวทางการแก้ปัญหา และชี้ให้เห็นว่า ความอบอุ่นในครอบครัว ทำให้สถาบันครอบครัวแข็งแรงนำมาสู่รากฐานของสังคมที่แข่งเเกร่ง

ผศ.ภูเบศร์ สมุทรจักร รอง ผอ.ฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า ครอบครัวเปราะบางเป็นสถานการณ์ที่บุคคลไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงหรือวิกฤต ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ ภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม แต่มิติที่ส่งผลกระทบมากที่สุดในปัจจุบันคือด้านเศรษฐกิจ ความยากจน และมิติสุขภาพ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จนนำไปสู่การขาดโอกาสในการพัฒนาชีวิต

จากการวิจัยพบว่าสาเหตุที่ทำให้ครอบครัวเปราะบางในสังคมไทยมีอยู่ 2 เรื่องคือการที่พ่อแม่วัยทำงานเริ่มมีลูก ส่งผลกระทบต่อชีวิตการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อให้สภาพการทำงานของพ่อและแม่คงอยู่ ควบคู่ไปกับการทำหน้าที่พ่อแม่ ลูกจึงต้องอยู่ในความดูแลของพี่แลี้ยง หรือปู่ ย่า ตายาย รวมถึงญาติที่ต่างจังหวัด และปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้หญิงเป็นเพศที่รับภาระหน้าที่หนักมากกว่าผู้ชาย ทั้งบทบาทคนทำงาน และแม่ การมีบุตรส่งผลต่อโอกาสทางเศรษฐกิจของผู้หญิงในระยาว เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่เมื่อมีลูกก็จะออกจากงาน เปลี่ยนงานหรือลดบทบาทการทำงาน เพื่อเลี้ยงดูแลลูกและครอบครัว ทำให้โอกาสความเจริญในหน้าที่การงานลดลง และในที่สุดต้องออกจากงาน ทั้งที่เป็นความมั่นคงของอนาคต ในยามที่ชีวิตคู่สมรสไม่มั่นคง ทั้งหมดล้วนเป็นความเปราะบางในครอบครัวที่สังคมไทยกำลังเผชิญโดยเฉพาะผู้หญิง จนทำให้หลายคู่ไม่อยากมีลูก

สำหรับการแก้ปัญหา คือ สามีต้องหันมาแบ่งเบาภาระภรรยา ช่วยทำงานงานบ้านเลี้ยงลูกมากขึ้น มองว่าเป็นหน้าที่ที่คู่สมรสต้องรับผิดชอบร่วมกัน ขณะที่กลุ่มรัฐและเอกชน ควรจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กให้ทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในเมืองที่มีครอบครัวเดี่ยวขาดคนดูแลลูกมากกว่าพื้นที่อื่น ลดอุปสรรคในการทำงานของผู้มีบุตร มีความยืดหยุ่นตามความจำเป็น และสนับสนุนผู้ที่ต้องออกจากงานเพราะมีบุตรให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกครั้ง

นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่าปัจจุบันสังคมไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่อัตราการเกิดน้อย ส่งผลให้โครงสร้างครอบครัวมีขนาดลดลง หนุ่มสาวนิยมออกจากบ้านมาทำงานในเมือง ทิ้งผู้สูงอายุอยู่ลำพังมากขึ้น จากการศึกษาพบผู้สูงอายุอยู่ลำพังคนเดียว ร้อยละ 23.2 อยู่ลำพังกับคู่สมรส ร้อยละ 49.7 อยู่กับหลานร้อยละ 25.8 และอยู่กับคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติ ร้อยละ 0.4 ข้างต้นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความเปราะบาง ขณะที่บริบทครอบครัวไทยได้เปลี่ยนแปลงความคาดหวังของผู้สูงอายุที่มีต่อลูกหลาน จากการพึ่งพาให้ลูกเลี้ยงดูยามแก่เฒ่า เป็นเพียงการพึ่งพายามจำเป็นเท่านั้น ทำให้ผู้สูงอายุต้องต่อสู้เพื่อทำงานให้มีรายได้ ไม่รวบกวนลูก เพื่อให้ตัวเองมีศักดิ์ศรีไม่เป็นภาระ ทั้งที่ยิ่งแก่ยิ่งคิดถึงลูก และไม่อยากตายคนเดียว

โดยแนวทางการแก้ปัญหา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกมีศักดิ์ศรีในตนเอง ให้สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ระดับชุมชนควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มี "ระบบเพื่อนบ้านที่ดี"ช่วยดูแลผู้สูงอายุเพราะใกล้ชิดมากที่สุด พร้อมส่งเสริมให้มีระบบดูแลผู้สูงอายุในสังคม สนับสนุนการรวมกลุ่ม ส่งเสริมอาชีพมห้ผู้สูงอายุ สร้างรายได้ พึ่งพอตัวเองได้

19 September 2561

ที่มา แนวหน้า

Posted By ์์Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 2401

 

Preset Colors