02 149 5555 ถึง 60

 

นิด้าโพล-CASR เผยผลสำรวจผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า

นิด้าโพล-CASR เผยผลสำรวจผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้าโพล ร่วมกับศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ (Center for Aging Society Research : CASR) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นจากผู้สูงอายุไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จากทุกภูมิภาค จำนวน 1,265 ตัวอย่าง เรื่อง "ผู้สูงอายุไทยซึมเศร้าหรือไม่"

จากการสำรวจภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโดยใช้ข้อคำถามทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 นำเกณฑ์มาจาก ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.54 ระบุว่า ไม่มีภาวะซึมเศร้า (0-4 คะแนน) รองลงมา ร้อยละ 17.00 ระบุว่า มีความผิดปกติแต่ยังไม่มีภาวะซึมเศร้า (5-8 คะแนน) ร้อยละ 9.09 ระบุว่า มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย (9-14 คะแนน) ร้อยละ 1.74 ระบุว่า มีภาวะซึมเศร้าปานกลาง (15-19 คะแนน) และร้อยละ 0.63 ระบุว่า มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง (≥ 20 คะแนน)

ส่วนการแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุในช่วงเวลาที่มีภาวะซึมเศร้า (ถามเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอาการอย่างน้อยหนึ่งข้อตามแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.34 ระบุว่า ออกกำลังกาย รองลงมา ร้อยละ 41.04 ระบุว่า ออกไปพบปะเพื่อนฝูง หรือสังสรรค์กับเพื่อน ร้อยละ 36.67 ระบุว่า พูดคุยกับสมาชิกในครอบครัว (คู่สมรส ลูกหลาน ญาติ เป็นต้น) ร้อยละ 6.72 ระบุว่า เล่น LINE ร้อยละ 6.49 ระบุว่า เข้าวัด ไหว้พระ ทำบุญ นั่งสมาธิ ฟังธรรม ร้อยละ 5.31 ระบุว่า ดูโทรทัศน์/ฟังวิทยุ ร้อยละ 4.48 ระบุว่า เล่น Facebook ร้อยละ 3.89 ระบุว่า ปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ ทำความสะอาดบ้าน ร้อยละ 3.07 ระบุว่า ทำงานอาสาสมัคร ร้อยละ 2.59 ระบุว่า ไปเที่ยวพักผ่อน และร้อยละ 0.35 ระบุว่า ไปพบแพทย์

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงการติดต่อขอความช่วยเหลือจาก "สายด่วนสุขภาพจิต 1323" ของผู้สูงอายุในช่วงเวลาที่มีภาวะซึมเศร้า (ถามเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอาการอย่างน้อยหนึ่งข้อตามแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9) พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 98.11 ระบุว่า ไม่เคยโทรติดต่อขอความช่วยเหลือ ขณะที่ร้อยละ 1.89 ระบุว่า เคยโทรติดต่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า ไม่เคยโทรติดต่อขอความช่วยเหลือจาก "สายด่วนสุขภาพจิต 1323" พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.86 ไม่รู้ว่าเป็นสายด่วนสุขภาพจิต รองลงมา ร้อยละ 7.93 รู้ว่าเป็นสายด่วนสุขภาพจิต แต่ไม่มั่นใจว่าจะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ และร้อยละ 7.21 ระบุอื่นๆ ได้แก่ ยังไม่ได้มีภาวะซึมเศร้าจนต้องโทรติดต่อขอความช่วยเหลือ/แก้ปัญหาด้วยตัวเอง/ปรึกษาคนรอบข้าง ส่วนในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า เคยโทรติดต่อขอความช่วยเหลือจาก "สายด่วนสุขภาพจิต 1323" พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.50 รู้ว่าเป็นสายด่วนสุขภาพจิต และร้อยละ 12.50 รู้ว่าเป็นสายด่วนสุขภาพจิต และเชื่อมั่นว่าจะช่วยแก้ปัญหาให้ได้

18 April 2562

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By ์์Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 748

 

Preset Colors