02 149 5555 ถึง 60

 

ไม่พบเชื้อโควิด แต่ภูมิคุ้มกันลดแม้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม

ไม่พบเชื้อโควิด แต่ภูมิคุ้มกันลดแม้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม

ข่าวคนดัง ตามหัวข้อนี้ ชวนให้น่าคิดว่า แล้วระดับภูมิคุ้มกันที่ป้องกันติดเชื้อโควิดอย่างต่ำต้องเป็นเท่าใด

สดๆ ร้อนๆ งานวิจัยจากมูลนิธิบิลและเมอร์ลินด้า เกตส์ ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับภูมิคุ้มกันแบบเดียวกับที่คนดังเผยในข่าว(ภูมิคุ้มกันชนิด IgG) กับฤทธิ์ป้องกันการติดเชื้อ สำหรับวัคซีนโควิดเจ็ดชนิด (Pfizer, Moderna, Gamaleya, AstraZeneca, Sinovac, Novavax, Johnson & Johnson.) พบว่า ภูมิคุ้มกันชนิดนี้สัมพันธ์กับฤทธิ์ป้องกันจริง เช่นเดียวกันก็พบว่า ภูมิคุ้มกันชนิดสลายไวรัส (neutralizing antibody) ก็สัมพันธ์กับฤทธิ์ป้องกัน ทั้งนี้ อย่างที่ทราบกันทั่วไป ยี่ห้อวัคซีนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากสุด (ป้องกันได้ร้อยละเก้าสิบขึ้นไป) คือ สองยี่ห้อแรก ที่ได้น้อยที่สุดคือ ซิโนแวค (ป้องกันได้ร้อยละห้าสิบ)

ระดับภูมิคุ้มกัน IgG ของซิโนแวคที่ป้องกันได้ร้อยละห้าสิบนั้น โดยเฉลี่ยเท่ากับ หนึ่งพันหน่วย (ไตเตอร์) ในขณะที่ของสองยี่ห้อแรก ระดับภูมิคุ้มกันโดยเฉลี่ยประมาณ หนึ่งหมื่น (Pfizer) หรือกว่าหนึ่งแสนหน่วย (Moderna) AstraZeneca ตัวเลขคือ ระหว่างกว่าสองหมื่นถึงสามหมื่นหน่วยแต่ฤทธิ์ป้องกันอยู่ประมาณร้อยละหกสิบ

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่ชวนให้ยังน่าวิตกเกี่ยวกับฤทธิ์ป้องกันของวัคซีนทั้งหลาย ดังนี้

1. ในรายงานชิ้นนั้น สมการที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ดังกล่าวทำนายความจริงได้เพียงไม่ถึงครึ่ง โดยค่าความสัมพันธ์ระหว่างระดับภูมิคุ้มกันกับฤทธิ์ป้องกันก็อยู่ในขั้นปานกลาง (doi: https://doi.org/10.1016/j.vaccine.2021.05.063) 

2. วัคซีนเหล่านี้มุ่งกระตุ้นภูมิคุ้มกันผ่านการทำปฏิกิริยากับส่วนหนาม (spike protein) ของไวรัสโควิด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่า เป็นส่วนของไวรัสที่กลายพันธุ์ได้ง่าย ดังที่เป็นข่าวว่าสายพันธุ์แอฟริกา อังกฤษ อินเดีย โผล่ขึ้นมาเป็นระลอกตามหลังสายพันธุ์ที่มาจากอู่ฮั่น (https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0264410X21007647#s0020) 

3. แรงจูงใจในการพัฒนาวัคซีนโควิดโดยอาศัยกลไกอื่นยังไม่มากพอให้ภาครัฐในนานาประเทศสนใจลงทุนวิจัยและพัฒนา คงเนื่องจาก ยังหืดขึ้นคอไม่หายจากการเร่งฉีดวัคซีนเท่าที่พัฒนาขึ้นมาในขณะนี้ โดยหลายประเทศยากจนหรือรายได้ปานกลาง (รวมไทยแลนด์) ด้วยยังห่างไกลมากจากการระดมฉีดวัคซีนให้ถ้วนหน้า

 ดังนั้นเฉพาะหน้า มาตรการป้องกันโดยไม่อาศัยวัคซีนยังจำเป็นอยู่ ได้แก่ สวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง เฝ้าระวังการระบาด สอบสวนแหล่งระบาดเพื่อเข้าควบคุมอย่างทันการณ์ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลผู้สัมผัส ข้อมูลผลทดสอบการติดเชื้อ 

คำถามคือ การระบาดระลอกสอง สาม สี่ ที่เหมือนคลื่นกระทบเป็นระลอกต่อๆ กันมาอย่างรวดเร็วในไทยแลนด์ขณะนี้ บอกอะไรเกี่ยวกับสมรรถภาพของรัฐบาลในการรับมือกับการระบาดโดยอาศัยมาตรการทุกรูปแบบ  ผลกระทบทางเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยทั้งประเทศจากการรับมือของรัฐบาลจะซึมลึก แผ่ซ่านไปอีกแค่ไหน... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/853246

1 July 2564

ที่มา เดลินิวส์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 2490

 

Preset Colors