02 149 5555 ถึง 60

 

สธ.ชี้โควิด-19 ในกทม.น่าห่วงมาก พบติดเชื้อในครอบครัว-ที่ทำงานมากขึ้น

สธ.ชี้โควิด-19 ในกทม.น่าห่วงมาก พบติดเชื้อในครอบครัว-ที่ทำงานมากขึ้น

7 ก.ค.64 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ใน กทม.ว่า ยอมรับว่าสถานการณ์หนักขึ้น โดยพบการติดเชื้อในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับที่ทำงาน เหตุเพราะความใกล้ชิดไว้ใจ ทำให้ไม่ได้มีการระมัดระวังตัวหรือป้องกันตนเอง ทั้งไม่สวมหน้ากากอนามัย รับประทานอาหารร่วมกัน ดังนั้น มาตรการส่วนบุคคลจึงสำคัญที่สุด การไม่สวมหน้ากากอนามัย โดยมีการพบปะพูดคุยเกิน 5 นาทีมีโอกาสติดเชื้อได้

เช่นเดียวกันการฉีดวัคซีนทุกชนิด ยังมีพบป้องกันโรคได้ แม้ไม่ 100% แต่ดีกว่าไม่ฉีด และในที่ทำงานควรงดรับประทานอาหารร่วมกัน ควรนั่งรับประทานลำพัง

นพ.โอภาส กล่าวว่า การเคร่งครัดมาตรการส่วนบุคคลนี้ หากทำได้อย่างเข้มงวดใน 2-3 สัปดาห์มีผลช่วยลดโรค เพราะระยะเวลาการฟักตัวของโรคยังเป็น 14 วัน ส่วนการแห่ตรวจเชื้อทันทีเมื่อเจอผู้ป่วยหรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ขอให้พิจารณาก่อนหากเดินผ่านไม่ติดกัน ยกเว้นพูดคุยรับประทานอาหารร่วมกัน เพราะเป็นช่วงที่เปิดหน้ากากอนามัย การกักตัวสังเกตอาการก็สำคัญ เช่นเดียวกับมาตรการส่วนบุคคล โรคจะลดได้ด้วยมาตรการส่วนบุคคลที่เคร่งครัด

นอกจากนี้ นพ.โอภาส ยังกล่าวถึงกรณีโซเชียลมีการติดแฮชแท็กทวงคืนวัคซีนโมเดอร์นา ประชาชนไม่ต้องจ่ายเงิน ว่า วัคซีน ชนิด m-RNA นั้น มี 2 ตัวคือโมเดอร์นาและ ไฟเซอร์ ซึ่งทั้ง 2 ยี่ห้อ มีประสิทธิภาพและผลข้างเคียงนั้น มีความใกล้เคียงกัน โดยล่าสุด ครม.ได้อนุมัติให้กรมควบคุมโรค (คร.) ลงนามในสัญญาซื้อไฟเซอร์ จำนวน 20 ล้านโดส และมีมติให้รับคำแนะนำของอัยการสูงสุดไปเจรจรากับบริษัทไฟเซอร์ ว่าสัญญาส่วนไหนที่จะสามารถปรับปรุงได้บ้าง ซึ่งกรมควบคุมโรคมีการนัดหมายกับไฟเซอร์พรุ่งนี้และจะลงนามสัญญาภายในสัปดาห์นี้ ส่วนกรณีที่สหรัฐฯ จะมีการบริจาคไฟเซอร์ให้ประเทศไทย 1.5 ล้านโดสนั้น มีการลงนามแล้ว เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (7ก.ค.) จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป โดยวัคซีนจะเข้าสู่ประเทศไทยเร็วๆ นี้

สำหรับกรณีที่มีรายงานประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวคป้องกันโรคต่ำที่สุด แต่ทำไมรัฐบาลจึงยังมีมติสั่งซื้อเข้ามาเพิ่ม นพ.โอกาส กล่าวว่า การใช้วัคซีนต้องมอง 2 ส่วน คือเรื่องประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ขณะนี้ประเทศไทยมีแผนการสั่งซื้อวัคซีนทั้งซิโนแวค แอสตราเซเนกาและไฟเซอร์ วันนี้มีการทบทวนข้อมูล ก็ต้องชี้แจงว่าประสิทธิภาพของวัคซีนจะมีการตรวจ คือ 1.เจาะเลือดตรวจดูว่าภูมิคุ้มกันขึ้นเป็นตัวเลขเท่าไหร่ 2.การทดสอบในมนุษย์จำนวนมาก แต่ในความเป็นจริง เวลาฉีดวัคซีนในแต่ละประเทศนั้น จะมีการทดสอบวัคประสิทธิภาพจากการใช้จริงว่าป้องกันโรคได้อย่างไร

"วัคซีนทั้ง 3 ตัวที่ประเทศไทยใช้และมีแผนนำมาใช้นั้น ไม่มีตัวใดป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้อยู่ บางตัวกันได้ 80% , 90% หรือ 60 % ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ยืนยันว่าทุกตัวที่เราเอามาใช้นั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ถ้าเทียบกับการไม่ฉีดวัคซีนเลยนั้นสามารถลดการติดเชื้อได้ ซึ่งวัคซีนทั้ง 3 ชนิด องค์การอนามัยโลกและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)รับรองแล้วว่า สามารถลดการป่วยหนัก ลดการนอนโรงพยาบาล ลดการใช้ไอซียูและสามารถป้องกันการเสียชีวิตได้เกือบ 90%"นพ.โอภาส กล่าว

นพ.โอภาส ยังกล่าวว่า จากการฉีดวัคซีนแอสตราฯในไทย กว่า 4 ล้านโดส ยังไม่พบปัญหาลิ่มเลือดอุดตันเหมือนที่พบในต่างประเทศ แต่ต้องติดตามข้อมูลอยู่ สำหรับซิโนแวคเป็นเทคโนโลยีเก่าผลข้างเคียงน้อยมากเห็นตรง กันว่าเทียบแล้วปลอดภัยที่สุด ส่วนไฟเซอร์หากติดตามข่าวจะมีข้อกังวลเล็กๆ กรณีที่ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา(CDC) พบอุบัติการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในคนหนุ่มอายุน้อยมากขึ้นโดยคาดว่าเกิดจากวัคซีน อย่างไรก็ตามทั้ง 3 ตัวเมื่อเทียบประสิทธิภาพ อาการข้างเคียง ความปลอดภัยกับประโยชน์และโทษนั้น พบว่าการฉีดวัคซีนมีประโยชน์มากกว่า วันนี้ประเทศไทยฉีดแล้ว 11 ล้านโดสก็จะเร่งดำเนินการฉีดต่อไป

8 July 2564

ที่มา แนวหน้า

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 1642

 

Preset Colors