02 149 5555 ถึง 60

 

''พ่อจีน''ดูแลลูกวันละ 10 นาทีแต่ดูทีวีวันละ 2 ชม.

''พ่อจีน''ดูแลลูกวันละ 10 นาทีแต่ดูทีวีวันละ 2 ชม.

ทุกวันที่ 21 มิ.ย.ประเทศจีนและมีการสำรวจพอบว่าผู้ชายใช้เวลาในแต่ละวันกับการดูหนังบันเทิงและมือถือถึง 132 นาที ใช้เวลาในการดูแลครอบครัวเพียง 13 นาทีและใช้เวลาทำงานบ้าน 48 นาทีเท่านั้น

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็นเทศกาลวันพ่อ ในทุกปีของวันนี้ประเทศจีนก็จะมีการจัดงานวันพ่อ มีการซื้อของขวัญให้กับบรรดาคุณพ่อ และมักจะมีการกล่าวถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูกว่าลึกซึ้งและยิ่งใหญ่เพียงใด ภาพยนตร์จีนหลายเรื่องก็กล่าวถึงความเสียสละของพ่อ หนึ่งในภาพยนตร์จีนอมตะที่กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ในการเสียสละของพ่อคือ “พ่อจ๋าอย่าร้องไห้” พ่อที่ขายขวดเก่าๆ หาเงินเลี้ยงลูก จนเกิดเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ของซูไน่หรือ จูลี่ ซู (Julie Su) ที่โด่งดังในทุกวันนี้

พ่อในสังคมจีนนั้นแม้ว่ามีความสำคัญมาก แต่หลายครั้งบทบาทของพ่อก็ยังคงเป็นเพียง “เงาของพ่อ” ที่มักจะอยู่เบื้องหลังกับความสำเร็จในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนาก็ตาม หน้าที่หลักในบ้านนั้นก็มักจะเป็นหน้าที่ของแม่ที่จะดูแลคนและงานบ้าน

จากรายงานสถิติของปีนี้พบว่า ผู้หญิงทำงานบ้านมากกว่าผู้ชายถึง 2.57 เท่า แม้ว่าพ่อบางบ้านอาจจะน้อยใจอยู่ลึกๆ และพูดในใจว่า “ฉันเป็นคนออกไปทำงานหาเงินเลี้ยงครอบครัว”

ปีนี้ในโลกโซเชียลจีนได้มีการหาเหตุผลของการใช้เวลากับงานในบ้านที่น้อยนั้นมาจากเหตุผลอะไรบ้าง เหตุผลที่มักจะบอกว่า “ไม่มีเวลาดูแลลูก” ภาพโดยรวมของทั่วโลกที่มักจะปรากฎว่าพ่อมักจะไม่ค่อยมีเวลามาดูแลใส่ใจลูกมากนัก จากสถิติงานวิจัยของ Mencare (ซึ่งเป็นองค์กรในการส่งเสริมกิจกรรมของผู้ชายหรือการทำหน้าที่พ่อในมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก)

พบว่าผู้หญิงจะใช้เวลาในการดูแลบ้านและครอบครัวมากกว่าผู้ชายถึงร้อยละ 40 ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้หญิงที่ต้องพบกับอุปสรรคในหน้าที่การงาน เพราะจะต้องเป็นคนตั้งท้อง คลอดลูก เลี้ยงดูลูก เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาเช่น กัมพูชา บราซิล หรือประเทศพัฒนาแล้วเช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ แม่ก็จะเป็นคนที่ใช้เวลาในบ้านมากกว่าพ่อ

แต่หากเรามาดูตัวเลขสถิติในการใช้เวลาดูหนังหรือการบันเทิงรวมถึงใช้มือถือของผู้ชายอายุตั้งแต่ 15 – 64 ปี ซึ่งในทุกประเทศจะพบว่าผู้ชายเสียเวลาไปในการบันเทิงและมือถือมากกว่าการดูแลบ้านมาก เช่นในประเทศจีนผู้ชายใช้เวลาในแต่ละวันกับการดูหนังบันเทิงและมือถือถึง 132 นาทีและใช้เวลาในการดูแลครอบครัวเพียง 13 นาทีใช้เวลาทำงานบ้าน 48 นาทีเท่านั้น

หากเปรียบเทียบเวลาในการใช้แรงงานแล้ว ค่าเฉลี่ยของทั่วโลกก็ยังพบว่าผู้หญิงใช้แรงงานในการทำงานมากกว่าผู้ชาย จากสถิตพบว่าในปี 2018 พบว่าผู้หญิงใช้แรงงานเฉลี่ยมากกว่าผู้ชายในแต่ละวันถึง 43 นาที และยังพบว่าผู้หญิงในเอเชียแปซิฟิคใช้แรงงานมากกว่าผู้ชายมากกว่าบริเวณอื่น ทั่วไปจะทำทั้งงานนอกบ้านและงานบ้านด้วย

ซึ่งหากศึกษาถึงการอบรมเลี้ยงดูจะพบว่า ทางโลกตะวันออกนั้นมักจะเรียกร้องให้การเลี้ยงดูผู้หญิงต้องรู้จักทำงานบ้าน ต้องเสียสละ และมักจะกลายเป็นงานบ้านเป็นงานของผู้หญิงที่ต้องทำมากกว่าผู้ชาย ซึ่งแม้ว่าในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในโลกที่ผู้หญิงต้องออกไปทำงานก็ตามที

อย่างไรก็ตาม จากสถิติของเวิร์ลอีโคโนมิคฟอรัม (World Economic Forum) แม้ว่าโลกจะค่อยเปลี่ยนไป โดยการทำงานของผู้หญิงที่ออกไปทำงานนอกบ้าน ผู้ชายจึงต้องมาช่วยทำงานบ้านด้วย แต่ก็มีการคาดการณ์ว่า หากจะให้ชายและหญิงทำงานบ้านเท่าเทียมกันแล้วนั้น คงต้องรอไปอีก 202 ปีเป็นอย่างต่ำ

แต่ก็ยังมีงานวิจัยที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นมาหน่อยที่ว่า จากงานวิจัยของ Pew Research Center ที่ได้เปรียบเทียบการแบ่งงานในครอบครัวของชายหญิงสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 – 2016 พบว่าชายสหรัฐฯนั้นได้ทำงานบ้านมากขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับ 50 ปีก่อน จากเดิมที่ทำงานบ้างเพียงอาทิตย์ละ 4 ชั่วโมง ปัจจุบันทำที่อาทิตย์ละ 10 ชั่วโมง เวลาในการดูแลลูกเดิมอยู่ทีอาทิตย์ละ 2.5 ชั่วโมงเป็น 8 ชั่วโมง

ในประเทศจีนปัจจุบันสถานการณ์ก็กำลังเปลี่ยนไป ความสำคัญของคนเป็นพ่อในครอบครัวเริ่มมีมากขึ้นกว่าเดิม คำที่ลูกเรียกหาพ่อในบ้านก็มีมากขึ้น เช่น “พ่อไปไหน” ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสำคัญของพ่อ แม้ว่าพ่อมือใหม่บางคนอาจจะเริ่มจากชงนมไม่เป็น เปลี่ยนผ้าอ้อมไม่เป็น ทำกับข้าวไม่เป็น หรือแม้แต่การเข้ามาพูดคุยกับลูกน้อยมากจนเกิดปัญหาความสัมพันธ์พ่อลูก

แต่ในทุกวันนี้พ่อรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ที่จะช่วยเลี้ยงลูก ช่วยดูแลบ้าน ช่วยทำกับข้าว จนเป็นสิ่งที่เราเคยคุ้นตาที่จะเห็นผู้ชายจีนไปซื้อกับข้าว กลับมาช่วยเลี้ยงลูก ทำงานบ้าน สิ่งนี้เป็นการสะท้อนถึงบทบาทของผู้ชายหรือพ่อที่เป็นแฟมิลี่แมนตัวจริงเสียงจริง มากกว่าจะดีแต่ออกไปสังสรรค์เมาเหล้ากันนอกบ้าน... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/782163

29 June 2563

ที่มา เดลินิวส์

Posted By Nitayaporn/thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 1322

 

Preset Colors