02 149 5555 ถึง 60

 

เกือบตาบอด-เสี่ยงซึมเศร้า ไม่อยากเสียลูก อย่าเลี้ยงด้วยหน้าจอ!!

เกือบตาบอด-เสี่ยงซึมเศร้า ไม่อยากเสียลูก อย่าเลี้ยงด้วยหน้าจอ!!

อุทาหรณ์เด็กติดจอ!ล่าสุดปล่อยลูกดูทีวีมือถือ นานเกินไป สุดท้ายป่วยหนักตาอักเสบรุนแรงผลเสียของการปล่อยลูกเล่นโทรศัพท์นานเกินไปส่งผลต่อสุขภาพรวมถึงพัฒนาการทั้งทางกายและอารมณ์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญชี้หากยังตามใจกันอยู่เสี่ยงตาอักเสบ-ซึมเศร้า-เข้าสังคมได้ยาก

อุทาหรณ์เด็กติดจอภัยเงียบใกล้ตัว!!

อุทาหรณ์ล่าสุดกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ลงกลุ่ม“HerKid รวมพลคนเห่อลูก”โดยเป็นภาพของลูกชายที่ป่วยด้วยอาการตาอักเสบต้องปิดผ้าก๊อซที่ดวงตาทั้ง2 ข้างโดยคุณหมอให้นอนค้างที่โรงพยาบาลเพื่อสังเกตุอาการ

“ฝากเตือนแม่ๆที่ปล่อยลูกดู ทีวี มือถือเป็นเวลานานๆด้วยปกติจะไม่ค่อยให้ลูกดูแต่วันนั้นพ่อก็ไม่สบายแม่ต้องเอาน้องปล่อยให้ดูทั้งวันผลที่ได้ตาอักเสบรุนแรงอันตรายมากๆ จนหมอต้องสั่งนอนดูอาการ”

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกาสำหรับอุทาหรณ์ที่ใครๆก็คาดไม่ถึง ยังมีเคสที่สมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊ก“Dachar Nuysticker Chuayduang”ได้โพสต์รูปภาพพร้อมเรื่องราวเตือนภัยของพ่อแม่มือใหม่โดยได้ปล่อยให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือตั้งแต่2 ขวบเนื่องจากพ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลลูกจึงปล่อยให้เล่นมือถือแต่ปรากฏว่า ตอนอายุ 4ขวบ จึงส่งผลกระทบให้ลูกของตนต้องเข้ารับการรักษาผ่าตัดตาจากนั้นได้งดให้ลูกเล่นโทรศัพท์ลูกจึงมีอาการดีขึ้น

“เลี้ยงลูกกับมือถือไอแพด ตอนสองขวบ ดูแลเขาไม่ทันบางทีก็ให้ดูจอไปพลางๆจะได้ไม่กวนไม่งอแงมากท่านอย่าดีใจไปนะครับเด็กอารมณ์ดี ตอนได้ดูแต่พอไม่ได้ดู เขาอารมณ์เสียต้องดูให้ได้ เหมือนเด็กติดเกมส์เลยผลกระทบที่ได้มาเราเองคนเป็นพ่อเป็นแม่ที่ต้องมาเสียใจมานั่งสงสารเขา ทำไมเราไม่ดูแลเขาดีๆพอตาเริ่มมีปัญหาได้ให้ใส่แว่นประคองอาการหวังว่าจะดีขึ้นสุดท้ายต้อบมาผ่าตัดตั้งแต่อายุ4 ขวบ”

ไม่เพียงเท่านี้โลกโซเชียลมีการแชร์ภาพเตือนภัยของผู้ใช้เฟสบุ๊กที่มีชื่อว่า ปภัสสร ดวงแก้ว ซึ่งได้โพสต์เตือนหลังจากปล่อยลูก 2ขวบครึ่งดูการร์ตูนในมือถือเยอะเกินไปจนทำให้ตาอักเสบ น้ำเหลืองไหลออกมา

“น้อง2 ขวบ6 เดือนน้องจะชอบดูการ์ตูนในมือถือมากเวลาเห็นแม่จับมือถือน้องจะร้องอยากดูการ์ตูนแม่เห็นน้องร้องแม่ก็ให้ดูวันหนึ่งจะดูประมาณ 1-2ชั่วโมงถ้าเอาออกน้องจะร้องอย่างเดียวแม่ก็คิดว่าคงไม่เป็นอะไรแต่มีวันหนึ่งน้องกำลังจะนอนน้องบอกเจ็บตาแสบตาร้องไห้จนหลับไปแม่เริ่มสังเกตที่ตาน้องเริ่มแดงบวม

ในวันเดียวกันผ่านไปไม่ถึงชั่วโมงตาน้องมีน้ำเหลืองไหลออกมาตาเริ่มบวกขึ้นพอน้องตื่นน้องก็ลืมตาไม่ได้ร้องไห้ใหญ่เลยว่าเจ็บว่าแสบ หลังจากนั้นแม่ก็พาน้องไปหาหมอหมอบอกว่าน้องตาอับเสบ”

เชื่อว่าหลายคนปฎิเสธไม่ได้ว่าติดหน้าจอกันหนักมากซึ่งไม่ใช่แค่เด็กเท่านั้น แม้แต่ผู้ใหญ่เองก็ติดจนอาจกลายเป็นโรคฮิตกันไปแล้วหลายคนมักจะวางโทรศัทพ์ไว้ใกล้ตัวและแม้ขณะที่กำลังทำอะไรบางอย่างอยู่ก็ตามหากมีเสียงแจ้งเตือนดังขึ้นทุกคนพร้อมจะทิ้งทุกอย่างตรงหน้าหันมาสนใจทันทีเช่นเดียวกันยิ่งเป็นเด็กยิ่งอันตรายหากเล่นอย่างไม่พอดี

อย่างไรก็ตามสาเหตุของการติดจอหรือติดโซเชียลมีเดียที่ทางสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ได้ระบุไว้ว่าปัญหาติดโซเชียลมีเดียมักเป็นปัญหาพฤติกรรมที่เกิดร่วมกันกับโรคทางจิตเวชอาทิ โรคสมาธิสั้น โรควิตกกังวลโรคย้ำคิดย้ำทำ และโรคซึมเศร้า

ปัจจัยเปลี่ยนแปลงทางสมองบริเวณสมองส่วนกลางที่กระตุ้นความสุขหากมากเกินพอดีก็เกิดอาการเสพติดคล้ายกับการติดสารเสพติดความแตกต่างระหว่างติดโซเชียลกับติดสารเสพติดคือ การติดโซเชียลมีเดียเป็นการเสพติดเชิงพฤติกรรมต่างจากการติดสารเสพติดตรงตัวกระตุ้นซึ่งทั้งการติดสารและติดโซเชียลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสมองระดับเซลล์สมองและฮอร์โมนแต่การติดโซเชียลไม่มีอาการแสดงทางร่างกายเหมือนการถอนสารเสพติด

พ่อแม่บางคนสมัยนี้เลี้ยงลูกในยุค4.0ให้เด็กอยู่แต่กับมือถือแท็บเล็ต หน้าจอโทรทัศน์อาจจะเพราะไม่มีให้กับลูกต้องทำงานเป็นส่วนใหญ่ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพรวมถึงพัฒนาการทั้งทางกายและอารมณ์ซึ่งไม่มีใครปฎิเสธได้เพราะด้วยเทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลอย่างรวดเร็ว

ทำให้ทีมข่าว MGR Liveจึงได้ติดต่อไปยัง ดร.นพ.วรตม์โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นกรมสุขภาพจิตจึงได้คำตอบว่าหากติดจอมากเกินไปเสี่ยงมีปัญหาทางกายปัญหาการเรียนรู้พัฒนาการปัญหาทางด้านจิตใจและปัญหาการเข้าด้านสังคม

“ปัญหาทางกายสิ่งที่เกิดขึ้นคือเด็กติดจอใช้เวลากับสิ่งนั้นมากเกินไปสายตาต้องใช้ยิ่งเป็นจอโทรศัพท์มือถือที่มีขนาดเล็กต้องใช้ตาเพ่งมากจอประสาทตาก็อาจจะมีปัญหาได้ท่าที่ใช้โทรศัทพ์หรือท่าที่นั่งดูคอมพิวเตอร์อย่างไม่เหมาะสมท่าทางเหล่านั้นทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกได้รวมไปถึงการใช้มือถ้าใช้มือเล่นเกมส์ทั้งวันก็จะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับข้อมือและนิ้วมือได้คนที่ดูทีวีหรือดูจอเยอะๆโรคอ้วนเกิดขึ้นได้เพราะว่าไม่ค่อยออกกำลังกายอยู่หน้าจอตลอดเวลากินขนมไปด้วยเล่นไปด้วยดูไปด้วยออกกำลังกายน้อยก็เกิดโลกอ้วนโรคเบาหวานความดันตามขึ้นมาได้

ทางพัฒนาการโดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า4 ขวบวัยนี้เป็นวัยที่มีความพัฒนาการอย่างมากและต้องอาศัยการดูแลอย่างใกล้ชิดในเรื่องพัฒนาการถ้าปล่อยให้ทีวีหรือจอต่างๆเลี้ยงลูกสิ่งที่เกิดขึ้นคือเขาไม่ได้รับโอกาสในการพัฒนาการที่เหมาะสมเพราะว่าไม่มีใครสอนเรื่องการแก้ปัญหาต้องทำอย่างไรเล่นกับคนอื่นไม่เป็นเพราะว่าเล่นอยู่แต่กับจอเขาไม่เรียนรู้วิธีการควบคุมอารมณ์ตัวเองยิ่งวัยเด็กเล็กๆ การพัฒนาการสูงมากหากติดจอมากเกินไปก็เท่ากับว่าขาดช่วงพัฒนาการ

อีกเรื่องคือเรื่องภาษาถ้าเด็กอยู่กับหน้าจอไม่ได้คุยกับใครเด็กบางคนมีการพูดภาษาเลียนแบบสิ่งที่อยู่ในจอเพราะไม่เคยถูกสอนเกี่ยวกับโครงสร้างของภาษาการเขียนการอ่านก็ด้อยลงเพราะว่าไม่มีเวลาที่จะไปใช้

ส่วนเรื่องด้านสุขภาพจิตการที่เด็กติดจอเยอะก็มีผลมีรายงานว่าเด็กที่ใช้จอเยอะหลายอย่างเช่นหากใช้อินเทอร์เน็ตมากเกินไปก็เสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าโรควิตกกังวลมากขึ้นโรคภาวะปัญหาการกินปัญหาเรื่องถูกกลั่นแกล้งเรื่องไซเบอร์บลูลิ่ง(Cyberbullying) คือการถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ซึ่งถ้าเด็กมีการใช้มากก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์มากขึ้นกว่าเด็กทั่วไปซึ่งมาจากการที่เราเปรียบเทียบภาพลักษณ์ตนเองกับคนอื่นเด็กบางคนก็จะมีพัฒนาการเรื่องเกี่ยวกับการกินเพราะว่าอยากมีหุ่นที่ดีเหมือนคนอื่นเอาตัวเองเปรียบเทียบกับคนอื่น

การเข้าสังคมการที่เด็กก้มเล่นหน้าจอตลอดเวลามีแนวโน้มที่จะปฎิสัมพันธ์กับคนอื่นน้อยลงกับเพื่อน กับคุณพ่อคุณแม่ ทักษะในการสื่อสารก็เป็นทักษะในการสื่อสารทางโลกออนไลน์อย่างเดียวคือพูดแล้วลบได้ไม่ต้องคิดมากแต่พอมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงที่จะใช้ทักษะในการสื่อสารกับคนจริงๆแบบเผชิญหน้าทุกคนไม่มองหน้าไม่สบตาความสัมพันธ์ก็แย่ลงเพราะทุกคนเอาแต่ใช้มือถือยิ่งถ้าเกิดติดจอกันทั้งบ้านปัญหาในครอบครัวก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายมากกว่าครอบครัวอื่นที่มีเวลาคุณภาพให้กัน”

อย่างไรก็ตามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังฝากถึงผู้ปกครองต้องเข้าใจลูกของตนเองเสียก่อนและต้องให้เวลาที่มีคุณภาพแก่เด็กไม่เช่นนั้นปัญหาเหล่านี้ก็จะเกิดแบบนี้ไปตลอด

“คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจเทคโนโลยีที่ลูกกำลังใช้อยู่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือถ้าเราไม่ทราบว่าลูกเราใช้เทคโนโลยีอะไรบ้างเราจะไม่รู้วิธีแก้ปัญหาเมื่อทราบแล้วทำความเข้าใจกับเขาถึงประโยชน์และโทษที่เกิดขึ้นกับเครื่องมือสื่อสารเหล่านั้นสอนเขากับวิธีใช้ที่ถูกต้องอยู่กับเขา กำกับเขาเมื่อเขาเริ่มใช้งานช่วงแรกๆเมื่อเขาใช้งานอย่างถูกต้องสามารถควบคุมเวลาได้ ให้คำชื่นชมแต่ถ้าไม่สามรถควบคุมตัวเองในการใช้งานอาจจะต้องมีการสร้างกฏกติกาอย่างชัดเจนว่าต้องลดระยะเวลาในการเล่น

เนื่องจากเด็กควบคุมไม่ได้เราไม่สามารถควบคุมเด็กได้ถ้าเราไม่มีเวลาให้เขาเข้าใจเห็นใจคุณพ่อคุณแม่ในยุคนี้ที่ทำงานมากขึ้นรถก็ติดอยู่บนท้องถนนแต่เราไม่สามารถให้สิ่งอื่นเลี้ยงลูกแทนเราได้เพราะฉะนั้นการให้เวลาที่มีคุณภาพจะเป็นตัวช่วยให้เด็กห่างไกลจากพิษภัยปัญหาเรื่องหน้าจอทั้งหลาย”

สำหรับในต่างประเทศมีข้อกำหนดว่าถ้าอายุต่ำกว่า18 เดือนห้ามใช้อุปกรณ์ที่เป็นจอทางอิเล็กทรอนิกส์เด็ดขาดนอกจากการที่ติดต่อสื่อสารอย่างเดียวเช่น คุณพ่อคุณแม่ไปต่างประเทศสามารถวิดิโอคลอให้เห็นหน้ากันได้ส่วนนี้สามารถทำได้แต่ว่างดใช้เด็ดขาดในเด็กอายุต่ำกว่า18 เดือนถึง 4 ขวบให้ใช้ได้แค่ครึ่งชั่วโมง4 ขวบเป็นต้นไปให้ใช้ได้แค่1 ชั่วโมงเท่านั้นเองเพราะว่าจะไปรบกวนพัฒนาการของเด็กส่วนประเทศเรายังไม่มีข้อกำหนดแบบนี้แต่ก็สามารถใช้หลักการเดียวกับต่างประเทศได้

1 March 2562

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By ์์Nitayaporn/Bungon/Kanchana

Views, 3172

 

Preset Colors