02 149 5555 ถึง 60

 

“ความเครียด” นำไปสู่ความเจ็บป่วย และผลาญค่ารักษาสูงลิ่ว

“ความเครียด” นำไปสู่ความเจ็บป่วย และผลาญค่ารักษาสูงลิ่ว

ความเครียดไม่ใช่เรื่องดี ถ้าหลีกเลี่ยงได้ใคร ๆ ก็อยากเลี่ยง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถหลีกเลี่ยงหรือจัดการความเครียดได้ ดังผลการศึกษาวิจัยล่าสุดจากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพของซิกน่า และการศึกษาวิจัยที่ค้นพบจากแบบสำรวจ “คะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360 องศา” ในปีนี้พบว่าร้อยละ 87 ของประชากรโลกมีความเครียด ซึ่งเกิดจากการทำงาน และประชากรในภูมิภาคเอเชียมากถึงร้อยละ 12 ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความเครียดเหล่านั้นได้

ปัญหาความเครียดเรื้อรังจะนำไปสู่อาการเจ็บป่วยทั้งทางจิตและทางกายสารพัดอาการ-สารพัดโรค เช่น กลุ่มอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล ซึ่งอาการเหล่านี้ก็จะส่งผลเกี่ยวเนื่องโดยตรงไปถึงสุขภาพร่างกายด้วย เช่น มีอาการลำไส้แปรปรวน หรืออาการปวดหลังส่วนล่าง แล้วอาการเจ็บป่วยเหล่านี้ก็จะนำไปสู่ค่าใช้จ่ายในการรักษาอีกจำนวนมากมีผลวิจัยที่ทำโดยซิกน่าและทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพแห่งภูมิภาคเอเชีย เปิดเผยว่า ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพของประชากรจาก 9 ประเทศรวมถึงประเทศไทย มีสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยที่เกิดจากปัญหาความเครียดเรื้อรัง โดยประชากรประเทศออสเตรเลียจ่ายค่าดูแลรักษาความเจ็บป่วยที่เกิดจากปัญหาความเครียดมากถึง 22,911 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 18.8% ของค่าใช้จ่าย

ในการดูแลสุขภาพทั้งหมด ขณะที่ประเทศไทยจ่ายค่าดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากความเครียดสูงถึง 717 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 21,500 ล้านบาท คิดเป็น 4.3% ของค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพทั้งหมด

จากการจัดทำรายงานการวิจัยเชื่อว่า “เราสามารถจัดการปัญหาความเครียดเรื้อรังให้หมดไปจากระบบสุขภาพได้จริงหรือ ?” มีข้อมูลที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของความเครียดที่ส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของประชากรใน 9 ประเทศ โดยแต่ละประเทศมีค่าใช้จ่ายต่อปีสำหรับการดูแลรักษาความเจ็บป่วย

ที่เกิดจากปัญหาความเครียด ดังนี้ ออสเตรเลีย 22,911 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (18.8%), ฮ่องกง 3,758 ล้าน (17.6%), สิงคโปร์ 2,342 ล้าน (18.0%), เกาหลีใต้ 13,083 ล้าน (11.0%), ไต้หวัน 4,648 ล้าน (13.0%), ไทย 717 ล้าน (4.3%), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1,866 ล้าน (12.8%), อังกฤษ 14,794 ล้าน (6.2%) และสหรัฐอเมริกา 133,200 ล้าน (4.0%)

ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการดูแลรักษาสุขภาพของประชากรในแต่ละประเทศมาจากปัญหาความเครียดเรื้อรัง โดยมีการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่เกิดจากความเครียดแบบ “ผู้ป่วยใน” ร้อยละ 25 เข้ารับการรักษาในแผนก “ผู้ป่วยฉุกเฉิน” ร้อยละ 19 เข้ารับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ร้อยละ 35 และเข้ารับการรักษาแบบ “ผู้ป่วยนอก” อีกร้อยละ 12

นอกจากนั้น การวิจัยพฤติกรรมการใช้บริการสถานพยาบาลของผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียด พบว่า ผู้เข้ารับบริการมีปัญหาทางร่างกายที่ไม่สามารถอธิบายที่มาของสาเหตุได้ หรือพบอาการผิดปกติทางร่างกายซึ่งมีผลมาจากความเครียด และผลการวิจัยยังพบว่าการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้มีจำนวนมากขึ้นเช่นเดียวกันกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นตามไปด้วย

29 November 2562

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

Posted By Nitayaporn/thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 2390

 

Preset Colors