02 149 5555 ถึง 60

 

เมื่อ "สุขภาพจิต" แย่ลง ชวนคนไทยรู้ขั้นตอนการเข้าพบ จิตแพทย์

เมื่อ "สุขภาพจิต" แย่ลง ชวนคนไทยรู้ขั้นตอนการเข้าพบ จิตแพทย์

เนื่องใน "วันสุขภาพจิตโลก" ปี 2020 ชวนคนไทยไปรู้จักขั้นตอนการเข้าพบ "จิตแพทย์" วิธีเช็คสิทธิ์การรักษา และข้อปฏิบัติเมื่อต้องเข้ารับการรักษาอาการป่วยทางจิตใจ

ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม แต่มีข้อเท็จจริงทางการแพทย์ยืนยันทุกวันนี้ โรคทางจิตเวช ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และดูเหมือนว่าใครๆ ก็เป็นกันได้ง่ายขึ้น เทียบเท่ากับการป่วยเป็นไข้หวัด ปวดหัว หรือปวดท้อง ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ทุกเวลา โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่และไกลบ้านถิ่นฐานเดิม

มีการคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2030 ทั่วโลกจะเสียค่าใช้จ่ายจาก วิกฤตโรคซึมเศร้า เป็นจำนวนกว่า 16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เห็นตัวเลขนี้แล้วทำเอาหลายคนสงสัยว่า ทำไมผู้ป่วยกลุ่มโรคจิตเวชถึงพบจำนวนเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก? สถานการณ์กลุ่มผู้ป่วยจิตเวชในเมืองไทยเป็นอย่างไร? ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษากับจิตแพทย์ได้มากน้อยแค่ไหน? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

เมื่อผู้ป่วยไทยเพิ่มขึ้น แต่จิตแพทย์เมืองไทยกลับขาดแคลน

ก่อนอื่น...มาเช็คกันหน่อยว่าตอนนี้คนไทยมีกลุ่มผู้ป่วยโรคจิตเวชมากแค่ไหน มีข้อมูลรายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวชภาพรวมทั้งประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2561 จากกรมสุขภาพจิต ระบุว่า มีผู้ป่วยด้านจิตเวชทะลุพุ่งสูงมากถึง 3.3 ล้านคน เมื่อแบ่งตามกลุ่มโรคที่พบบ่อย เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย รวมแล้วมีจำนวนกว่า 1.3 คน

10 ตุลาคม 'วันสุขภาพจิตโลก' แคมเปญปีนี้ 'ลงทุนสุขภาพใจให้มากขึ้น'

'Kitchen Therapy' สุขภาพจิตดี เพราะ 'ทำอาหาร' บ่อย

แต่เมื่อมาเช็คจำนวนจิตแพทย์และเจ้าหน้าที่ทางจิตวิทยาของเมืองไทย กลับพบว่ามีจำนวนน้อยกว่าแพทย์เฉพาะทางด้านอื่นๆ อยู่มาก จากรายงานประจำปีของกรมสุขภาพจิต ระบุว่าประเทศไทยมีจิตแพทย์จำนวน 211 คน และเจ้าหน้าที่จิตวิทยาจำนวน 113 คนเท่านั้น คิดเป็นอัตราส่วนได้ว่า จิตแพทย์ 1 คน ต่อผู้ป่วย 6,366 คน

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่าประชาชนไทยโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 มากถึง 70,534 สาย ในจำนวนนี้พบว่าอาการอันดับ 1 ที่พบคือความเครียดและวิตกกังวล เมื่อประเทศไทยมีจิตแพทย์และการบริการทางจิตวิทยาไม่เพียงพอ ทำให้ตอนนี้ผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการ ต่ำกว่า การรักษาโรคอื่นๆ ทางกาย

มีอาการป่วยจริงๆ หรือแค่คิดไปเอง?

อย่างที่บอกไปว่าสมัยนี้มีผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ "โรคซึมเศร้า" ที่พบว่าเป็นโรค 1 ใน 10 ที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพสูงสุด กระทบกับคุณภาพชีวิต และเป็นภาระทางสังคม ก่อนจะตัดสินใจไปหาหมอ...แน่ใจได้ยังไงว่าอาการที่เกิดขึ้น คือเราป่วยจริงๆ หรือเป็นเพียวภาวะชั่วคราวเท่านั้น ถ้างั้นควรทำความรู้จักกับอาการเบื้องต้นกันสักนิด

สำหรับอาการของกลุ่มโรคจิตเวชมักจะเริ่มจาก.. เบื่อหน่ายกับสิ่งที่เคยชอบทำหรืออยากทำ รู้สึกว่าชีวิตไม่มีความสุข ขี้หลงขี้ลืม ขาดความมั่นใจที่เคยมี รู้สึกสิ้นหวังกับทุกสิ่งอย่าง คิดว่าไม่มีทางที่อะไรๆ จะดีขึ้น ไม่ดูแลตัวเองอย่างที่เคยทำ บางครั้งก็มีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น นอนไม่หลับ นิสัยการกินผิดปกติไปจากเดิม ปวดหัว หรือปวดท้อง

การจะแยกแยะว่าอาการที่คุณเป็นนั้น เป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์จริงๆ หรือ เป็นเพียงภาวะชั่วคราว สามารถสังเกตได้จาก ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ข้างต้นเพียงเล็กน้อยและหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์ ก็อาจจะเป็นแค่ภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนและจะหายได้เองเมื่อได้พักผ่อนเต็มที่และได้ทำกิจกรรมที่คลายเครียด

แต่ถ้าคุณมีอาการเหล่านั้นติดต่อยาวนานมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป แล้วอาการเหล่านั้นกระจายตัวแทรกซึมไปกับชีวิตประจตำวัน และมีความรุนแรงมากล่ะก็.. คงต้องไปปรึกษาจิตแพทย์ และเริ่มขั้นตอนการรักษาต่อไป (หรือจะเช็คอาการตัวเองเพิ่มเติมจากแบบทดสอบนี้ก็ได้ >> แบบทดสอบสุขภาพจิตใจทั่วไป หรือ แบบประเมินโรคซึมเศร้า)

12 October 2563

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 2806

 

Preset Colors