02 149 5555 ถึง 60

 

เช็กด่วน! อาการพฤติกรรมทางเพศผิดเพี้ยน – เซ็กซ์เปิดเผยโจ่งแจ้ง

เช็กด่วน! อาการพฤติกรรมทางเพศผิดเพี้ยน – เซ็กซ์เปิดเผยโจ่งแจ้ง

เมื่อวันที่ 28 กันยายน นพ.ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบุคลิกภาคผิดปกติทางจิตเวช กล่าวถึงกรณีการมีเพศสัมพันธ์ในห้างสรรพสินค้าหรือตามสถานที่สาธารณะ ว่า หากกล่าวในภาพรวมก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กรณีการมีเพศสัมพันธ์ตามที่สาธารณะ เป็นความผิดปกติทางจิตใจ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพจิต แต่ไม่ใช่โรคจิตเวช อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเหล่านี้ต้องแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. เพื่อผลประโยชน์อะไรบางอย่างหรือไม่ ซึ่งไม่เกี่ยวกับความผิดปกติทางสุขภาพจิต แต่อาจต้องการขายคลิปวิวให้กับกลุ่มคนที่มีรสนิยมแบบนี้ ซึ่งเป็นเรื่องธุรกิจ และ2. กรณีเป็นรสนิยมที่ชอบอยู่แล้ว ตรงนี้จัดเป็นกลุ่มพฤติกรรมทางเพศผิดเพี้ยนจากปกติที่สังคมยอมรับ หรือที่เรียกว่า กามวิปริต (Perversion)

“จะทราบได้อย่างไรว่าเข้าข่ายมีพฤติกรรมทางเพศผิดปกติ หลักๆ ให้สังเกตเส้นขีดความผิดปกติ ดังนี้ 1.มีอารมณ์ ความคิด หรือพฤติกรรมใดๆที่เมื่อทำในรูปแบบปกติแล้วตัวเองมีความทุกข์ หรือมีความทุกข์ ไม่สามารถมีความสุขได้จากพฤติกรรมปกติ หรือการมีเพศสัมพันธ์ตามปกติ 2. มีอารมณ์ ความคิด หรือพฤติกรรมใดๆ ที่เมื่อทำออกมาแล้วส่งผลให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือเป็นทุกข์ใจ และ 3.จากพฤติกรรมหรืออารมณ์ ความคิดที่แสดงออกมานั้นๆ ส่งผลให้ไม่สามารถใช้ชีวิตเต็มที่ หรือตามศักยภาพที่ควรจะเป็น หรือมีปัญหาในการใช้ชีวิต สิ่งเหล่านี้หากพบว่ามีอยู่ 1 ใน 3 ข้อ ถือว่าเข้าข่ายมีความผิดปกติเกิดขึ้น ต้องพบจิตแพทย์เพื่อทำการบำบัดรักษา” นพ.ธิติพันธ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการมีเพศสัมพันธ์ในห้างถือว่าผิดปกติหรือไม่ นพ.ธิติพันธ์ กล่าวว่า คงต้องพิจารณาจากเกณฑ์ที่กล่าวไป แต่ก็ต้องไม่ลืมนึกถึงผลประโยชน์อะไรบางอย่างจากการถ่ายคลิปด้วย เพราะหากเป็นเรื่องของธุรกิจก็จะเป็นอีกกรณี แต่หากกล่าวถึงภาพกว้างสำหรับกรณีผู้ที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมทางเพศ ก็มีหลายปัจจัย อย่างปัจจัยแรก คือ อาจมาจากทางชีวภาพ คือ มีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น อาจเป็นสมอง ตัวควบคุมการยับยั้งชั่งใจ หรือระดับฮอร์โมนเพศที่มากเกินไป เป็นต้น ปัจจัยที่สอง เป็นเรื่องของจิตใจและสังคม อาจเกิดจากประสบการณ์ในอดีต เช่น บางคนติดการมีเพศสัมพันธ์ที่ต้องมีความเจ็บปวดเข้ามาร่วม ซึ่งการรักษาก็ตามสาเหตุ เช่น การรักษาทางชีวภาพ หรือร่างกาย อาจใช้ยาในการรักษา หรือทางจิตใจ เป็นการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วย เป็นต้น

28 September 2561

ที่มา มติชนรายวัน

Posted By ์์Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 1429

 

Preset Colors