02 149 5555 ถึง 60

 

“บัตรทอง” เสริมแกร่ง นิวนอร์มอลรับมือโรคภัยไข้เจ็บ

“บัตรทอง” เสริมแกร่ง นิวนอร์มอลรับมือโรคภัยไข้เจ็บ

ในปี 2558 ที่ประชุม “สมัชชาสหประชาชาติ” ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีตัวชี้วัดหนึ่ง คือการทำให้ทุกประเทศมีระบบสุขภาพที่เข้าถึงได้ และเป็นธรรมภายในปี 2573 โดยระบบ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เป็นเครื่องมือสำคัญในการพาไปถึงเป้าหมาย

นี่คือเป้าหมายที่ยากและใหญ่มาก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อย เช่น ในแอฟริกา หรือลาว คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำระบบได้ในทันทีทันใด...การทำหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในแต่ละประเทศ จึงอยู่ที่นิยามที่พวกเขาให้กับระบบ และความพร้อมด้านบริการสาธารณสุข

ควันหลงเลือกตั้งซ่อม ปชป.สิ้นมนตร์ขลัง ถูก "เขย่า" บัลลังก์ ปราการเหล็กสะเทือน

หวั่นตัดงบฯ บัตรทอง 1.8 พันล้านกระทบประชาชน "อนุทิน" ยันไม่ผลักภาระค่ารักษาพยาบาล

เปิดประเทศ

เช่น จะให้สิทธิประโยชน์ตอนเริ่มได้มากน้อยแค่ไหน มีความคุ้มค่าหรือไม่ ใช่ว่า...จะให้สิทธิประโยชน์ทุกอย่างได้ จำเป็นต้องเลือกสิ่งที่ทำได้และเหมาะสม

แอนน์ มิลส์ (Anne Mills) ศาสตราจารย์ด้านนโยบายและเศรษฐศาสตร์สุขภาพ และรองผู้อำนวยการ London School of Hygiene and Tropical Medicine วิทยาลัยภายใต้มหาวิทยาลัยลอนดอน ย้ำไว้ว่า

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอาจฟังดูทะเยอทะยานเกินไป แต่หากเรามีเป้าหมายเราก็จะมีหมุดหมายให้เดินไปข้างหน้า มันอาจจะดีที่เราทะเยอทะยานไว้ก่อน เพราะ...“ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไทย ช่วยจุดประกายให้ทุกประเทศเชื่อว่า...อะไรก็เป็นไปได้”

19 ปีแห่งพัฒนาการ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า...ตัวเลขรายจ่ายครัวเรือนด้านสุขภาพลดลงจากปี 2538 อยู่ที่ 44% เหลือ 11% ในปี 2560 ที่สำคัญตัวเลขครัวเรือนยากจนจากค่ารักษาพยาบาลก็ลดลงไปมากมายจากปี 2533 อยู่ที่ 2.5 แสนครัวเรือน ในปี 2560 ลดเหลือ 5.2 หมื่นครัวเรือน...ช่วงเวลา 7 ปี ลดลง 79.2%

พลิกแฟ้มพันธสัญญา “บัตรทอง 30 บาท” ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ 4 ปี ระยะที่ 1...2546-2550 โรดแม็ป “มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงด้วยความมั่นใจ” ความครอบคลุม มีส่วนร่วม หนุนเสริมจัดระบบบริการที่ประชาชนเข้าถึงได้สะดวก

ระะยะที่ 2...2551-2554 ความสุข “มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงด้วยความมั่นใจและผู้ให้บริการมีความสุข” เพิ่มประสิทธิภาพบริหารงบประมาณโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คุ้มครองสิทธิ พัฒนาระบบบริหาร สปสช.ให้เข้มแข็งมากขึ้น

ระยะที่ 3...2555-2559 มั่นใจ “ทุกคนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้วยความมั่นใจ” มุ่งสู่ความยั่งยืนของระบบ ครอบคลุมทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย มีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของ ระบบประกันสุขภาพภาครัฐสอดคล้องกลมกลืน สนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ

ระยะที่ 4...2560-2564 มั่นคง “ประชาชนเข้าถึงบริการการเงินการคลังมั่นคง ดำรงธรรมาภิบาล” พัฒนาระบบโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ มีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เป็นตัวแทนประชาชนจัดหาบริการคุณภาพ

เปิดวิสัยทัศน์ นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาฯสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแกะกล่องตอกย้ำ “สิทธิครอบคลุมถ้วนหน้า ไม่พาล้มละลาย ขยายสิทธิประโยชน์” เพิ่มจุดแข็งให้มากยิ่งขึ้น

ภายใต้...ยุทธศาสตร์ 1 สร้างความมั่นใจในการเข้าถึงบริการของกลุ่มเปราะบาง และกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการ ยุทธศาสตร์ 2 สร้างความมั่นใจในคุณภาพมาตรฐานและความเพียงพอของบริการ

ยุทธศาสตร์ 3 สร้างความมั่นใจในประสิทธิภาพการบริหารกองทุน ...ยุทธศาสตร์ 4 สร้างความมั่นใจในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน... ยุทธศาสตร์ 5 สร้างความมั่นใจในธรรมาภิบาล

ว่ากันถึงปัญหาอุปสรรค...ความท้าทาย โอกาส และอนาคตระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในอีก 4 ปีต่อจากนี้...ด้วยปัจจัยรอบด้าน เช่น ระบบสาธารณสุข Disruptive technology...เทคโนโลยี

นวัตกรรมที่เข้ามาสร้างตลาดและมูลค่า จนทำให้เกิดผลกระทบรุนแรง (กระทบของเดิม)

บรวมไปถึง...สภาพแวดล้อม โรคอุบัติใหม่ โรคระบาด เศรษฐกิจ สังคม การเมืองในประเทศ

นายแพทย์จเด็จ บอกว่า มุมแรกที่สำคัญที่สุดคือ “ประชาชน”...

ผู้มีสิทธิบัตรทอง โดยเฉพาะ กลุ่มเปราะบาง ที่ยังตกหล่น...มีข้อจำกัดในการใช้สิทธิ กลุ่มคนชั้นกลาง...ที่ยังไม่เชื่อมั่นระบบ...สังคมผู้สูงอายุ และภาวะพึ่งพิงและ บริการสำคัญที่ยังเข้าถึงน้อย โรคร้ายแรง ฯลฯ ต้องสามารถเข้าถึงสิทธิได้อย่างเต็มที่ที่สุด

มุมต่อมา...ระบบบริการ ที่สอดรับวิถีชีวิตใหม่...มียา เช่น การรักษา และเทคโนโลยีใหม่ๆ...มี ระบบการแพทย์ดิจิทัล...มี หน่วยบริการ แบบ ใหม่ๆหลากหลาย

มุมที่สาม...การบริหารจัดการองค์กร ก็สำคัญไม่แพ้ไปกว่ากัน นั่นก็คือ การบริหารจัดการโครงสร้างและกลไกภายในองค์กร ควบคู่ไปกับสภาพแวดล้อมการบริหารจัดการที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและตลอด เวลา...การตรวจสอบการเบิกจ่าย ที่ต้องตรวจจับได้ดีและรวดเร็วควบคู่ไปกับเบิกจ่ายถูกต้อง รวดเร็วกว่าเดิม

การทำงานกับคณะกรรมการกลไกอภิบาลต่างๆ, ความร่วมมือและความเชื่อถือไว้วางใจ, กติกาขั้นตอนการทำงานตามระบบคู่ไปกับการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายได้ทัน และการติดตามประเมินผลที่ต้องพัฒนาศักยภาพ การใช้ประโยชน์ข้อมูล...บิ๊กดาต้า (big data) เพื่อการเข้าถึงบริการอย่างมีประสิทธิผล

“สปสช.ต้องรู้บทบาทตัวเองว่าเป็นผู้สนับสนุนการเงินไปยังหน่วยบริการ จึงต้องวางกติการะบบกลไกการตรวจสอบที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะระบบตรวจสอบ ระบบบริหารการจ่ายปรับการเบิกจ่ายให้มีประสิทธิภาพ

ถูกต้อง ตรงเวลา ทบทวนกฎ ระเบียบ อะไรต้องทำ อะไรต้องปรับ ตัดสินใจเชิงนโยบายจากข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์...การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”

มุมที่สี่...การเงินการคลัง เป็นอีกหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อน งบประมาณด้านสุขภาพจะต้องสอดคล้องอย่างมากกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ต้องเคร่งครัดในเรื่องปลีกย่อยต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการจ่ายเงิน การควบคุมต้นทุน และประสิทธิภาพในการเบิกจ่าย

ทั้งนี้ทั้งนั้น “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” จะเดินหน้าไปได้อย่างไม่ติดขัด สะดุดล้ม จะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนอย่างที่สุดด้วยความจริงใจจริงๆ

ไล่เรียงมาตั้งแต่หน่วยบริการ...องค์กรวิชาชีพ, ประชาชนและเครือข่ายผู้ป่วย, รัฐบาลการเมือง ผู้ตัดสินใจนโยบาย, หน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ต่างๆ, นักวิชาการ, สาธารณะ

แน่นอนว่าเพื่อยกระดับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าการก่อร่างสร้างระบบให้แข็งแกร่งยิ่งๆขึ้นไปนี้จะต้องก้าวและเติบโตไปเรื่อยๆ คิดดี คิดได้ นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง...อย่างกลไกการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วม การตอบสนองเชิงรุก สนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิที่เน้นให้ประชาชนทุกคนมี... “แพทย์ประจำครอบครัว”

“เร่งรัดการปรับระบบที่ประชาชนยังเข้าไม่ถึงบริการ และหากดำเนินการไม่ดีจะทำให้ประชาชนต้องล้มละลายจากการเจ็บป่วย เช่น ระบบสร้างเสริมสุขภาพ...ป้องกันโรคสำหรับคนไทยทุกคน...โรคที่สำคัญ โรคที่เป็นปัญหาสุขภาพ...ทำให้เกิดภาวะล้มละลายจากการเจ็บป่วย” นายแพทย์จเด็จ ว่า

พร้อมทั้งเพิ่มความสะดวกในการรับบริการ ลดความแออัดของระบบบริการ...จัดกลไกการเงินการคลังรองรับประเภทบริการ ระบบบริการรูปแบบใหม่ๆ

ยุคนิวนอร์มอล...ชีวิตวิถีใหม่ โรคร้ายรุมเร้า ทั้งโรคทางกาย โรคทางใจที่กระทบแรงมาจากสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน “ระบบหลักประกันสุขภาพ” จะต้องพร้อมแบกรับกับปัญหาปัจจุบันและอนาคต “สิทธิครอบคลุมถ้วนหน้า ไม่พาล้มละลาย ขยายสิทธิประโยชน์”...ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง.

29 March 2564

ที่มา ไทยรัฐ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 1034

 

Preset Colors