02 149 5555 ถึง 60

 

Hoarding Disorder เก็บจนเกรอะ ภาวะป่วยทางจิตที่ควรไปพบแพทย์

Hoarding Disorder เก็บจนเกรอะ ภาวะป่วยทางจิตที่ควรไปพบแพทย์

โรคเก็บสะสมของ หรือ Hoarding Disorder พฤติกรรมสะสมขยะจนละเลยเรื่องความสะอาด สุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นภาวะเจ็บป่วยทางจิตที่ควรพบแพทย์ ใครชอบเก็บของลองเช็กตัวเองดูว่ามี 5 สัญญาณชี้ว่าเข้าข่ายโรคสะสมของแล้วหรือยัง

โรคเก็บสะสมของ คืออะไร?

โรคเก็บสะสมของ หรือ Hoarding Disorder คืออาการทางจิตเวชชนิดหนึ่งของคนที่ชอบเก็บสะสมของไว้มาก เสียดาบ ไม่กล้าทิ้งอะไรเลย ยึดติดว่าทุกชิ้นเป็นของสำคัญ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือถึงขั้นอาจทำให้เกิดอันตราย เช่น หกล้มเพราะสะดุดข้าวของ ข้าวของล้มทับ หรือป่วยเป็นภูมิแพ้จากห้องรก สกปรก ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่ถูกเพิ่มเข้ามาในเกณฑ์วินิจฉัยโรคทางจิตเวช (DSM 5) เมื่อ พ.ศ. 2556

เริ่มเป็นตั้งแต่เมื่อไหร่

หลายคนอาจเข้าใจว่าคนที่เป็นโรคสะสมของจะมีแต่คนที่เข้าสู่วัยชรา แต่แท้จริงแล้วโรคสะสมของคืออาการที่เริ่มสั่งสมมาตั้งแต่การมีพฤติกรรมเก็บสะสมของตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นวัยรุ่น แต่อาการจะแสดงชัดเจนเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป เพราะในช่วงวัย 30 ปี ข้าวของเครื่องใช้จะเยอะขึ้น และเริ่มแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยไม่ยอมทิ้งอะไรเลย โดยจะเก็บเอาไว้จนรกบ้าน ตรงข้ามกับคนทั่วไปที่ส่วนใหญ่ในวัยนี้จะเริ่มแยกแยะของเพื่อทิ้งและเพื่อเก็บ แต่ผู้ที่ป่วยจะตัดใจทิ้งสิ่งของได้ยาก และเมื่ออายุมากขึ้นสิ่งของที่เก็บสะสมไว้ก็ยิ่งมีมากขึ้น และอาการของโรคก็จะรุนแรงขึ้นถึงขั้นเริ่มเก็บของที่ไม่สำคัญแล้ว โดยกลับคิดว่ามันยังสำคัญหรือยังมีประโยชน์ต่อตนเองอยู่

โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่ามีอยู่หลายสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเก็บสะสมของ กล่าวคือ พันธุกรรม สำหรับคนที่มีสมาชิกครอบครัว โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น พ่อหรือแม่ ที่เป็นโรคชอบสะสมของก็มีสิทธิ์ป่วยเป็นโรคชอบสะสมของ โดยพบว่ากว่า 80% ของผู้ป่วยจะมีญาติที่มีพฤติกรรมชอบสะสมของเช่นเดียวกัน อีกกลุ่มที่พบคือคนที่สมองได้รับการบาดเจ็บ จากการศึกษากลุ่มบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองส่วนหน้าจนถึงสมองส่วนกลาง พบว่า ก่อนหน้านั้นพวกเขาไม่เคยมีพฤติกรรมสะสมสิ่งของที่ไร้ประโยชน์เลย จนกระทั่งได้รับบาดเจ็บที่สมอง และผู้ที่สมองบางส่วนทำงานลดลง

สิ่งของที่พบได้บ่อย

นักสะสมส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้มักจะสะสมสิ่งของดังต่อไปนี้ สื่อสิ่งพิมพ์ ถุงพลาสติก เสื้อผ้า ขวดน้ำ ในบางรายอาจสะสมถึงขั้นขยะ เศษอาหาร ซึ่งของเหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดของเชื้อโรคต่างๆ อีกด้วย

อาการของโรคเก็บสะสมของ (Hoarding Disorder) เป็นยังไง

ไม่กล้าตัดสินใจทิ้งข้าวของเลยและมีความกังวลใจมากเมื่อต้องทิ้งข้าวของ

รู้สึกยากลำบากในการจัดเรียงข้าวของให้เป็นหมวดหมู่

รู้สึกทนทุกข์กับการเป็นเจ้าข้าวเจ้าของอย่างมาก หรือรู้สึกละอายใจเพราะข้าวของที่ตัวเองเก็บ

ไม่ไว้ใจ กลัวคนอื่นจะมาแตะต้องข้าวของตัวเอง และไม่ยอมให้ใครมาหยิบยืมไปด้วย

มีความคิดและการกระทำที่หมกมุ่น เช่น กลัวว่าถ้าทิ้งสิ่งใดไปแล้ว ในอนาคตจะไม่มีใช้ เมื่อเผลอทิ้งสิ่งใดไปก็จะรีบไปเช็กดูที่ถังขยะแล้วเอากลับคืนมาทันที

ไม่สามารถดำเนินชีวิตโดยปกติได้ เช่น ไม่มีพื้นที่อยู่อาศัย แยกตัวออกจากสังคม ทะเลาะกับสมาชิกในครอบครัวหรือคู่สมรส มีปัญหาทางการเงิน มีปัญหาด้านสุขภาพ

ฮาวทูทิ้ง..ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ

'เบาหวาน' คุมได้ก็ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

4 ท่าปั้นซิกแพค เพราะสุขภาพดีมีแต่ได้!!

สำรวจตัวเองด่วน! 5 สัญญาณบ่งบอกว่าเข้าค่ายโรคสะสมของ

เก็บสิ่งของที่ไม่จำเป็นเอามาไว้ในบ้าน และยังเอามาเพิ่มเรื่อยๆทั้งที่ไม่มีที่เก็บ

ไม่สามารถตัดสินใจที่จะทิ้งของได้ หรือรู้สึกลำบากใจที่จะทิ้ง แม้ว่าสิ่งของนั้นจะไม่จำเป็นและไม่มีค่าก็ตาม

รู้สึกหงุดหงิดใจ ไม่สบายใจเมื่อต้องทำการทิ้งของ มีความคิดและการกระทำที่หมกมุ่น เช่น กลัวว่าถ้าทิ้งสิ่งใดไปแล้ว ในอนาคตจะไม่มีใช้ เมื่อเผลอทิ้งสิ่งใดไปก็จะรีบไปเช็กดูที่ถังขยะแล้วเอากลับคืนมาทันที

ไม่ไว้ใจ หวาดระแวงคนอื่นจะมายุ่งกับสมบัติของตน

ไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติได้ เช่น แยกตัวออกจากสังคม, มีปัญหากับคนภายในครอบครัว เรื่องการจัดเก็บสิ่งของ

ข้อมูลโดย ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ว่า คนที่ชอบเก็บสะสมสิ่งของถือเป็นโรคทางจิตที่ควรรักษาหลายคนอาจไม่อยากเชื่อว่าโรคแบบนี้ก็มีด้วยกับโรคของคนที่ชอบเก็บสะสมสิ่งของไม่ยอมทิ้งจนเต็มและรกบ้านไปหมดฟังดูแล้วอาจดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ควรจัดเป็นโรคแต่หารู้ไม่ว่าโรคดังกล่าวคืออาการทางจิตที่ควรได้รับการรักษา

ผลกระทบของโรคนี้คือ ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง เพราะการเก็บหมักหมมสิ่งของเอาไว้ อาจก่อให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคได้ ต่อมาก็ยังส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุภายในบ้านได้ง่ายอีกด้วย อาจเกิดร่วมกับอาการทางจิตอื่นๆ ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรควิตกกังวล หรือโรคกลัวการเข้าสังคม เป็นต้น

สามารถรักษาได้ด้วยยา ที่จะช่วยปรับสารเคมีในสมองเกี่ยวกับวิธีคิด และสามารถรักษาได้ด้วยการบำบัด พฤติกรรมและความคิด เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาในเรื่องของการแยกประเภท ก็ต้องปรับความคิดใหม่เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ป่วย อาจเป็นการให้เหตุผลและอื่นๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยยอมตัดใจทิ้งข้าวของที่ไม่จำเป็น เริ่มจากให้ผู้ป่วยลำดับความสำคัญของสิ่งของ เพื่อแยกประเภทออกจากกัน อันไหนทิ้งอันไหนควรเก็บต่อไป

ที่สำคัญคนรอบข้างต้องใช้ความเข้าใจอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยมีความผิดปกติทางความคิด การทิ้งข้าวของที่ไม่จำเป็นแล้วเป็นเรื่องง่ายมากสำหรับคนทั่วไป แต่ก็เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผู้ป่วยที่คนรอบข้าง ควรทำความเข้าใจและคอยให้กำลังใจหรืออธิบายด้วยเหตุผลอีกด้วย

ข้อมูลโดย สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุโรคเก็บสะสมของจะมีลักษณะเรื้อรัง ไม่หายขาด แต่สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ โดยในปัจจุบันวิธีรักษาโรคเก็บสะสมของนั้นนิยมรักษาอยู่ 2 แนวทางคือ

ใช้ยาต้านเศร้า (antidepressant) คุณหมอจะให้ยาต้านเศร้าเพื่อให้เราลดความเครียดและความหมกมุ่นในการสะสมของ อย่างไรก็ตามวิธีนี้ได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

พฤติกรรมบำบัด เป็นหนึ่งในวิธีรักษาอาการทางจิตที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมและค่อนข้างได้ผลพอสมควร ซึ่งวิธีนี้ก็สามารถใช้เยียวยาอาการของโรคเก็บสะสมของได้ด้วย โดยเป็นวิธีที่มุ่งเน้นฝึกทักษะการตัดสินใจให้ผู้ป่วยสามารถจัดการเก็บหรือทิ้งสิ่งของในครอบครองได้อย่างมีเหตุผลยิ่งขึ้น การจัดกลุ่มข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งฝึกให้ทนได้กับการทิ้งของเหลือใช้ร่วมด้วย

11 September 2563

ที่มา โพสต์ทูเดย์

Posted By Nitayaporn/thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 10757

 

Preset Colors