02 149 5555 ถึง 60

 

เปิด 5 วิธี สอนลูกน้อยให้ระวังตัว ป้องกันสิทธิร่างกาย-ภัยคุกคามทางเพศ

เปิด 5 วิธี สอนลูกน้อยให้ระวังตัว ป้องกันสิทธิร่างกาย-ภัยคุกคามทางเพศ

พ่อแม่มักบอกลูกถึงวิธีการดูแลตัวเองให้ปลอดภัย ไม่ว่าจะมองทั้งสองทางเมื่อข้ามถนน คาดเข็มขัดนิรภัย อย่าเล่นกับเพื่อนริมถนน ทว่าหนึ่งในสิ่งสำคัญที่พูดยากแต่จำเป็นต้องสอนให้ลูกเรียนรู้วิธีการป้องกันตนเอง นั่นก็คือ ความปลอดภัยของร่างกาย

จากประเด็นร้อนในตอนนี้ เรื่องการแสดงออกด้วยความรักของคนในครอบครัว คนที่เด็กใกล้ชิดหรือไว้ใจ การสัมผัสตามร่างกายบางแห่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจ

ทวีตเดือดสนั่น #หนึ่งจักรวาล พุ่งอันดับ1 โดนขุดภาพอดีตยับ จวกถึง ภรรยา วอนลบ

หนุ่มวัย 36 พาแฟนสาว 12 ขวบ ซิ่งฝ่าไฟแดง ชนรถขยะดับคู่ ตรวจพบปืน-ยาบ้า

ซึ่งผู้ปกครองหนึ่งในสี่ของเด็กวัยประถมศึกษากล่าวว่า พวกเขาไม่ได้พูดถึงการสัมผัสที่ไม่เหมาะสม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ไม่ใกล้ชิด ลูกยังเด็กเกินไป ไม่อยากขู่ลูก และไม่รู้ว่าจะพูดคุยเรื่องนี้อย่างไร

ดังนั้น ทางทีมข่าวสดขอเสนอ 5 วิธีในการสอนลูกเกี่ยวกับตำแหน่งการสัมผัสที่ดีและตำแหน่งการสัมผัสที่ไม่เหมาะสมและไม่ควรให้ใครสัมผัส

1. สอนลูกให้ปกป้องสิทธิของร่างกายตัวเอง การพูดคุยเกี่ยวกับความปลอดภัยของร่างกายด้วยวิธีที่สามารถเข้าใจได้ง่าย สามารถเริ่มสอนได้ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ

โดยกล่าวกับลูกว่า นี่คือร่างกายของหนูและไม่มีใครได้รับอนุญาตให้แตะต้องร่างกายนี้ ไม่เว้นแต่ครอบครัว พ่อ และ แม่ เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถป้องกันตัว โต้ตอบ หรือแจ้งให้ผู้อื่นทราบทันที

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ต้องสอนเด็ก ๆ ก็คือ การเคารพสิทธิของผู้อื่น โดยไม่ควรมองหรือสัมผัสพื้นที่ส่วนตัวของใครก็ตาม

2. อย่าบังคับสัมผัสใด ๆ พ่อแม่ทุกคนควรนึกถึงสิทธิร่างกายของลูกเช่นกัน อย่าบังคับให้เด็กใช้ร่างกายในแบบที่ไม่ต้องการ แม้แต่การกอด จั๊กจี้ หรือหอมจากสมาชิกในครอบครัว เพื่อตอกย้ำความคิดอยู่เสมอว่าร่างกายของเด็ก ๆ เป็นของตัวเอง และเด็กมีสิทธิทุกอย่างที่จะปกป้องร่างกาย

3. สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักชื่ออวัยวะต่าง ๆ ที่ถูกต้อง โดยใช้ภาษาที่เหมาะสมและเข้าใจง่าย เพื่อป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งสามารถใช้กฎชุดว่ายน้ำ เพื่อช่วยให้เด็กสามารถเข้าใจว่าส่วนใดของร่างกายเป็นของสงวน ทั้งยังควรสอนเรื่องความแตกต่างระหว่าเพศชายและเพศหญิง

4. ตำแหน่งการสัมผัสที่ปลอดภัย เป็นวิธีการสัมผัสที่ช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัย รู้สึกว่าได้รับการดูแลเอาใจใส่ และมีความสำคัญ เช่น การตบหลัง การโอบไหล่ การกอด หรือสัมผัสของแพทย์เพื่อตรวจรักษาร่างกาย

5. การสัมผัสที่ไม่ปลอดภัย คือสัมผัสที่ทำร้ายร่างกายหรือความรู้สึกของเด็ก เช่น การตี การผลัก การบีบ การเตะ

อย่างไรก็ตาม การสัมผัสที่ไม่ต้องการ เป็นสัมผัสที่อาจปลอดภัยแต่เด็กไม่ต้องการจากบุคคลนั้น ดังนั้น ควรสอนให้เด็ก ๆ ปฏิเสธ แม้ว่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนก็ตาม

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญในการสอนลูกคือ ต้องไม่หัวเราะหรือดุ เป็นเรื่องปกติที่เด็ก ๆ จะมีคำถามที่อาจรู้สึกไร้สาระเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ หรือมีความอยากรู้อยากเห็นที่มากเกินไปสำหรับผู้ใหญ่ พยายามจำกัดปฏิกิริยาของตัวเอง พร้อมทั้งสนับสนุนตามความเป็นจริง

28 October 2564

ที่มา ข่าวสด

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 561

 

Preset Colors