02 149 5555 ถึง 60

 

สธ.แนะทางรอดสู้โควิด-19 ช่วงน้ำท่วม ระวัง! คลัสเตอร์ศูนย์พักพิงน้ำท่วม

สธ.แนะทางรอดสู้โควิด-19 ช่วงน้ำท่วม ระวัง! คลัสเตอร์ศูนย์พักพิงน้ำท่วม

ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการกันโควิด-19 ขั้นสูงสุด แนะประชาชนในศูนย์พักพิงน้ำท่วม รับประทานอาหารกล่อง ต้องปรุงสุกใหม่กันบูดเสีย ต้องระวังการรวมกลุ่มของประชาชน อย่าให้เกิดความแออัด เตือนผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือมอบของบริจาคต่่างๆต้องเน้นเรื่องความสะอาดเป็นหลัก ต้องประเมิลตัวเองก่อนเข้าช่วยเหลือเพราะอาจเสี่ยงเกิดคลัสเตอร์ใหม่ในศูนย์พักพิงน้ำท่วม

28 ก.ย.64 ที่กระทรวงวาธารณสุข นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แถลงข่าวการปฏิบัติตัวช่วงน้ำท่วมกับการป้องกันโควิด-19 ว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ ในช่วงวันที่ 23-28 ก.ย.64 ทำให้เกิดน้ำท่วมใน 30 จังหวัด 145 อำเภอ 584 ตำบล 2,401 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล มีประชาชนได้รับผลกระทบมากกว่า 7 หมื่นครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 6 ราย สูญหาย 2 ราย ซึ่งจากสถานการณ์ในขณะนี้ขอให้พี่น้องประชาชน ต้องติดตามสถานการณ์ข่าวสารอย่างใกล้ชิด นำสิ่งของจำเป็นขึ้นที่สูง รถยนต์ควรย้ายไปจอดในที่สูงที่น้ำท่วมไม่ถึงทราบเส้นทางกรณีหากเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ต้องมีเบอร์โทรฉุกเฉินติดตัวไว้สม่ำเสมอ นอกจากนี้ควรเขียนจุดสังเกตไว้ที่เบรกเกอร์ควบคุมไฟฟ้าในบ้านไว้ รวมไปถึงหากเกิดน้ำท่วม ต้องปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านทันที-ระวังสัตว์อันตราย หลีกเลี่ยงสัมผัสกับน้ำท่วม เพราะเสี่ยงติดเชื้อโรคที่ไม่ใช่เชื้อโควิด-19 แต่เป็นเชื้อโรคชนิดอื่นที่อยู่ในน้ำ

ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมจะส่งผลกระทบต่อการระบาดโควิด-19หรือไม่ นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า ตอนนี้ข้อมูลที่เกิดอุทกภัย มีหลายจังหวัดที่ สถานการณ์ระบาดโควิด-19 ไม่มาก หรือรุนแรง มีบางจุดอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้น ในศูนย์พักพิงน้ำท่วม ต้องระวังการรวมกลุ่มของประชาชน อย่าให้เกิดความแออัด ขณะที่บุคคลภายนอก ที่เข้าไปช่วยเหลือ คนเข้าไปช่วยเอง ก็ต้องมีการประเมินตัวเอง หากพบว่าไม่สบาย มีอาการคล้ายโควิด-19 ก็ควรงดไม่ไปช่วยเหลือ จุดที่เป็นศูนย์พักพิงก็มีการเข้มมาตรการป้องกันโควิด-19 ควบคู่กันไปกับการปฏิบัติตามมาตรการด้านสุขอนามัยคนที่จะไปช่วยเหลือ จะต้องมีความเข้าใจ จุดที่เสี่ยง คือ เรื่องข้าวของ สิ่งของ ที่เรานำไปมอบให้ ต้องมีความสะอาดในระดับหนึ่ง ที่สำคัญ คือ เรื่องน้ำขวด พื้นผิวขวดน้ำควรสะอาดในระดับหนึ่ง ข้าวของไปบริจาคก็เช่นกัน

สำหรับเรื่องอาหารการกิน อย่างอาหารกล่อง ก็ควรปรุงสุกใหม่ และควรรับประทานในเวลาไม่เกิน 4 ชม. เพื่อป้องกันการบูดเสียง่าย ในศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วม สิ่งที่หลีกเลี่ยงยาก คือ ความแออัด ดังนั้น ต้องหมั่นล้างมือบ่อยๆ หากจำเป็นไปอยู่ใกล้กับผู้อื่น ต้องสวมหน้ากากอนามัย สม่ำเสมอ และหากพบว่าตนเองมีอาการคล้ายเป็นโควิด-19 ให้รีบแจ้งผู้ดูแลศูนย์พักพิง ทันที ก็จะทำให้เราปลอดภัย สุดท้ายสิ่งสำคัญ คือ ต้องดูแลสุขภาพร่างกายพร้อมกับสุขภาพจิตใจ เพราะเมื่อเราดูแลดี เมื่อน้ำท่วมผ่านพ้นไป เราก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้

29 September 2564

ที่มา สยามรัฐ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 2834

 

Preset Colors