02 149 5555 ถึง 60

 

ถ้าเตียงไม่พอ ต้อง Home Isolation กักตัวอยู่บ้านควรทำอย่างไร?

ถ้าเตียงไม่พอ ต้อง Home Isolation กักตัวอยู่บ้านควรทำอย่างไร?

เช็กลิสต์คุณสมบัติผู้ป่วยที่สามารถ “กักตัวที่บ้าน” (Home Isolation) ได้ พร้อมแนวทางปฏิบัติตัวและไอเท็มจำเป็นที่ต้องมีไว้ใกล้ตัว

เปิดแนวทางใหม่กรณีระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือระหว่างรอครบกำหนด 14 วัน หรือหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลหรือสถานที่รัฐจัดให้

ผู้ป่วยโควิด-19 แบบไหนที่สามารถกักตัวที่บ้าน

ต้องเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อ “แต่ไม่แสดงอาการ” ถึงจะสามารถกักตัวรักษาตัวเองที่บ้านได้ (ทั้งนี้ ยังคงได้รับการรักษาและอยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และโรงพยาบาลอยู่)

คำนิยาม Home Isolation เป็นหนึ่งในแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 สำหรับ

1) ผู้ป่วยที่วินิจฉัยใหม่ตามเกณฑ์ระหว่างรอ admit โรงพยาบาล และแพทย์เห็นว่าสามารถดูแลรักษาที่บ้านระหว่างรอเตียงได้

2) ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ step down หลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือสถานที่รัฐจัดให้แล้วอย่างน้อย 10 วันและจำหน่ายกลับบ้านเพื่อรักษาต่อเนื่องที่บ้านโดยวิธี home isolation

ผู้ป่วยโควิด-19 ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ถึงจะสามารถกักตัวที่บ้าน

ต้องเป็นผู้ติดเชื้อที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ที่ไม่มีการแสดงอาการ และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปกติ

อยู่ที่บ้านคนเดียว หรือมีผู้พักร่วมไม่เกิน 1 คน

ไม่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน 90 กิโลกรัม

ไม่มีอาการป่วย หรือโรคที่เกี่ยวกับปอดหรือหัวใจ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์

ผู้ป่วยต้องยินยอมที่จะแยกตัวในที่พักของตนเองอย่างเคร่งครัด

ผู้ป่วยโควิด-19 ที่สามารถกักตัวที่บ้านได้ ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?

เพื่อให้ตนเองและครอบครัวได้รับความปลอดภัยต้องปฏิบัติตัวตามวิธีการดังต่อไปนี้

1. ไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมที่บ้านระหว่างแยกตัวและงดการออกจากบ้านในระหว่างแยกตัว

2. อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ หากยังมีอาการไอจาม ต้องสวมหน้ากากอนามัยแม้ขณะที่อยู่ในห้องส่วนตัว โดยแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัย ไม่ให้ใช้หน้ากากผ้า

3. หากจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างอย่างน้อย 1 เมตร หรือประมาณหนึ่งช่วงแขน หากไอจามไม่ควรเข้าใกล้ผู้อื่นหรืออยู่ห่างอย่างน้อย 2 เมตร และให้หันหน้าไปยังทิศทางตรงข้ามกับตำแหน่งที่มีผู้อื่นอยู่ด้วย

4. หากไอจามขณะที่สวมหน้ากากอนามัย ไม่ต้องเอามือมาปิดปากและไม่ต้องถอดหน้ากากอนามัยออก เนื่องจากมืออาจเปรอะเปื้อน หากไอจามขณะที่ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยให้ใช้ต้นแขนด้านในปิดปาก และจมูก

5. ถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ (หากมือเปรอะเปื้อนให้ล้างด้วยสบู่และน้ำ) โดยเฉพาะภายหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ขณะไอ จาม หรือหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ และก่อนสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้อื่นในบ้านใช้ร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได มือจับตู้เย็น ฯลฯ

6. กรณีที่เป็นมารดาให้นมบุตร ยังสามารถให้นมบุตรได้ เนื่องจากยังไม่มีรายงานพบเชื้อโควิด-19 ในน้ำนม แต่มารดาควรสวมหน้ากากอนามัยและล้างมืออย่างเคร่งครัดทุกครั้งก่อนสัมผัสหรือให้นมบุตร

7. ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน ให้ใช้เป็นคนสุดท้าย ให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ

8. การทำความสะอาดห้องน้ำและพื้นผิว ควรทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์หรือพื้นที่ที่อาจปนเปื้อนเสมหะน้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งด้วยน้ำและน้ำยาฟอกผ้าขาว 5%โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (เช่น ไฮเตอร์, คลอรอกซ์) โดยใช้ 5% โซเดียมโซเดียมไฮโปคลอไรท์น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน หรือ0.5% (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน ต่อน้ำ 9 ส่วน)

9. แยกสิ่งของส่วนตัวไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น จาน ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์

10. ไม่ร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น ควรให้ผู้อื่นจัดหาอาหารมาให้ แล้วแยกรับประทานคนเดียว ถ้าเป็นอาหารที่สั่งมา และต้องเป็นผู้รับอาหารนั้น ควรให้ผู้ส่งอาหารวางอาหารไว้ ณ จุดที่สะดวก แล้วไปนำอาหารเข้าบ้าน ไม่รับอาหารโดยตรงจากผู้ส่งอาหาร

11. ซักเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยน้ำ และสบู่หรือผงซักฟอกตามปกติ หากใช้เครื่องซักผ้า ให้ใช้ผงซักฟอก และ น้ำยาปรับผ้านุ่มได้

12.การทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วและขยะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งให้ใส่ถุงพลาสติก และปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งขยะที่ฝาปิดมิดชิด และทำความสะอาดมือ ด้วยแอลกอฮอล์ หรือน้ำและสบู่ทันที

เปิด 8 ไอเท็มที่ต้องมีเมื่อกักตัวอยู่บ้าน

1.เจลแอลกอฮอล์ ต้องเป็นเจลแอลกอฮอล์ที่มีแอลกอฮอล์ในระดับ ไม่เกิน 70% และควรพกติดตัวด้วย เพื่อให้มือมีความสะอาด ปราศจากเชื้อโรคตลอดเวลา

2.หน้ากากอนามัย เป็นไอเท็มที่ต้องมีติดตัวตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องออกไปเจอบุคคลอื่นๆ ที่ไม่รู้จักกัน หรือต้องออกไปข้างนอก

3.สบู่ล้างมือ (สบู่เหลว) การใช้สบู่โดยเฉพาะสบู่เหลวจะทำให้ผิวไม่แห้งเท่ากับสบู่ก้อน ซึ่งจะไม่ทำให้เราเกิดความระคายเคืองผิว

4.ทิชชู่เปียกฆ่าเชื้อโรค หากต้องเข้าห้องน้ำหรืออยู่ในที่สกปรก การมีทิชชู่เปียกในการใช้ช่วยทำความสะอาดจะทำให้เราไม่ต้องไปติดเชื้อโรคอื่นๆมาเพิ่มเติมในร่างกายเราได้

5.บรรจุภัณฑ์อาหาร ช้อนส้อม แก้ว หลอด (ส่วนตัว) บรรจุภัณฑ์อาหารก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรต้องแยกกันใช้ เพราะสารคัดหลั่งของผู้อื่นอาจปนเปื้อนบนอาหารหรือบริเวณโดยรอบได้เช่นกัน เพื่อสุขอนามัยของตนเองที่ดี ดังนั้นควรใช้ภาชนะและสิ่งของต่างๆ แยกกับผู้อื่น

6.ที่วัดอุณหภูมิ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรมีติดไว้ที่บ้านเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิร่างกายของตนเอง โดยแบบที่แนะนำ ควรเป็นเทอร์โมมิเตอร์แบบที่ไม่ต้องสัมผัสผิวหนัง หรือแบบยิงที่ตามสถานที่ให้บริการข้างนอกนิยมใช้

7.ถุงมือยาง หากต้องจับสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะในบ้านหรือข้างนอก เพื่อลดการเอาตัวเองไปเสี่ยง การใช้ถุงมือในการจับของถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดวิธีหนึ่งเช่นกัน

8.เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว โรคโควิดเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ การวัดค่าออกซิเจนในเลือด กรณีผู้ป่วยพบว่าตนเองมีค่าออกซิเจนในเลือดต่ำ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลว ต้องใส่ท่อช่วยหายใจได้ หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต เมื่อต้องกักตัวที่บ้าน การมีเครื่องตัวนี้ช่วยประเมินอาการความวิกฤตของตนเองอาจช่วยให้เราได้รับการรักษาเพื่อทำให้ร่างกายดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

7 July 2564

ที่มา โพสต์ทูเดย์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 1623

 

Preset Colors