02 149 5555 ถึง 60

 

10ข้อคนไทยเสพติดออนไลน์กลายเป็นมนุษย์ยุคดิจิทัล

10ข้อคนไทยเสพติดออนไลน์กลายเป็นมนุษย์ยุคดิจิทัล

4ก.ค.62-ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) (ศมส.) นายวีระโรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังเฝ้ารับเสด็จฯสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในการเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยาครั้งที่13 หัวข้อ มนุษย์ในโลกดิจิทัลว่า ทรงมีพระราชดำรัสชื่นชมการจัดงานที่มีนักวิชาการนักศึกษาและนักวิจัยของสถาบันต่างๆทั่วประเทศ ส่งบทความวิชาการมานำเสนอจำนวนมากช่วยส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ที่ยุคปัจจุบันเข้าสู่สังคมข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่ติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านต่างๆจำเป็นต้องมีทักษะความรู้และความเข้าใจเพื่อใช้สื่อดิจิทัลอย่างรู้เท่าทันมีความรับผิดชอบเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอย่างแท้จริง

ด้านนายพีรพน พิสณุพงศ์ผอ. ศมส. กล่าวว่าพลังของโซเซียลทำให้คนไทยต้องเผชิญกับค่านิยมหรือวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปอีกทั้งพฤติกรรมของคนยุคดิจิทัล มีการแสดงออกในพื้นที่สาธารณะอย่างโจ่งแจ้งโดยสามารถรวบรวม 10 อย่างมานำเสนอได้แก่1.การเซลฟี่แสดงถึงอัตลักษณ์ในจินตนาการกลายเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่ง 2.คาเมล่า อิสเฟิร์ตการเผยแพร่ภาพอาหารการกินอย่างสาธารณะ3.ไอจีสตอรี่ความทรงจำ24 ชั่วโมง4.ไลน์กรุ๊ปชุมชนหน้าจอทำให้ผู้คนในสังคมต้องติดต่อกันผ่านโซเซียลมากขึ้น5.สวัสดีวันจันทร์การส่งต่อความสุขเพื่อยืนยันการมีตัวตน 6.มีการรื้อและสร้างความหมายใหม่เพื่อการวิพากษ์สื่อถึงอารมณ์ขันประชดเหน็บแนมและส่งต่ออันอย่างแพร่หลาย7.แฮชแท็ก# โซเซียลมีเดียกับบทบาทการเมืองเชิงสาธารณะจุดประสงค์ของการใส่เพื่อรวบรวมเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันไว้ 8.ไวรัลมาร์เก็ตติ้ง สื่อสร้างโอกาสในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาไวรัล“แม่ฉันต้องได้กินกุ้ง”เป็นไลฟ์วิดีโอการขายอาหารทะเลที่มีการแชร์จำนวนมากและไวรัลยังทำให้คนธรรมดากลายเป็นเนตไอดอลมียอดรับชมจำนวนมาก 9.ออฟไลน์และออนไลน์เมื่อตัวตนของเรามีมากกว่าหนึ่งและ10.เฟซบุ๊ครีแอคชั่นยอดไลท์ของเราไม่เท่ากัน

นายพีรพนกล่าวด้วยว่าทั้งนี้การที่คนไทยก้าวสู่เป็นมนุษย์ยุคดิจิทัลควรรู้เท่าทันด้วยการวิเคราะห์และแยกแยะการนำเสนอตัวตนการรับข่าวเพื่อไม่ให้เกิดภัยร้ายแก่ตนเองปัจจุบันพบเรื่องที่น่าห่วงอันเกิดจากโทษของโลกดิจิทัลจำนวนมากส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทั้งการก่ออาชญากรรมการถูกล่อลวงการละเมิดการให้ข่าวโจมตีการโฆษณาชวนเชื่อการสร้างกระแสของดารานักแสดง ทั้งหมดอาจจะเข้าข่ายผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์และมีโทศทางอาญาด้วย

5 July 2562

ที่มา ไทยโพสต์

Posted By Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 934

 

Preset Colors