02 149 5555 ถึง 60

 

10 อาการเตือนของโรคอัลไซเมอร์

10 อาการเตือนของโรคอัลไซเมอร์

เมื่อสังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ เรื่องที่น่ากังวลจึงหนีไม่พ้นกลุ่มอาการสมองเสื่อมอย่าง "โรคอัลไซเมอร์" ซึ่งกระทบกับการดำเนินชีวิตตามปกติ วันนี้มาเช็กกันหน่อยว่าตัวเราเองและคนใกล้ตัว เริ่มมีอาการเตือนของโรคอัลไซเมอร์บ้างหรือยัง

ศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ กรรมการเลขานุการมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย บรรยายพิเศษเรื่อง "10 อาการเตือนของโรคอัลไซเมอร์" ในการอบรมเชิงปฏิบัติการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ของโครงการ "สังคมไทยห่างไกลอัลไซเมอร์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก" ดังนี้

อาการที่ 1 "ลืม" ความจำบกพร่องรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเริ่มต้นของโรค มักจะลืมเรื่องหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ๆ อาจลืมวันหรือเหตุการณ์สำคัญ ถามคำถามหรือพูดเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ ต้องใช้เครื่องมือหรือบันทึกช่วยเตือนความจำ หรือต้องได้รับการช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัว

อาการที่ 2 มีปัญหาเรื่องการวางแผนและการแก้ปัญหาความสามารถในการทำตามแผนบกพร่อง หรือมีการจัดการกับตัวเลขยากขึ้น เช่น เรื่องเกี่ยวกับเงินทอง ค่าใช้จ่าย ค่าน้ำ ค่าไฟ ที่ต้องใช้เวลาคิดและทบทวนนานขึ้น มีความยากลำบากในการต้องใช้สมาธิในการจะทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้มากขึ้นกว่าเดิม

อาการที่ 3 มีความยากลำบากในการทำกิจกรรมที่คุ้นเคยหรือเคยทำได้เช่น ในที่ทำงาน หรือกิจกรรมสนุกสนาน บันเทิง การขับรถไปที่ที่คุ้นเคย หรือการจัดการกับงบประมาณในที่ทำงาน การจำกฎเกณฑ์ของเกมที่ชอบเล่นบ่อยๆไม่ค่อยได้

อาการที่ 4 สับสนเรื่องวัน เวลา สถานที่เริ่มจะจำเวลาและสถานที่ไม่ได้ หรือมีความยุ่งยากความลำบากที่จะเข้าใจเรื่องบางอย่างถ้ามันไม่ได้เกิดขึ้นทันที หรือลืมว่าอยู่ที่ไหน และจะไปที่ไหน จะไปได้อย่างไร เป็นต้น

อาการที่ 5 มีความยุ่งยากลำบากที่จะเข้าใจภาพที่เห็นและความสัมพันธ์กับทิศทางบางคนอาจมีปัญหาเรื่องสายตา การมองเห็น มีความยากลำบากในการอ่าน การตัดสินใจเรื่องระยะทาง สี อาจเดินผ่านกระจกเงาแล้วคิดว่ามีคนอื่นอยู่ในห้อง หรือตระหนักรู้เงาสะท้อนของตัวเองไม่ได้

อาการที่ 6 มีปัญหาเรื่องภาษาทั้งในการคิดคำพูดหรือการเขียน อาจมีปัญหาในการร่วมวงสนทนา เช่น พูดคุยแล้วหยุดกลางคัน เพราะนึกไม่ออกว่าจะพูดอะไรต่อ หรือพูดซ้ำๆ คิดคำ คำศัพท์ ชื่อเรียกสิ่งของ เลือกใช้คำไม่ถูกต้อง หรือคิดอย่างยากลำบาก เช่น นาฬิกา อาจใช้คำว่าที่ดูเวลา หรืออื่นๆ

อาการที่ 7 วางของผิดที่และตามหาไม่พบเริ่มโทษคนอื่นว่าหยิบข้าวของไป หรือขโมยไป ใช้แล้วไม่เก็บที่เดิม ซึ่งจะพบได้บ่อยและถี่มากขึ้น

อาการที่ 8 การตัดสินใจแย่ลงมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการตัดสินใจ อาจตัดสินใจผิดพลาดเรื่องการเงิน หรือมีความใส่ใจในการดูแลตัวเองลดลง

อาการที่ 9 แยกตัวจากงานและกิจกรรมทางสังคมแยกตัวจากงานอดิเรกกิจกรรมทางสังคม กีฬา หรืองาน อาจแยกตัวห่างจากทีมที่เคยเล่นกีฬาด้วยกัน หรือจำไม่ได้ที่จะทำงานอดิเรกที่ชอบให้สำเร็จ

อาการที่ 10 อารมณ์และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงอาจกลายเป็นคนสับสน ขี้กังวล ขี้สงสัย รู้สึกกลัว ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล มีความผิดหวัง เสียใจง่าย ซึ่งเป็นได้ทั้งในบ้านหรือที่ทำงานไม่ว่ากับเพื่อนกับครอบครัว หากรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในที่ที่ไม่ทำให้สุขสบาย

9 August 2562

ที่มา โพสต์ทูเดย์

Posted By Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 1021

 

Preset Colors