02 149 5555 ถึง 60

 

หยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน เติมสมองแก้เหงาสว.

หยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน เติมสมองแก้เหงาสว.

ในยุคที่สื่อสิ่งพิมพ์ได้รับความสนใจน้อยลงทุกที นั่นจึงทำให้เด็กยุคใหม่หันไปอ่านหนังสือจากอุปกรณ์แท็บแล็ตมากขึ้น ซึ่งผลพวงในอนาคตอาจส่งผลต่อสุขภาพดวงตาให้กับหนอนหนังสือได้ แต่ทว่ายังมีผู้สูงอายุไม่น้อยที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือในรูปแบบกระดาษ เพราะนอกจากช่วยถนอมสายตาแล้ว ยังสามารถหยิบหนังสือในตู้มาอ่านทบทวนความรู้ได้ตลอดเวลาโดยไม่ทำให้เสียสุขภาพ นั่นจึงทำให้หนังสือเป็นเพื่อนของคนวัยเก๋านั่นเอง สปันนา ศิริศรีกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สิรินธร มีข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของการอ่านแก้เหงาคนวัยเกษียณไว้น่าสนใจ

พยาบาลสปันนา ให้คำแนะนำว่า “การที่ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างกับการอ่านหนังสือในรูปเล่มนั้น อันดับแรกข้อมูลจะเป็นข้อเท็จจริง อีกทั้งต้องผ่านการคัดกรองจากผู้เขียน ผู้เรียบเรียง มากกว่าอ่านความรู้ในโซเชียล ที่ปัจจุบันอาจเป็นข้อมูลในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพ หรือข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ยังไม่ได้รับรองจากผู้เชี่ยวชาญ แล้วแชร์ส่งต่อๆ กัน เป็นต้น ตรงนี้ผู้สูงอายุอาจต้องเพิ่มความระมัดระวัง หรือหาข้อมูลก่อนที่จะเชื่อจากการอ่านข้อมูลเหล่านั้นในโลกออนไลน์ ที่สำคัญการอ่านหนังสือในแท็บแล็ตไม่ว่าจะเป็นบทความ กระทั่งเกร็ดความรู้ต่างๆ นิยาย หากอ่านติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพสายตาได้ จากแสงสีในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ตาพร่ามัว วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น

“ประโยชน์ของการอ่านหนังสือในรูปแบบเล่มจะช่วยถนอมสายตา อีกทั้งเมื่อยิ่งอ่านก็จะยิ่งทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน อ่านไปคิดตามไป ทำให้สมองได้พัฒนาเช่นเดียวกัน อีกทั้งมีความรู้เพิ่มจากเรื่องที่เราไม่เคยรู้ หรือสามารถนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ได้จากอ่านมาใช้กับตัวเอง ทำให้คนวัยเก๋าไม่เหงา อีกนัยหนึ่ง หนังสือยังช่วยเป็นกันโรคซึมเศร้าได้ เพราะเปรียบเสมือนเพื่อนของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ คนอายุ 60 ปีขึ้นไปสามารถอ่านหนังสือที่เป็นรูปเล่มได้ทุกแนว เนื่องจากคนวัยนี้จะมีประสบการณ์ในชีวิตด้านต่างๆ และเมื่อยิ่งได้อ่านก็เท่ากับเป็นการเพิ่มความรู้หรือแง่มุมที่ขาดหายไปให้กับท่านได้มากขึ้น เช่น หนังสือแนวสารคดี กระทั่งแนวประวัติศาสตร์ แนวสังคม หรือแนวตลกขบขัน ที่สามารถหยิบมาใช้พูดคุยกับเพื่อนวัยเดียวกันได้อย่างสนุกสนาน

ที่สำคัญระหว่างอ่านหนังสือ ผู้สูงอายุควรเบรกไปทำอย่างอื่น เช่น การลุกไปหาน้ำดื่ม หรือเดินไปพูดคุยกับเพื่อนบ้าน หรือเปลี่ยนไปออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ไม่จำเป็นจะต้องนั่งอ่านอยู่ตลอดเวลา เพราะอาจทำให้รู้สึกเมื่อยได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าจะให้ดีควรอ่านหนังสือในช่วงเวลาที่เราว่างจะดีที่สุด อาทิตย์ประมาณ 2-3 ครั้ง ไม่จำเป็นต้องอ่านทุกวัน นอกจากนี้การอ่านหนังสือแบบรูปเล่มนั้นยังเป็นงานอดิเรก โดยการใช้เวลาว่างไปกับการสะสมหนังสือ ขณะเดียวกันผู้สูงวัยก็สามารถหยิบหนังสือเล่มนั้นๆ ขึ้นมาอ่านทบทวนความรู้ได้ตลอดเวลาโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อีกทั้งยังสามารถให้ลูกหลานหรือผู้สนใจหยิบยืมหนังสือไปอ่าน เพื่อแบ่งปันความรู้ระหว่างกันได้อีกด้วย”

นอกจากหนอนหนังสือวัยเก๋าจะได้เพิ่มพูนความรู้จากการอ่านข้อมูลในหน้ากระดาษแล้ว ยังเป็นตัวอย่างในการสร้างนิสัยรักการอ่านที่ดีให้กับลูกหลานยุคใหม่ที่มักใช้เวลาไปกับการท่องโซเชียลว่าไหมค่ะ...

6 November 2562

ที่มา ไทยโพสต์

Posted By Nitayaporn/thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 1224

 

Preset Colors