02 149 5555 ถึง 60

 

จิตแพทย์ห่วงเด็กไทย ชอบใช้ความรุนแรงแกล้งกัน

จิตแพทย์ห่วงเด็กไทย ชอบใช้ความรุนแรงแกล้งกัน

รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ห่วงเด็กไทยใช้ความรุนแรง หลังพบมีการแกล้งกันแบบออนไลน์ถูกเลียนแบบเพิ่มขึ้น ชี้เหตุเพราะโตมากับครอบครัวใช้ความรุนแรง ย้ำผู้ปกครองเอาใจใส่มากขึ้น

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. นพ.สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีเด็กกลั่นแกล้งกันในโรงเรียนว่า เป็นสถานที่ที่พบมาตลอด แต่มักไม่ค่อยมีคนสังเกตเห็น มีทุกรูปแบบทั้งการทำร้ายร่างกาย การรังแกด้วยวาจาหยาบคาย ดูถูก เหยียดหยาม ปัจจุบันก็มีการรังแกกันผ่านทางโซเชียลมีเดียมากขึ้น และยิ่งทำให้เกิดการเลียนแบบสร้างความรุนแรงได้มากขึ้นไปอีก ทั้งนี้สาเหตุของการรังแกกันนั้นพบว่ามีหลากหลาย ทั้งจากตัวเด็กเองมีความก้าวร้าว หงดหวุดควบคุมตัวเองไม่ได้เพราะอาจมีความเจ็บป่วย เช่น สมาธิสั้น ซึมเศร้าอยู่ หรือความคึกคะนอง คิดว่าตัวเองมีอำนาจเหนือกว่าด้วยว่ามีพวกเยอะกว่า อายุมากกว่า ตัวใหญ่กว่าก็ได้ แต่สิ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ เลยคือการเลี้ยงดูของครอบครัว ซึ่งพบว่าเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีการใช้ความรุนแรงมากก่อนมีโอกาสมากที่จะใช้ความรุนแรงกับผู้อื่น

 

นพ.สมัย กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเหตุการณ์เด็กรังแกกันขึ้น เหมือนเหตุการณ์ที่เด็กวัยมัธยมศึกษาทำความรุนแรงกับเด็กนักเรียนชั้นประถมนั้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่เป็นผู้กระทำ หรือผู้ถูกกระทำจะต้องได้รับการดูแลด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย โดย อย่างเด็กที่ถูกรังอาจจะมีผลทำให้เกิดความเศร้า ความเครีย ซึมเศร้า เสี่ยงฆ่าตัวตาย หรือซึมเศร้าแล้วปะทุด้วยการทำร้ายคนอื่นเพื่อเป็นการแก้แค้น หรือบางคนก็เลียนแบบพฤติกรรมการทำร้ายคนอื่นต่อไป เช่นเดียวกับคนที่ลงมือทำร้ายคนอื่น อย่างที่บอกว่ามีหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งเราพบว่าบางคนหลังลงมือไปแล้วเกิดความเครียด เศร้า และกังวล แต่กลับแสดงออกมาด้วยการใช้ควารุนแรงแบบเดิม กลายเป็นคนที่ชอบใช้ความรุนแรงในได้ ดังนั้นทั้ง 2 ฝ่ายต้องได้รับการดูแลทั้งจากครูในโรงเรียน ผู้ปกครอง และเพื่อนๆ หากดูแลไม่ไหวก็ต้องส่งไปรับการดูแล ปรับพฤติกรรมโดยนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

 

“เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แต่เป็นเรื่องที่เตือนซ้ำให้พ่อ แม่ ผู้ใหญ่ในสังคมตระหนักว่ามันถึงเวลาที่เราต้องหันมาใส่ใจ ให้เวลากับการดูแลครอบครัว สังคมให้มากขึ้น มอบความรักความอบอุ่น ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา และอีกอย่างคือเวลามีการรังแกกัน บางครั้งเด็กที่ถูกรังแกอาจจะไม่ยอมเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟัง อาจจะด้วยความกลัว หรือถูกข่มขู่ แต่ถ้าความสัมพันธ์ในครอบครัวนี้จะสังเกตได้ว่ามีความผิดปกติเกดขึ้น เช่น ผลการเรียนตกต่ำลง ไม่พูด ไมจา เป็นต้น” นพ.สมัย กล่าว.... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/politics/670926

12 October 2561

ที่มา เดลินิวส์

Posted By Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 1299

 

Preset Colors