02 149 5555 ถึง 60

 

อยู่กับ โควิด อย่างไรไม่ให้ จิตตก

อยู่กับ โควิด อย่างไรไม่ให้ จิตตก

“กรมสุขภาพจิต” แนะเคล็ดลับอยู่กับ “โควิด-19” อย่างไรให้ “สุขภาพจิต” ยังปัง ไม่พังไปเพราะความเครียดและวิตกกังวลจากสถานการณ์โรคระบาด

โควิด-19 ไม่ได้ทำลายเพียงสุขภาพของผู้ติดเชื้อเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ มากมาย อาทิ ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม รวมถึง สุขภาพจิต ได้ในระยะยาว

จากการสำรวจของ กรมสุขภาพจิต หัวข้อ “ความสุขของครัวเรือนไทยในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19” เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว พบว่า คน 48.87 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกมีความสุขมากที่ได้อยู่กับครอบครัว 54.13 เปอร์เซ็นต์ มีความเครียดในระดับปานกลาง ขณะที่ 20 เปอร์เซ็นต์ ตอบว่า ครอบครัวเครียดในระดับที่สูงถึงสูงมาก

และวิธีการเพื่อลดความเครียดในบ้าน พบว่า ส่วนมากมักลดความเครียดด้วยการพูดคุย ถามสารทุกข์สุขดิบกันบ่อยๆ 25.14 เปอร์เซ็นต์ และจากผลการสำรวจ การป้องกันตัวและความคิดเห็นของประชาชนไทย ในช่วงการแพร่ระบาดของ “โควิด-19” เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ร่วมกับสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้พูดคุยปรึกษาคนในครอบครัวหรือผู้ที่ท่านไว้วางใจเพื่อป้องกัน หรือบรรเทาความเครียดสูงถึง 52.3 เปอร์เซ็นต์

เราจึงมีเคล็ดไม่ลับที่จะทำให้ทุกคนดูแลรักษาจิตใจให้ยังอยู่ดี แม้จะต้อง Lockdown เรียนอยู่ที่บ้าน ทำงานอยู่ที่บ้าน ทำทุกอย่างอยู่ที่บ้าน

1.ถ้าต้องนั่งทำงาน หรือเรียนออนไลน์เป็นเวลานาน ควรลุกขึ้นยืดเหยียดกล้ามเนื้อทุกๆ 1 ชั่วโมง

2.ทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ ทำอาหาร เล่นดนตรี ออกกำลังกาย

3.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

4.เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น เรียนภาษา อบรมออนไลน์ อาชีพที่สนใจเพื่อสร้างรายได้

5.พูดคุย สื่อสารผ่านออนไลน์กับเพื่อน ครอบครัว จะทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และมีกำลังใจ

ด่วน! ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ตายยังเยอะ! พบเสียชีวิต 256 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 15,972 ราย ไม่รวม ATK อีก 2,028 ราย

'6.ติดตามข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ประกาศของรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

7.ช่วงที่เกิดความเครียดไม่ควรมีการตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ เพียงดูแลสุขภาพอย่าให้ติดเชื้อโรคโควิด-19

8.ตรวจสอบอาการทางร่างกาย จิตใจของตัวเอง และคนรอบข้างสม่ำเสมอ เฝ้าระวังอาการซึมเศร้า เช่น ท้อแท้ นอนไม่หลับ ทำร้ายตัวเอง ควรรีบปรึกษาแพทย์ หรือโทรหาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

...แล้วเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

30 August 2564

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 2407

 

Preset Colors