02 149 5555 ถึง 60

 

ทุกข์ซ้ำเติมโควิด แพทย์เหนื่อยหนัก 5 เท่า จับตาพฤติกรรมผู้สูงอายุดื่มเหล้า

ทุกข์ซ้ำเติมโควิด แพทย์เหนื่อยหนัก 5 เท่า จับตาพฤติกรรมผู้สูงอายุดื่มเหล้า

ถอดบทเรียนผ่อนปรนซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อุบัติเหตุเมาแล้วขับเสี่ยงเพิ่มสูง ผู้สูงอายุพฤติกรรมดื่มเหล้ายังน่าห่วง บุคลากรทางการแพทย์สุ่มเสี่ยงโควิด-19 (COVID-19) ทำงานหนัก รักษาผู้ป่วยเมาแล้วขับ 1 ราย เสมือนรักษาผู้ป่วย 4-5 ราย

ศูนย์บริหารสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 (ศบค.) ขยายเวลาเคอร์ฟิว 23.00-04.00 น. ต่อไปอีกถึง 30 มิ.ย. 63 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 (COVID-19) ในช่วงเคอร์ฟิว พฤติกรรมหนึ่งที่พบคือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนเกิดอุบัติเหตุ

โป๊งเหน่งพาคนรักหวยส่อง "เลขเด็ดฤาษีเณร" เห็นชัดเลขคู่ 2 ลอยเด่นวนไปมา

เครื่องฆ่าโควิด

ไทยออร์แกนิกแพลตฟอร์ม พร้อมรับมือวิกฤติโควิด-19

หลังผ่อนปรนซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มีความห่วงใย เพราะอาจส่งผลให้ตัวเลขอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มภาระหน้าที่ เสี่ยงติดโควิดของแพทย์ พยาบาล

เมาแล้วขับ 1 ราย แพทย์เหนื่อยหนัก เสมือนรักษาผู้ป่วย 4-5 ราย

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ได้รับการเปิดเผยจาก นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ถึงการทำงานหนักและความเสี่ยงโควิด-19 ของแพทย์ พยาบาล ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ว่า หากคนเมาแล้วขับจนเกิดอุบัติเหตุเข้าโรงพยาบาลใน 1 ราย บุคลากรทางการแพทย์หลายฝ่ายต้องทำงานกันอย่างหนักหลายเท่า เหมือนรักษาผู้ป่วย 4-5 คน

เริ่มจาก ห้องฉุกเฉิน หากเกิดเหตุคนเมาบาดเจ็บเข้ามา 1 ราย และไม่ให้ความร่วมมือ หมอ พยาบาล ต้องสวมชุดอุปกรณ์ป้องกัน (PPE) พีพีอี หรือ Personal Protective Equipment อุปกรณ์ป้องกันและคุ้มครองความปลอดภัย เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ติดต่อโรค เนื่องจากคนเมาแล้วขับ เมาค้างมักไม่มีสติ ควบคุมตัวเองไม่ได้ หากทำหัตถการ เช่น ฉีดยา เย็บแผล บางรายมักแสดงอาการไม่เหมาะสม

นอกจากไม่ยอมใส่หน้ากากอนามัย ยังส่งเสียงร้อง ตะโกน และหนักสุดถุยน้ำลายใส่บุคลากรทางการแพทย์ ทำให้หมอ พยาบาล และเจ้าหน้าที่มีความสุ่มเสี่ยงสูง เนื่องจากคนเมาถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะเป็นพาหะของโควิด-19 จากการตั้งวงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกันได้

ต่อมาหากต้องส่งตัวชันสูตรอาการป่วยเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ที่ห้องแล็บ ฯลฯ ก็ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกแผนกเหนื่อยเช่นกัน หรือกรณีเกิดอุบัติเหตุรุนแรงหนักจนต้องผ่าตัดฉุกเฉิน จำเป็นต้องเลื่อนเคสผู้ป่วยรายอื่นๆ ที่ควรได้รับการผ่าตัด

ข่าวน่ายินดี วัยรุ่น วัยทำงาน อายุ 15-39 ปี หลังใช้เคอร์ฟิว

หลังผ่อนปรนให้มีการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ รู้สึกกังวล เพราะจำนวนผู้บาดเจ็บหรืออุบัติเหตุอาจเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะวัยรุ่น วัยทำงาน จากการเปรียบเทียบสถิติผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนจากการเมาแล้วขับ เดือน มี.ค.-เม.ย. หลังมีการประกาศเคอร์ฟิว และสถานบันเทิงปิดให้บริการ ปี 62 มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตทั้งหมด 94,597 ราย สำหรับปี 63 มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตทั้งหมด 52,177 ราย ลดลง 42,420 ราย หรือ 45%, ผู้ขับขี่ดื่มแล้วขับ บาดเจ็บหรือเสียชีวิตลดลง 8,953 ราย หรือ 57%

แนวโน้มการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจากการดื่มแล้วขับ ลดลงมากในกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน อายุ 15- 39 ปี โดยอายุ 15-19 ปี ลดลง 1,313 ราย หรือ 67%, อายุ 20-24 ปี ลดลง 1,823 ราย หรือ 66%, อายุ 25-29 ปี ลดลง 1,186 ราย หรือ 58%

เหตุผลที่ 2 กลุ่มวัยนี้มีเปอร์เซ็นต์เจ็บ ตาย ในสัดส่วนที่ลดลง นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ระบุว่า กลุ่มวัยรุ่น วัยทำงานนิยมดื่มนอกบ้านเป็นหลัก เมื่อห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสถานบันเทิงหยุดบริการ และมีเคอร์ฟิว ทำให้จำนวนตัวเลขกลุ่มนี้ลดลง

ผู้สูงอายุ พฤติกรรมดื่มยังน่าห่วง หนุน 170 ด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์

“กลุ่มผู้สูงอายุ” บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการดื่มแล้วขับไม่แตกต่างกับปี 62 มีพฤติกรรมไม่ได้มาดื่มนอกบ้านช่วงกลางคืน แต่ดื่มสังสรรค์กันที่บ้านกับกลุ่มเพื่อนฝูง เกิดกรณีเสียชีวิตจากการดื่ม 65% จะไม่มีคู่กรณี เนื่องจากเมาแล้วปั่นจักรยาน หรือขี่มอเตอร์ไซค์จนเสียหลักล้มเอง และไม่ใส่หมวกกันน็อก เพราะมองว่าแค่ตั้งวงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สังสรรค์กับเพื่อนๆ ในหมู่บ้าน

แนวทางการปฏิบัติงานเชิงรุก นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ แนะเจ้าหน้าที่ประจำหมู่บ้านควรเพิ่มมาตรการเชิงรุกหากบ้านหลังใดมีการดื่มสังสรรค์ นอกจากนี้ หลังรัฐผ่อนปรนให้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปดื่มที่บ้านได้ ควรเพิ่มด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์ 170 แห่งทั่ว กทม.ตามเดิม

“เคสอุบัติเหตุเจ็บตายที่ รพ. จะเป็นทุกข์ที่ซ้ำเติมทุกข์จากโควิดที่แต่ละคนแต่ละครอบครัวกำลังประสบปัญหา หากคนกลับเข้ามาทำงานเป็นปกติมากขึ้น เคสเหยื่อเมาแล้วขับน่าจะกลับมาเพิ่มขึ้นเหมือนเดิม เพราะการตรวจวัดแอลกอฮอล์ มีเพียงการวัดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือสงสัย เช่น ออกมาช่วงเคอร์ฟิว นอกจากมีด่านตรวจ เวลาเกิดเคสควรให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสาวว่าดื่มจากที่ไหน กับใครบ้าง กทม.มีจุดตรวจ 170 ด่าน หลังผ่อนปรนแม้จะดื่มในบ้าน บางคนออกมาขับขี่รถบนถนนก็ไม่ได้ถูกตรวจจับ” นพ.ธนะพงศ์ กล่าวแนะ.

28 May 2563

ที่มา ไทยรัฐ

Posted By Nitayaporn/thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 1090

 

Preset Colors