02 149 5555 ถึง 60

 

เอาแล้วไง! WHO ชี้ โอมิครอน ก่ออาการรุนแรงน้อยกว่า เดลตา แต่ไม่ถึงขั้น เบา

เอาแล้วไง! WHO ชี้ โอมิครอน ก่ออาการรุนแรงน้อยกว่า เดลตา แต่ไม่ถึงขั้น เบา

ตัวกลายพันธุ์โอมิครอนของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ดูเหมือนจะก่ออาการเจ็บป่วยรุนแรงน้อยกว่าตัวกลายพันธุ์เดลตาที่ครองโลกอยู่ในปัจจุบัน แต่ไม่ควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ "ก่ออาการเบา' จากคำกล่าวของเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกในวันพฤหัสบดี (6 ม.ค.)

จาเน็ต ดิอาซ หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการทางคลินิกขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า จากผลการศึกษาในเบื้องต้น พบว่า ตัวกลายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งพบครั้งแรกในภูมิภาคทางใต้ของทวีปแอฟริกาและฮ่องกง ก่อความเสี่ยงเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยลงเมื่อเทียบกับตัวกลายพันธุ์เดลตา

นอกจากนี้ มันยังดูเหมือนก่อความเสี่ยงอาการรุนแรงลดน้อยลงทั้งในกลุ่มคนอายุน้อยและคนชรา ตามคำกล่าวของ ดิอาซ ระหว่างแถลงสรุปกับสื่อมวลชน จากสำนักงานใหญ่ขององค์การอนามัยโลกในเจนีวา

ความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ลดลงของการติดเชื้ออาการรุนแรง สอดคล้องกับข้อมูลอื่นๆ ก่อนหน้านี้ ในนั้นรวมถึงผลการศึกษาต่างๆ จากแอฟริกาใต้และอังกฤษ แม้เธอยังไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นผลการศึกษา หรืออายุของเคสผู้ติดเชื้อที่นำมาวิเคราะห์

ผลกระทบที่มีต่อกลุ่มคนชราคือหนึ่งในคำถามสำคัญที่ยังไม่ได้รับคำตอบเกี่ยวกับตัวกลายพันธุ์โอมิครอน ในขณะที่เคสผู้ติดเชื้อต่างๆ ในผลการศึกษา จนถึงตอนนี้เกือบทั้งหมดยังเป็นกลุ่มคนหนุ่มสาว

"แม้ดูเหมือนโอมิครอนจะก่ออาการรุนแรงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเดลตา โดยเฉพาะในคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่ามันควรถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่อาการเบา" ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวระหว่างการแถลงสรุปเดียวกันในเจนีวา "เหมือนกับตัวกลายพันธุ์ต่างๆ ก่อนหน้านี้ โอมิครอนทำให้ผู้คนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและมันเข่นฆ่าชีวิตผู้คน"

เขาเตือนเกี่ยวกับ "คลื่นสึนามิเคสผู้ติดเชื้อ" จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งโหมกระพือโดยทั้งตัวกลายพันธุ์โอมิครอนและเดลตา จะทำให้ระบบสาธารณสุขแบกรับไม่ไหว และรัฐบาลประเทศต่างๆ จะประสบปัญหาในการควบคุมไวรัส ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 5.8 ล้านราย

เทดรอส ยังเน้นย้ำเสียงเรียกร้องของเขาที่ร้องขอความเท่าเทียมทั่วโลก ในด้านการกระจายและเข้าถึงวัคซีนโควิด-19

บนพื้นฐานของอัตราการกระจายวัคซีนในปัจจุบัน มีถึง 109 ประเทศที่จะพลาดเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก สำหรับฉีดวัคซีนครบเข็มแก่ประชากรโลกให้ได้ 70% ในเดือนกรกฎาคม ในขณะที่เป้าหมายดังกล่าวถูกมองในฐานะตัวช่วงหยุดระยะเฉียบพลันของโรคระบาดใหญ่ "เข็มกระตุ้นเข็มแล้วเข็มเล่าในไม่กี่ประเทศจะไม่ยุติโรคระบาดใหญ่ ในขณะที่อีกหลายพันล้านคนยังไม่ได้รับการปกป้องอย่างสมบูรณ์" เขากล่าว

บรูซ เอลวาร์ด ที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า มีอยู่ 36 ชาติที่กระทั่งฉีดวัคซีนยังไม่ครอบคลุมถึง 10% ของประชากร และในบรรดาผู้ติดเชื้ออาการรุนแรงทั่วโลก มีถึง 80% เป็นคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน

ในรายงานด้านโรคระบาดวิทยารายสัปดาห์ที่รายงานในวันพฤหัสบดี (6 ม.ค.) องค์การอนามัยโลกระบุว่า ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 มกราคม เคสผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 71% หรือ 9.5 ล้านคน จากหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านั้น แต่ยอดผู้เสียชีวิตลดลง 10% หรือ 41,000 คน

7 January 2565

ที่มา เดลินิวส์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 309

 

Preset Colors