02 149 5555 ถึง 60

 

How to เสพข่าวอย่างไรไม่ให้เครียด

How to เสพข่าวอย่างไรไม่ให้เครียด

รู้แนวทางไว้..จะได้ไม่เครียด กรมสุขภาพจิตแนะหลัก 5 วิธีเสพข่าวการเมืองไม่เครียด

หนึ่งในผลกระทบจากสถานการณ์การชุมนุมรายวัน อาจกระทบกับสุขภาพของคนที่ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ทั้งอาการทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ นอนไม่หลับ ส่วนอาการทางจิตใจ ได้แก่ อาการวิตกกังวลครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียว ก้าวร้าว สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป เบื่อหน่าย มีปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น

สำหรับการติดตามข่าวสารให้ห่างไกลความเครียดนั้น ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต แนะให้ใช้หลัก 5 วิธีที่ควรปฏิบัติ ได้แก่

แบ่งเวลาติดตามข่าวสารบ้านเมืองอย่างพอดี โดยการติดตามข่าวสารไม่ควรติดตามต่อเนื่องนานเกิน 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะจะทำให้เครียดมากขึ้น

ทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นปกติ หันเหความสนใจจากข่าวสารไปเรื่องอื่น ละเว้นการรับรู้ข่าวสารการเมืองบ้าง โดยหันไปทำหน้าที่ของตนเอง เรียนหนังสือ การทำงาน และการให้เวลากับครอบครัว

เคารพความคิดเห็นแบบประชาธิปไตยที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ โดยไม่ดูข่าวหรือรับข้อมูลข่าวสารเพียงด้านเดียว จะทำให้เกิดอารมณ์รุนแรง ควรเปิดกว้างและรับข้อมูลข่าวสารที่แตกต่าง

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งการพักผ่อนจะทำให้ความเครียดลดลง และ

การผ่อนคลายความเครียด เช่น การออกกำลังกาย ฝึกโยคะ ทำสมาธิ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฝึกหายใจคลายเครียด การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หากอาการยังไม่ดีขึ้น เช่น ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ มีความเครียดรุนแรง สามารถขอรับบริการปรึกษาที่สถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อหาทางแก้ไขที่เหมาะสม

แถลงการณ์ : การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในสถานการณ์ความขัดแย้ง

อิ่มบุญอิ่มใจเทศกาลกินเจมหากุศลยิ่งใหญ่ @ไอคอนสยาม

สำหรับเรื่องนี้ นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต เผยว่า ในปัจจุบันในโลกโซเชียลมีการรับรู้ข่าวสารได้รวดเร็ว และบางข่าวอาจทำให้เรามีอารมณ์ร่วม โดยบางคนอาจคิดว่าเรื่องราวที่เสพอยู่มีบางอย่างเหมือนตัวเอง พออ่านรู้สึกโกรธ เสียใจ หงุดหงิด จึงทำให้ผู้ที่เสพข่าวมีอารมณ์ร่วมกับข่าวนั้นๆ และติดตามข่าวนั้นไปเรื่อยจนสะสม

เมื่อเราอ่านหรือติดตามข่าวนานๆ อยู่ในโลกออนไลน์ 2-3ชั่วโมง แล้ววนอยู่อย่างนั้นซ้ำๆ อาจทำให้อารมณ์เรารุนแรงมากขึ้น มีการจิตนาการ และระแวง อาทิ ติดตามข่าวนอกใจ ตามอ่านคอมเม้นต์ ทำให้เกิดความวิตกกังวล และรู้สึกโกรธไปด้วย

อย่างแรกเลยให้เรารู้สึกตัวเองก่อนว่าติดตามข่าวนั้นมากเกินไป เมื่อเกิดความรู้สึกแบบนั้นขึ้นมา ต้องพยายามดึงตัวเองออกมาทันที โดยการหากิจกรรมอย่างอื่นทำ อาทิ ออกกำลังกาย ออกไปกินข้าวนอกบ้าน ไปดูหนังฟังเพลง เป็นต้น เพราะถ้าเราปล่อยให้ตัวเองติดตามข่าวมากเกินไปจะทำให้เราเกิดผลกระทบตามมา

ปัจจุบันหากใครที่เสพข่าวดราม่ามากเกินไป หรือรู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์ร่วมจนนอนไม่หลับ เครียด และหงุดหงิดง่าย สามารถเข้าไปปรึกษาจิตแพทย์ได้ หรือโทรที่หมายเลข 1323 ทั้งนี้ ปัจจุบันมีคนเข้ามาปรึกษาจำนวนมากขึ้น เพราะปัญหาและปัจจัยหลายๆ อย่าง

สุดท้ายอยากฝากว่าการรับรู้ข่าวสารเป็นเรื่องที่ดี แต่หากรับรู้มากเกินไปจะทำให้เกิดอารมณ์ร่วม ซึ่งข่าวบางข่าวอธิบายเหตุผลได้ไม่ครบ 100% เราจึงต้องมีสติ เพราะเรื่องราวที่เราได้รู้อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด เราเลือกที่จะไม่อินกับมันได้

20 October 2563

ที่มา โพสต์ทูเดย์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 2244

 

Preset Colors