02 149 5555 ถึง 60

 

อะไรที่เรารู้และยังไม่รู้เกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ โอไมครอน

อะไรที่เรารู้และยังไม่รู้ เกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ โอไมครอน

ข้อมูล ณ ปัจจุบัน เกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอน สายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวลล่าสุด ดูงานวิจัยที่มีอยู่ตอนนี้ ประสิทธิผลของวัคซีน พร้อมฟังข้อแนะนำเพื่อการดำเนินการในระดับประเทศ

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้สายพันธุ์ B.1.1.529 เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล และตั้งชื่อว่า โอไมครอน ตามคำแนะนำของคณะที่ปรึกษาด้านวิชาการของ องค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับวิวัฒนาการของไวรัส (Technical Advisory Group on Virus Evolution) การตัดสินใจนี้อิงตามข้อมูลและหลักฐานที่นำเสนอต่อคณะที่ปรึกษาฯ ว่า โอไมครอนมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งที่อาจส่งผลต่อพฤติกรรมของเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้ เช่น ความง่ายในการแพร่เชื้อ หรือความรุนแรงของโรคเป็นอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อมูลที่ทราบและมีอยู่ในปัจจุบัน

ข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์โอไมครอน ณ ปัจจุบัน

นักวิจัยในประเทศแอฟริกาใต้และทั่วโลกกำลังศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในแง่มุมต่าง ๆ ของสายพันธุ์โอไมครอน และจะเผยแพร่ผลการศึกษาเมื่อมีข้อมูลมากขึ้น

ความสามารถในการแพร่เชื้อ

ยังไม่ชัดเจนว่า สายพันธุ์โอไมครอนสามารถแพร่เชื้อได้ดีกว่าหรือไม่ (เช่น แพร่จากอีกคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ง่ายกว่า) เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงสายพันธุ์เดลตา ตอนนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสายพันธุ์นี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้ กำลังมีการศึกษาทางระบาดวิทยาเพื่อทำความเข้าใจว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อนี้เป็นเพราะสายพันธุ์โอไมครอน หรือปัจจัยอื่น ๆ

ความรุนแรงของโรค

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า การติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนจะทำให้อาการของโรคมีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อเทียบกับการติดเชื้อจากสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น เดลต้า ข้อมูลเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า มีอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น แต่นี่อาจเป็นเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อโดยรวมที่เพิ่มขึ้น มากกว่าเกิดจากการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนโดยตรง

ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ระบุว่า อาการที่เกิดจากการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนนั้นแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ มีรายงานการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนครั้งแรก ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มคนอายุน้อยที่มีแนวโน้มจะมีอาการเพียงเล็กน้อยอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามยังต้องใช้เวลาหลายวันถึงหลายสัปดาห์เพื่อทำความเข้าใจถึงความรุนแรงของสายพันธุ์โอไมครอน ไวรัสโควิด 19 ทุกสายพันธุ์ รวมถึงสายพันธุ์เดลตาที่แพร่หลายไปทั่วโลกในขณะนี้ สามารถทำให้เกิดการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มเปราะบาง ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นกุญแจสำคัญเสมอ

ประสิทธิผลของการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ก่อนหน้านี้

หลักฐานเบื้องต้นบ่งชี้ว่า ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อซ้ำโดยสายพันธุ์โอไมครอนมีมากขึ้น (กล่าวคือ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด 19 อาจติดเชื้อซ้ำจากสายพันธุ์โอไมครอนได้ง่ายขึ้น) เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ที่น่ากังวลสายพันธุ์อื่น แต่ขณะนี้ข้อมูลมีค่อนข้างจำกัด ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นนี้จะนำมาเผยแพร่เพิ่มอีกในไม่ช้า

ประประสิทธิผลของวัคซีน

องค์การอนามัยโลกและองค์กรภาคีกำลังทำงานร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ต่อมาตรการการรับมือที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงวัคซีน วัคซีนยังคงมีความสำคัญในการลดการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตจากสายพันธุ์ที่มีอยู่ตอนนี้ ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์เดลตา วัคซีนที่มีอยู่ตอนนี้ยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต

ประสิทธิผลของการตรวจทางห้องปฏิบัติการในปัจจุบัน

บางทีจีนอาจจะคิดถูกที่ปิดประเทศ

อินเดียเชื่อมั่นวัคซีนที่ผลิตเองสู้โอไมครอนได้

การตรวจโควิดแบบวิธีมาตรฐาน RT-PCR ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายยังคงตรวจหาการติดเชื้อได้ ทั้งการติดเชื้อจากสายพันธุ์โอไมครอนและสายพันธุ์อื่น ๆ กำลังมีการศึกษาว่าสายพันธุ์โอไมครอนมีผลอย่างไรต่อการตรวจทางห้องปฏิบัติการประเภทอื่น ๆ เช่น ชุดตรวจโควิด 19 แบบเร่งด่วน (Rapid Antigen Test)

ประสิทธิผลของการรักษาในปัจจุบัน

Corticosteroids และ IL6 Receptor Blockers จะยังคงมีประสิทธิภาพสำหรับการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในส่วนต่าง ๆ ของไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน การรักษาแบบอื่น ๆ จะได้รับการประเมินเพื่อดูว่ายังคงมีประสิทธิภาพเท่าเดิมหรือไม่

งานวิจัยที่มีอยู่ตอนนี้

ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกกำลังประสานงานกับนักวิจัยจำนวนมากทั่วโลกเพื่อทำความเข้าใจกับการติดเชื้อโควิด19 สายพันธุ์โอไมครอนให้ดีขึ้น มีการศึกษาที่เริ่มไปแล้ว และกำลังจะเริ่มเพื่อประเมินความสามารถในการแพร่เชื้อ ความรุนแรงของโรค (รวมถึงอาการ) ประสิทธิผลของวัคซีน การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาการติดเชื้อ และประสิทธิผลของการรักษา

องค์การอนามัยโลกสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลผู้ป่วยในโรงพยาบาลผ่านแพลตฟอร์มข้อมูลทางคลินิกโรคโควิด 19 ขององค์การอนามัยโลกเพื่อจะได้ข้อสรุปข้อมูลทางคลินิกและผลลัพธ์ของการรักษาโดยเร็ว

ข้อมูลเพิ่มเติมจะนำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ ซึ่งคณะที่ปรึกษาฯ ขององค์การอนามัยโลก จะติดตามและประเมินข้อมูลเหล่านี้ เพื่อประเมินว่าสายพันธุ์โอไมครอน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของไวรัสอย่างไร

ข้อแนะนำเพื่อการดำเนินการในระดับประเทศ

เนื่องจาก สายพันธุ์โอไมครอน ถูกกำหนดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลจึงมีการดำเนินการหลายอย่างที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศต่าง ๆ ดำเนินการ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังและการถอดรหัสพันธุกรรม และ การแบ่งปันข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมของผู้ป่วย บนฐานข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ เช่น GISAID รายงานการติดเชื้อครั้งแรกในผู้ป่วยหรือแบบกลุ่มก้อนต่อองค์การอนามัยโลก การสอบสวนโรคภาคสนามและการประเมินผลทางห้องปฏิบัติการเพื่อให้เข้าใจดีขึ้นว่า สายพันธุ์โอไมครอน มีลักษณะการแพร่เชื้อหรือลักษณะเฉพาะของโรคแตกต่างกันหรือไม่ หรือมีผลกระทบต่อประสิทธิผลของวัคซีน การรักษา การตรวจวินิจฉัย หรือมาตรการด้านสาธารณสุขและสังคม รายละเอียดเพิ่มเติมในประกาศเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน

ประเทศต่าง ๆ ควรคงมาตรการด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพต่อไปเพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยรวม โดยใช้การวิเคราะห์ความเสี่ยงและแนวทางทางวิทยาศาสตร์ ควรเพิ่มขีดความสามารถด้านสาธารณสุขและการแพทย์ เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญเร่งด่วนอย่างยิ่งคือการตอบสนองต่อความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด19 เพื่อให้แน่ใจว่ากลุ่มเสี่ยงในทุกแห่ง ทุกที่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้สูงอายุ ได้รับการฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และ เข็มที่ 2 ควบคู่ไปกับการเข้าถึงการรักษาและการตรวจวินิจฉัยที่เท่าเทียมกัน

ข้อแนะนำระดับบุคคล

สิ่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดที่บุคคลสามารถทำได้เพื่อลดการแพร่กระจายของไวรัสโควิด 19 คือการรักษาระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น สวมหน้ากากให้ถูกต้องและเหมาะสม เปิดหน้าต่างเพื่อให้เกิดการระบายอากาศ หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการระบายอากาศไม่ดีหรือมีผู้คนพลุกพล่าน ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ ไอหรือจามใส่ข้อข้อพับแขนด้านในหรือกระดาษทิชชู และรับการฉีดวัคซีนเมื่อถึงคิวของตนเอง

องค์การอนามัยโลก จะปรับปรุงข้อมูลเมื่อมีข้อมูลใหม่ ตลอดจนการประชุมของคณะที่ปรึกษาฯ ครั้งถัดไป และเผยแพร่ข้อมูลบนแพลตฟอร์มดิจิทัลและสื่อสังคมขององค์การอนามัยโลกต่อไป

2 December 2564

ที่มา โพสต์ทูเดย์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 374

 

Preset Colors