02 149 5555 ถึง 60

 

แอลกฮฮอล์อันตรายมากกว่ากัญชา!!

แอลกฮฮอล์อันตรายมากกว่ากัญชา!!

มีการพูดคุยกันเป็นวงกว้างในขณะนี้ ถึงทิศทางแนวนโยบายยาเสพติดที่เกิดขึ้นในโลก อย่างสหรัฐ อังกฤษ และอีกหลายประเทศ ที่ได้ประกาศสงครามกับยาเสพติด (The Wars on Drugs) ตั้งแต่ช่วงปี 1800s โดยที่สหรัฐทำสงครามกับโคเคนในปี 1800 เพิ่มฝิ่นและมอร์ฟีนในปี 1890 จัดยาเสพติดให้เป็นสารผิดกฎหมายแบ่งเป็น 5 กลุ่มประเภทตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และศักยภาพที่ทำให้เสพติดตั้งแต่ปี 1970s เป็นต้นมา

ทั้งนี้ที่ผ่านมา การแก้ปัญหามุ่งเป้าไปที่เพื่อจัดการกับปัญหายาเสพติดอันตรายที่สุด อย่างเฮโรอีน โคเคน ยาบ้า หรือแม้แต่กัญชา ฯลฯ แต่กลับมองข้ามปัญหาของแอลกอฮอล์ แถมยังถูกจัดให้อยู่ในประเภทถูกกฎหมายไม่ใช่สารเสพติด โดยไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ แต่ทำให้ผู้เสพที่มีภาวะเสพติดแอลกอฮอล์เรื้อรัง และสร้างภาระอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ที่สำคัญคือสามารถให้ประชาชนทั่วโลกเข้าถึงได้เป็นวงกว้างและง่ายดาย แต่ในขณะที่กัญชาหรือแอมเฟตามีน ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ กลับเป็นยาเสพติดที่ผิดกฎหมายร้ายแรง

อะไร? คือตัวปัญหา หรือ ถึงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลง

คงจะถึงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลง ในทิศทางนโยบายด้านยาเสพติดในยุคศตวรรษที่ 20-21 แล้ว หลังจากการพบพยานหลักฐานที่สำคัญที่สุดในแง่มุมทางการแพทย์จากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้จากผลการศึกษาของ ดร.เดวิท นัธท์ (ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและเภสัชวิทยา (Nero-pharmacologist) และอดีตที่ปรึกษาด้านนโยบายยาเสพติดของรัฐบาลอังกฤษ และนายกสมาคมประสาทวิทยาเภสัชศาสตร์ แห่งกลุ่มประเทศยูโรโซน) และคณะ ได้ศึกษาวิจัยและเผยแพร่ตีพิมพ์ใน The Lancet ในปี 2010 โดยจัดอันดับอันตรายของยาเสพติดใหม่ ซึ่งประเมินจากความสองความเสี่ยงที่สำคัญสองประการคือ ความเสี่ยงต่อบุคคล (Harm to users) และความเสี่ยงต่อบุคคลอื่น (Harm to others)

มีผลทำให้เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เป็นสารอันตรายที่สุดอันดับหนึ่ง มีค่าคะแนนความเสี่ยงต่อผู้ใช้สูงกว่าโคเคน แต่ความเสี่ยงต่อคนอื่นสูงที่สุด และส่งผลให้คะแนนรวมความเสี่ยงอันตรายสูงสุด รองลงไปได้แก่ เฮโรอีน โคเคนผลึก และเมทแอมเฟตามีน ตามลำดับ โดยมีบุหรี่อยู่ในอันดับ 6 และกัญชาอยู่ในอันดับ 8 จากการจัดอันดับ 20 อันดับยาอันตราย อย่างมีนัยสำคัญ (The Lancet 2010) การศึกษานี้เป็นที่สนใจของสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อใหญ่อย่าง วอชิงตันโพสท์ เดอะการ์เดียน นิวพับพลิก และวอกซ์ นอกจากนี้ ผลการศึกษา ได้เปิดเผยผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อการทำลายสมองจากภาพสแกนเอ็มอาร์ไอ เช่นเดียวกับสารเสพติดอันตรายร้ายแรงตัวอื่นๆ อาทิ เฮโรอีน โคเคนผลึก เมทแอมเฟตามีน

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยชาญด้านนโยบายยาเสพติด โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่เป็นผู้นำในด้านการจัดลำดับประเภทอันตรายของยาเสพติด ตั้งแต่ประกาศสงครามยาเสพติดในช่วงทศวรรษ 1800s ที่ผ่านมา ไม่ได้ออกมาคัดค้านผลการศึกษาของ ดร.เดวิด นัธท์ แต่อย่างใด ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาทางสมองและเภสัชวิทยาที่มีประสบการณ์ด้านยาเสพติดในยุคหลังนี้ เขาได้วิพากย์การศึกษาในอดีตที่ผ่านมาว่า การจัดอันดับให้อันตรายของแอลกอฮอล์อยู่ในอันดับต่ำกว่ายาเสพติดอย่างเช่น เฮโรอีน โคเคนผลึก เมทแอมเฟตามีน และโคเคนผง เป็นข้อบกพร่องอย่างมาก เป็นการศึกษาผลกระทบที่ขาดความสมบูรณ์ทางวิชาการ เรื่องนี้เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งในหมู่นักวิชาการผู้เกี่ยวข้องพอสมควร เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด การประเมินความเสี่ยงของยาเสพติด มีความซับซ้อนมากกว่าจะประเมินเป็นตัวเลขจากอันดับและกลุ่มประเภทยาเสพติดแบบเดิมๆ ซึ่งการวิเคราะห์ของ ดร.เดวิด นัธท์ ใช้มาตรการผลกระทบจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการจัดประเมินความเสี่ยงของสารเสพติดในสหราชอาณาจักร โดยได้นำเสนอผลกระทบที่เป็นความเสี่ยงต่อบุคคลและความเสี่ยงต่อสังคมโดยรวม มองภาพในทุกองคาพยพ อาทิเช่น การพึ่งพายาเสพติดของบุคคล ความทุกข์ยากของครอบครัวที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน สภาพแวดล้อม ผลกระทบจากปัญหาอาชญากรรม เศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น จึงทำให้มองเห็นภาพชัดเจนของอันตรายจากแอลกอฮอล์ มีมากกว่ายาเสพติดร้ายแรงประเภทเฮโรอีน มอร์ฟีน แอมเฟตามีน และยาเสพติดผิดกฎหมายตัวอื่นๆ

อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงนี้ ในประเทศไทยไม่ได้ถูกมองข้ามแต่อย่างใด ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทั้งองค์กรสาธารณะกุศลและรัฐบาล ได้มีความพยายามปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายยาเสพติด ให้สอดคล้องกับผลการศึกษาวิชาการและทิศทางของโลกในยุคปัจจุบัน....ที่เห็นได้ชัดเจน คือ การออกมารณรงค์ให้เห็นถึงภัยร้ายของแอลกอฮอล์อย่างเป็นระบบ การปรับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การปรับทิศทางการแก้ปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2560 บนพื้นฐานข้อมูลทางวิชาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่สมดุลเหมาะสม โดยโครงการกำลังใจในพระดำริฯ ที่เป็นผลจากปัญหาอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย จนเกิดภาวะคนล้นคุกจากคดียาเสพติดโดยเฉพาะยาแอมเฟตามีน ซึ่งจะส่งผลทำให้ระบบการแก้ปัญหาทั้งระบบไม่บิดเบี้ยวไปด้านหนึ่งด้านใด จนกลายเป็นการสร้างปัญหาในระบบอื่นๆอย่างในอดีตที่ผ่านมา เหล่านี้ล้วนเป็นหนทางสว่างในปลายอุโมงค์ให้เดินก้าวไปอย่างมั่นคง ยั่งยืน......

แหล่งข้อมูล

1. Drug dependence Scientific Committee, based on analysis of UK drug use. The Lancet, 2010.

2. How scientists rank drugs from most to least dangerous and why the rankings are flawed: https://www.vox.com/2015/2/24/. 12 มิ.ย. 61.

22 June 2561

By Mongkol N.

Views, 9238

 

Preset Colors