02 149 5555 ถึง 60

 

รู้จักโควิดสายพันธุ์ "เดลตาพลัส" แพร่เชื้อเร็วขึ้น 10-15%

รู้จักโควิดสายพันธุ์ "เดลตาพลัส" แพร่เชื้อเร็วขึ้น 10-15%

เดลตาพลัส (Delta Plus) เป็นสายพันธุ์โควิดกลายพันธุ์ที่ระบาดในสหราชอาณาจักรร้อยละ 96 และเพิ่งพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดเดลตาพลัสในไทย วันนี้แถลงเจอในไทย 1 ราย เป็น ตำแหน่ง AY.1 ในขณะที่สายพันธุ์เดลต้าพลัสที่ระบาดในสหราชอาณาจักรเป็นตำแหน่ง AY.4.2 บนสายรหัสพันธุกรรมของสายพันธุ์เดลตา B.1.617.2 ในปี 2021 นี้อย่างรวดเร็ว โดยนักผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเผยว่า เดลตาพลัส ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์เดิม 10-15%

เดลตาพลัส Delta Plus ระบาดหนักในสหราชอาณาจักร

ปัจจุบันนี้สายพันธุ์โควิด-19 ที่เป็นปัญหาครอบคลุมทั้งโลกอยู่ คือสายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) ส่วนการกลายพันธุ์ที่เรียกว่าเดลตาพลัสนั้น พบเป็นตำแหน่งย่อยของ B.1.617.2 ศาสตราจารย์ Jeffrey Barrett ผู้อำนวยการโครงการ Covid-19 Genomics Initiative ที่ Wellcome Sanger Institute ในเคมบริดจ์ และ ศาสตราจารย์ Francois Balloux ผู้อำนวยการ University College London Genetics Institute เผยว่าจากการวิเคราะห์สายพันธุ์กลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง AY.4.2 แพร่เชื้อกว่าสายพันธุ์หลักถึง 10-15%

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกร่วมกันถอดรหัสพันธุกรรมโควิดที่กำลังระบาดอยู่ ผ่านระบบแชร์ข้อมูล GISAID กว่า 2 ล้านตัวอย่าง พบว่าเป็นโควิดกลายพันธุ์ “เดลตาพลัส” จำนวนร้อยละ 1.1 จากจำนวน 23,096 ตัวอย่าง

พิจารณาเฉพาะตัวอย่างเชื้อที่ส่งตรวจในประเทศอังกฤษ เฉพาะสัปดาห์ที่ 41 ของปี 2021 ก็พบว่าเป็นตำแหน่งกลายพันธุ์สายพันธุ์ AY.4.2 ถึงร้อยละ 11

เมื่อเทียบกับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์หลัก หรือสายพันธุ์อัลฟาที่พบการแพร่ระบาดในปี 2020 นั้นพบว่าโควิดกลายพันธุ์เดลตา B.1.617.2 แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟาถึงร้อยละ 60 ในขณะเดียวกัน ข้อมูลปี 2021 ก็พบว่าโควิดสายพันธุ์เดลตาพลัส AY.4.2 แพร่เชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์หลักถึง 10-15%

วัคซีนโควิดป้องกัน “เดลตาพลัส” ได้หรือไม่

สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (UKHSA) ปรับลำดับความสำคัญของสายพันธุ์เดลตาพลัส AY.4.2 มาอยู่ในระดับ Variants Under Investigation (VUI) หรือ สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าติดตามตรวจสอบ แต่ยังไม่จัดอยู่ในกลุ่มเชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ “Variants of Concern หรือ VOC” เพราะยังต้องติดตามอัตราการระบาด

จากการคำนวณทางระบาดวิทยา ณ ปัจจุบันนี้พบว่ายังไม่ส่งผลต่อวิธีการแพร่ระบาดเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตาที่เป็นสายพันธุ์หลักอยู่ในขณะนี้

สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกต้องติดตาม “เดลตาพลัส” เนื่องจากตำแหน่งที่กลายพันธุ์ มี 2 ตำแหน่ง (Double Mutation) เกิดขึ้นบนยีนควบคุมการสร้างหนามของไวรัส ซึ่งส่วนนี้เองทำให้ไวรัสสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าสายพันธุ์หลัก

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี วิเคราะห์ “โควิดเดลตาพลัส” ว่า คาดว่าเดลตาพลัสไม่น่ากังวลใจ วัคซีนเอาอยู่ เพราะตำแหน่งที่กลายพันธุ์นั้น ยังไม่กระทบกับโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของวัคซีนต่อภูมิคุ้มกันของมนุษย์

นอกจากนี้ทางศูนย์จีโนมรามาฯ ยังวิเคราะห์บทเรียนจากสหราชอาณาจักร ที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นสูงในรอบ 7 วัน คือ

1. ภูมิคุ้มกันวัคซีนที่ลดลง และการฉีดวัคซีนกระตุ้มเข็ม 3 (Booster Dose) ล่าช้า

2. การยกเลิกมาตรการสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม เกือบทั้งหมด โดยเฉพาะในโรงเรียน

อาการโควิดเดลตาพลัส

สายพันธุ์เดลตาพลัส ถือเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์เดลตา ดังนั้นอาการที่พบโดยมากจึงคล้ายคลึงกับสายพันธุ์หลัก โดยต้องอาศัยข้อมูลจำนวนที่มากขึ้นเพื่อสรุปอาการเดลตาพลัส อาการโควิดเดลตาส่วนใหญ่มีอาการดังนี้

1. ปวดศีรษะ

2. เจ็บคอ

3. มีน้ำมูก

4. ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส

5. มีอาการทั่วไปคล้ายไข้หวัดธรรมดา

สรุปคือไม่ว่าจะพบโควิดกลายพันธุ์ใหม่หรือไม่ การรับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ และยังคงมาตรการทางสาธารณสุข ยังเป็นสิ่งสำคัญที่มนุษยชาติต้องรักษาไว้ เพื่อป้องกันโรคโควิด-19.

27 October 2564

ที่มา ไทยรัฐ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 550

 

Preset Colors