02 149 5555 ถึง 60

 

โควิด-19 : ยิ่งกักตัวเองอยู่บ้านนานขึ้นเท่าไหร่ ทำไมรู้สึกเหนื่อยล้ามากขึ้นเท่านั้น ?

โควิด-19 : ยิ่งกักตัวเองอยู่บ้านนานขึ้นเท่าไหร่ ทำไมรู้สึกเหนื่อยล้ามากขึ้นเท่านั้น ?

โควิด-19 : ยิ่งกักตัวเองอยู่บ้านนานขึ้นเท่าไหร่ ทำไมรู้สึกเหนื่อยล้ามากขึ้นเท่านั้น ? - BBCไทย

ไม่นานมานี้หลายคนอาจประหลาดใจว่า ตนเองรู้สึกเหนื่อยล้าหมดแรงมากขึ้น ทั้งที่กักตัวอยู่บ้านตลอดวันและไม่ค่อยได้ขยับทำกิจกรรมที่เหนื่อยหนักตามปกติเลยแท้ ๆ เรื่องนี้นักจิตวิทยามองว่าเป็นผลกระทบทางอารมณ์ซึ่งส่งผลต่อร่างกายของคนเรา ในยามที่มีความเครียดและกลัดกลุ้มวิตกกังวลกับการ "เอาชีวิตให้รอด" จากโรคระบาดนั่นเอง

ดร.ซาริตา โรบินสัน อาจารย์ผู้สอนด้านจิตวิทยาประจำมหาวิทยาลัยเซนทรัลแลงคาเชียร์ของสหราชอาณาจักร และดร. จอห์น ลีช นักวิจัยอาวุโสด้านจิตวิทยาความอยู่รอด จากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัทของสหราชอาณาจักร ร่วมกันให้คำอธิบายและแนะนำวิธีแก้ไขอาการเหนื่อยล้าหมดแรงระหว่างการกักตัวเองหนีโรคโควิด-19 ในบทความที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ The Conversation ไว้ดังนี้

เราจะรับมือกับความกลัวและวิตกกังวลในช่วงโควิด-19 ระบาดได้อย่างไร

มาม่าประทังชีวิต เรื่องเล่าคนไทยจากปลายด้ามขวานที่ติดอยู่ในมอนเตเนโกร

ฮอสปิเทล แปลงโรงแรมเป็นโรงพยาบาล ทางรอดจากวิกฤตคนไข้ล้นโรงพยาบาล

ความรู้สึกเหนื่อยล้าในบางกรณีอาจมีสาเหตุมาจากภาวะจิตใจ มากกว่าจะเป็นอาการหมดแรงพลังทางร่างกายจริง ๆ ยิ่งในภาวะที่ทุกคนรู้สึกเครียดและวิตกกังวลกับสถานการณ์โรคระบาด ทั้งยังต้องใช้ชีวิตแบบซ้ำซากจำเจเป็นเวลานานระหว่างการกักตัวเองอยู่ที่บ้าน ก็ยิ่งทำให้เบื่อและหมดหวังจนรู้สึกไร้พลังชีวิตได้

การกักตัวเองช่วง 3 สัปดาห์แรกนั้น ถือเป็นช่วงการปรับตัวให้คุ้นชินกับชีวิตประจำวันรูปแบบใหม่ โดยในช่วงสัปดาห์แรกที่หยุดออกไปทำงานข้างนอกและเลิกการพบปะเข้าสังคมตามปกติ หลายคนอาจรู้สึกหม่นหมองเศร้าสร้อยหรือบ่อน้ำตาตื้นขึ้นกว่าเดิมบ้างเล็กน้อย แต่คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกดีขึ้นเองใน 4-5 วันหลังจากนั้น

การจัดตารางเวลาเพื่อออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยลดความกังวลและความรู้สึกเหนื่อยล้าได้

Getty Images

การจัดตารางเวลาเพื่อออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยลดความกังวลและความรู้สึกเหนื่อยล้าได้

โดยทั่วไปแล้ว การปรับตัวต่อสภาพชีวิตที่ถูกกักบริเวณได้อย่างสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ สามารถจะเกิดขึ้นได้หลังผ่านช่วง 3 สัปดาห์แรกไปเป็นอย่างเร็ว แต่กว่าบางคนจะปรับตัวได้อย่างเต็มที่ ก็อาจต้องใช้เวลาถึง 3 เดือนเป็นอย่างช้า

ในระหว่างที่ยังรู้สึกหม่นหมองสิ้นกำลังใจ จนพลอยทำให้ร่างกายเฉื่อยเนือยและรู้สึกหมดแรงไปด้วย นอกจากการปลุกปลอบใจตนเองว่าสถานการณ์เลวร้ายกำลังจะผ่านไปในไม่ช้า การเขียนบันทึกประจำวันเพื่อทบทวนแก้ไขอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง และการจัดตารางกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่แน่นอนและเป็นระเบียบยังช่วยเราได้อย่างมากด้วย

หากผู้ที่กักตัวเองอยู่กับบ้านดำเนินชีวิตตามตารางกิจกรรมที่วางไว้อย่างเคร่งครัด จะทำให้ความรู้สึกว่างงานและว่างเปล่าปราศจากคุณค่า ซึ่งมักไปกระตุ้นให้ตระหนักถึงสภาพที่ถูกจำกัดบริเวณขึ้นมาบ่อย ๆ ลดลงได้ โดยวิธีการนี้เคยใช้ได้ผลมาแล้วกับลูกเรือ Endurance ที่ติดอยู่กลางผืนน้ำแข็งของมหาสมุทรแอนตาร์กติกเป็นเวลานานหลายเดือนเมื่อปี 1915

การทำกิจกรรมตามตารางยังเพิ่มระเบียบวินัย ลดพฤติกรรมปล่อยตัวตามสบายและปล่อยใจล่องลอย จนเป็นเหตุให้เกิดการถอนตัวจากสังคมและไม่รักษาความสะอาดสุขอนามัยส่วนบุคคลได้

กิจกรรมสำคัญที่ควรมีในตารางการใช้ชีวิตประจำวันก็คือการออกกำลังกาย ซึ่งแม้จะทำให้รู้สึกเหนื่อยยิ่งขึ้นไปอีกในระยะแรก ๆ แต่จะทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น ลดความวิตกกังวลและความรู้สึกเหนื่อยล้าในระยะยาว นอกจากนี้ การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ แม้จะเป็นการพูดคุยทางออนไลน์ในทุกวัน ยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ด้วย

13 April 2563

ที่มา ข่าวสด

Posted By Nitayaporn/thongpet/kanchana

Views, 2710

 

Preset Colors