02 149 5555 ถึง 60

 

พอใจ" หรือ "สุขใจ" สองความรู้สึกที่ไม่เหมือนกัน

พอใจ" หรือ "สุขใจ" สองความรู้สึกที่ไม่เหมือนกัน

เราทุกคนต่างยอมรับว่าเราต้องการความสุข เราอยากมีความสุข เรารู้มาว่าเงินซื้อความสุขที่แท้จริงไม่ได้ แต่เงินสร้างความพอใจชั่วขณะได้ และที่สำคัญเงินก็มีผลกระทบความสุขเราได้เช่นกัน

มนุษย์เราต่างพยายามแสวงหาความสุข แต่น่าแปลกใจที่เราหลายคนกลับใช้ชีวิตไปในการกลับกันที่จะหาความสุข นี่คือสิ่งที่นักจิตวิทยา ชื่อ เดเนียล คาห์นีแมน ได้กล่าวไว้ ในการรับรางวัลโนเบล ปี 2002

เราต้องการความสุข แต่เรากลับหันไปสร้างความพอใจชั่วขณะ เราต้องการความสุขในระยะยาวแต่หลายครั้งเรามัวแต่สร้างภาพความสุขในระยะสั้น หรือแม้แต่เรากำลังสร้างสิ่งที่ไม่ได้ทำให้เรามีความสุข

เราทนทำงานกับคนที่เข้ากับเราไม่ได้ และไม่มีความสุขเลย เพื่อเงินในระยะสั้น และบั่นทอนชีวิตของเรา เพราะมันเป็นความทรงจำที่จะติดอยู่กับเราตลอดไป

เรานัดครอบครัวเลี้ยงฉลองเพื่อได้เจอหน้าพบปะสังสรรค์กัน แต่เรากลับเสียเวลานั่งถ่ายรูปลงโซเชียล เปิดมือถือส่งภาพตลอดงาน โดยทำให้เสียเวลาที่จะได้ใช้เวลาอันมีค่านี้กับครอบครัว

สิ่งนี้เป็นเรื่องปรกติตามทฤษฎี Prospect Theory ของ Daniel Kaheman และ Amos Tversky (1996) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี 2002 และนำมาประกอบการคิดเชิงเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรรม

โดยสรุปได้ว่ามนุษย์เรามีการทำงานของสมองสองระบบ คือ ระบบที่ 1 การคิดในระยะสั้น อัตโนมัติ ตัดสินรวดเร็ว และมักผิดพลาด มีอคติ ระบบที่ 2 คือ วิจารณญาณ คือการคิดที่ช้า ต้องอดทน ฝึกฝน จึงเป็นคนคิดเก่ง

คนส่วนใหญ่ มีแนวโน้มที่จะใช้สมองส่วนที่ 1 คือส่วนคิดเร็ว อัตโนมัติและใช้อารมณ์ ฉาบฉวย มากกว่าสมองส่วนที่ 2 คือสมองส่วนเหตุผล ซึ่งจะคิดช้ากว่า ด้วยเหตุนี้ทำให้เรามักตัดสินใจผิดพลาด และเลือกในสิ่งที่หลอกตัวเอง เช่น

นาย ก อยากทำงานที่บริษัทนี้มาก หาข้อมูลมาอย่างนี้เตรียมตัวพร้อมจนได้ทำงานสมหวัง ต่อมาเจอหัวหน้าพูดคำบางคำกระทบจิตใจ หลังจากทำงานมาเป็นปี นาย ก ตัดสินใจทันทีในขณะนั้นว่า "พอละ พรุ่งนี้ลาออกแน่นอน"

และสิ่งที่แปลกกว่านั้นคือ คนเรามีแนวโน้มทีจะเลือกจำข้อมูลที่เสริมความคิดอคติของตัวเอง มากกว่าจะหาข้อมูลเพื่อคิดไตร่ตรองว่าอะไรควรไม่ควร รุ่งขึ้น นาย ก ไปลาออก สมใจ แต่ในใจลึกๆรู้สึกเจ็บแค้นมากที่ต้องลาออก (เพราะจริงๆคือไม่อยากลาออก) นี่แหละคะ ชีวิต

มนุษย์เรามีแนวโน้มอยู่แล้วที่จะตัดสินใจจากสมองระบบที่ 1 ที่เป็นการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพราะชิน และคิดไปเองว่ามันสบายกว่าการคิดช้า แต่แล้วก็มานั่งบ่นว่าอยากมีชีวิตที่ดีกว่านี้

หากเรามีความเข้าใจความคิด พฤติกรรม และความสุขในชีวิตที่แท้จริงของเรา และใจเย็น อดทน มีวินัยหน่อย เราอาจได้รับความสุขหลักๆ หลายอย่างที่เราต้องการ เช่น ความสำเร็จทางครอบครัว ความสำเร็จทางการงาน ความสำเร็จทางการศึกษา

นักเรียนรักดีจำนวนมาก มีความใฝ่ฝัน อยากเรียนเก่งๆ จะได้สอบมหาวิทยาลัยดังๆ ได้ จึงตั้งใจไปสมัครเรียนพิเศษกับเหล่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญ เมื่อเจออุปสรรค เช่น รถติด เหนื่อย ไม่ได้เที่ยวเหมือนเดิม ก็บ่นว่า ท้อจังเหนื่อยมาก จึงเลิกล้มการฝึกฝน ทางเลือกสูงที่ฝันไว้จึงต้องเลื่อนลงมา เพราะอารมณ์หรือสมองส่วนที่ 1 ทำงานไปแล้วโดยไม่รู้ตัว สุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไปก็มานั่งเสียดายว่าวันนั้นถ้าอดทนกว่านั้นเราคงผ่านมาได้

เรายอมรับตัวเองว่า มนุษย์เรามีแนวโน้มจะหลอกตัวเองเถอะค่ะ เราจะได้หาทางแก้ โดยใช้สมองส่วนที่ 2 ที่ต้องอดทน ต้องฝึก เพราะการใช้อารมณ์ไม่ได้ช่วยให้เรามีความสุขเลย ทั้งทางด้านการงาน ชีวิตส่วนตัว หรือแม้แต่การเงิน

สมัยนี้ใคร ๆ ก็ให้ความสนใจกับอิสรภาพทางการเงิน แต่เรารีบเข้าใจเร็วไป คิดว่าอิสรภาพทางการเงินคือ ชีวิตที่มีอิสระ แม้ตอนเรานอน เงินยังพอกพูนตลอด โดยหลักการให้เงินทำงานแทนเรา แบบที่ Warren Buffet และBill Gates รวมถึงอภิมหาเศรษฐีทำกันได้ โดยทำให้คนสมัยนี้พยายามศึกษาเรื่องเงิน เรื่องหุ้น เรื่องเศรษฐศาสตร์ จนลืมมองไปถึงคุณลักษณะบางอย่าง ที่เหล่าบรรดาบุคคลโด่งดังเหล่านี้มีคล้ายๆกัน นั้นคือ ความขยันและวินัยของชีวิต

29 October 2562

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By Nitayaporn/Thongpet/Kanchana

Views, 1250

 

Preset Colors