02 149 5555 ถึง 60

 

ปล่อยให้หิว เคล็ดลับชลอวัย ทำให้อายุยืน

“ยิ่งหิวยิ่งสุขภาพดี” กุญแจที่ช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้คือ “ยีนที่ช่วยให้รอดชีวิต”

ทำไมคนญี่ปุ่นถึงมีผิวพรรณและสุขภาพดี พบเคล็ดลับส่งตรงจากแพทย์ชื่อดังชาวญี่ปุ่น “แค่ปล่อยให้ท้องหิวมากกว่าอิ่ม เท่านั้นเอง”

การกินอาหารวันละ 3 มื้อนั้น เป็นเรื่องปกติ นี่เป็นความคิดของทุกคนที่อาศัยอยู่บนโลกนี้โดยปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ แต่ถ้าหากมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ตลอด 170,000 ปีที่ผ่านมานับแต่บรรพบุรุษของมนุษย์ปรากฏตัวขึ้นบนโลก จะพบว่ามนุษย์นั้นพึ่งได้กินอิ่มครบสามมื้อไม่มีกี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้เอง มองย้อนอดีตเราเริ่มกินอาหารได้ตามเวลาที่แน่นอนหลังจากเริ่มมีวัฒนธรรมปลูกข้าว ในประเทศจีนเริ่มปลูกข้าวได้ 2.000 ปีก่อนคริสตการ หรือ 4,000 ปีมานี้ แต่ตลอด 166.000 ปีก่อนหน้านั้นเป็นยุคของวัฒนธรรมการล่าสัตว์ ถ้าล่าไม่ได้ก็อดกินไปหลายวัน ไม่แปลกใจอะไรที่มนุษย์บนโลกนี้จะมีความเชื่อว่า “การกินอาหารให้เพียงพอคือเคล็ดลับของการมีสุขภาพดี

ความอดอยาก ภัยพิบัติทางธรรมชาติและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศนับครั้งไม่ถ้วน ทำให้มนุษย์ต้องต่อสู้กับความอดอยากอยู่เสมอมาจนถึงปัจจุบัน เรื่องนี้คงไม่ได้กล่าวเกินจริงใช่ไหมคะ

ความอดอยากคือ “ภาวะที่ไม่สามารถรักษาน้ำหนักตัวขั้นต่ำให้เหมาะกับส่วนสูงได้ และได้รับจำนวนแคลอรีที่จำเป็นไม่เพียงพอต่อการประกอบกิจกรรมในระดับเบาๆในชีวิตประจำวันได้” ยังมีผู้คนจำนวนมากในโลกเช่น อาฟริกา เอเชีย ขาดแคลนอาหารแม้จำนวนขั้นต่ำที่สุดที่จำเป็นต่อร่างกาย

ในร่างกายคนเรานั้นมีสิ่งมหัศจรรย์ที่สามารถทำให้รอดชีวิตเมื่อต้องเผชิญกับความอดอยากคือ “ยีนที่ช่วยให้รอดชีวิต” ซึ่งยีนช่วยให้รอดชีวิตนี้ไม่ได้มีเพียงยีนเดียว ยังมียีนจำนวนมากที่ถูกทำให้เตรียมพร้อม เช่น “ยีนอดอยาก” ซึ่งจะเอาชนะความอดอยาก “ยีนต่ออายุขัย” ซึ่งจะช่วยให้รอดชีวิตเมื่อเผชิญภาวะอดอยาก “ยีนเจริญพันธุ์” ซึ่งจะทำให้อัตราการเกิดเพิ่มขึ้นเมื่อเผชิญความอดอยาก “ยีนภูมคุ้มกัน” ที่จะเอาชนะโรคติดต่อ “ยีนต้านมะเร็ง” ที่จะต่อสู้กับโรคมะเร็ง และ “ยีนฟื้นฟู” ที่จะชะลอความชราและรักษาอาการป่วย

แต่ที่ยุ่งยากคือ ถ้าไม่ได้เผชิญกับภาวะอดอยากหรือความเหน็บหนาว ยีนที่จะช่วยให้รอดชีวิตก็จะไม่ทำงาน ยิ่งไปกว่านั้น การกินอย่างอิ่มหนำสำราญกลับทำให้ร่างกายแก่ชรา อัตราการเกิดลดลง และภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง

เหตุผลที่ดื่มน้ำแล้วยังอ้วน

บางคนพอลดน้ำหนักไม่สำเร็จก็พูดแก้ตัวติดตลกว่า เพราะสภาพร่างกายของฉัน แค่ดื่มน้ำก็ยังอ้วน ถึงแม้การดื่มน้ำแล้วทำให้อ้วนนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่จะว่าไปแล้วคำพูดนั้นก็คาดเดาลักษณะเฉพาะของมนุษย์ได้ถูกเผง

ในตอนที่รอดชีวิตจากยุคของความอดอยากซึ่งกินระยะเวลาของประวัติศาสตร์มนุษยชาติไปกว่าครึ่ง บรรพบุรุษของพวกเราได้รับยีนที่จะพยายามดูดซึมสารอาหารให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จากการกินเพียงน้อยนิด ยีนดังกล่าวถูกเรียกว่า ยีนอดอยาก ซึ่งเป็นหนึ่งใน ยีนที่ให้รอดชีวิต

ถึงแม้ว่าตอนนี้จะยังมีของกิน แต่ก็ไม่รู้จะหามาได้เมื่อไร ดังนั้น แม้ได้กินเพียงเล็กน้อย ร่างกายก็ไม่ยอมพลาดโอกาสที่จะเปลี่ยนให้มันเป็นไขมันเก็บสะสมเอาไว้

ใช่แล้วค่ะ กินแค่นิดหน่อยร่างกายของพวกเราก็อ้วนแล้ว ไม่เช่นนั้นบรรพบุรุษของพวกเราก็คงไม่สามารถเอาตัวรอดมาได้ในยามที่ต้องต่อสู้กับความอดอยาก ดังนั้น สภาพร่างกายที่อ้วนขึ้นแม้จะกินอาหารพียงเล็กน้อยจึงเป็นผลมาจากวิวัฒนาการของมนุษยชาติ

ยีนอดอยาก แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามันเปลี่ยนอาหารเป็นไขมันแล้วเก็บสะสมเอาไว้อย่างมีประสิทธิภาพบางครั้งจึงเรียกว่า ยีนอดออม

นักกินจุบางคนที่เห็นในโทรทัศน์มีรูปร่างผอมและกินเท่าไรก็ไม่อ้วน เนื่องจากขาดยีนอดอยาก แต่กรณีนี้หายาก ถ้าต้องเผชิญกับความอดอยากก็คงล้มตายเป็นแน่

โดยปกติแล้วธรรมชาติจะจัดสรรให้เรามีไขมันในช่องท้องเท่ากับปริมาณอาหารที่กินเข้าไป ซึ่งช่วยให้มนุษยชาติอยู่รอดมาได้กว่า 170.000ปีค่ะ

ยีนเซอร์ทูอิน (Sirtuin) ช่วยฟื้นฟูเชลล์

ยีนอดอยาก ทำหน้าที่ได้หลายอย่างเพื่อให้อวัยวะสามารถมีชีวิตอยู่ เก็บสะสมพลังงานให้มากที่สุดได้จากอาหารเพียงเล็กน้อย จึงอาจกล่าวได้ว่า มันเป็นยีนอนุรักษ์พลังงาน แล้วยังมีอีกหนึ่งยีนที่สำคัญที่อยู่คู่กับยีนอดอยากนี้ ซึ่งจะทำหน้าที่รักษาชีวิตของมนุษยชาติให้คงอยู่ ยีนนั้นก็คือ ยีนอายุขัย (ทำให้อายุยืน) ซึ่งเริ่มถูกจับตามองเมื่อไม่นานมานี้ และมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ยีนเชอร์ทูอิน (Sirtuin) คิดว่าหลายๆคนคงจะเคยได้ยินชื่อ เพราะแม้แต่ในโทรทัศน์ก็ยังพูดถึง เดิมที่การค้นพบดังกล่าว มีสาเหตุจากสมมุติฐานที่ว่า ยิ่งเราหิว ความสามารถในการอยู่รอดก็ยิ่งทำงานและทำให้เรากลับเป็นหนุ่มสาวอีกครั้ง (Watroba M & Szukiewicz D, 2016)

เช่นเดียวกับที่เห็นได้จาก การอดอาหาร ในศาสนาพุทธ และ การถือศีลอด ของศาสนาอิสลาม มีงานวิจัยว่า การกินแต่น้อยจะทำให้อายุยืนกว่าการกินอย่างอิ่มหนำสำราญ จากการทดลองในสัตว์หลากหลายชนิด เช่น ลิง หนู ฯลฯ พบว่า เมื่อลดปริมาณอาหารลง 40 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้อายุยืนเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยจะมีอายุขัยเพิ่มขึ้น 1.4-1.6 เท่า ไม่เพียงเท่านั้น สัตว์ที่กินอย่างอิ่มหนำ ขนจะร่วง ผิวหนังหย่อนคล้อย และแก่ลง แต่สัตว์ที่ถูกจำกัดอาหาร จะมีขนเงางามและผิวหนังเต่งตึงขึ้น ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า หากสิ่งมีชีวิตเผชิญกับภาวะอดอยาก อาจมียีนบางตัวซึ่งทำงานเพื่อการรักษาชีวิต ซึ่งการศึกษาวิจัยในช่องหลังๆก็พบว่ายีนตัวนั้นคือ ยีนเซอร์ทูอิน

เมื่อศึกษาวิจัยมากขึ้นก็ปรากฏแน่ชัดว่า เมื่อเราหิวยีนนี้ก็จะสแกนยีนทั้งหมดที่อยู่ในเชลล์ จำนวนกว่า 50 ล้านล้านเชลล์ภายในร่างกายมนุษย์แล้วช่วยฟื้นฟูที่เสียหายหรือสึกหรอ ไม่ใช่แค่อายุขัยเท่านั้น เพราะยังพบอีกว่ามันเกี่ยงข้องกัน การยับยั้งความแก่และความเจ็บป่วย ด้วยการค้นพบยีนเชอร์ทูอิน นี้ทำให้พวกเราสามารถยึดชีวิตออกไปได้ และมันถูกยกมากล่าวถึงเป็นอันดับแรกในบรรดายีนที่ช่วยให้รอดชีวิตทั้งหลาย ที่ทำให้มนุษยชาติมีอายุยืนขึ้น (Guarente L, 2011)

ยีนเซอร์ทูอิน นั้นแน่นอนอยู่แล้วว่าเป็นยีนที่ช่วยให้เรามีชีวิตรอด แต่ระหว่างที่ค้นคว้าเกี่ยวกับ ยีนที่ช่วยให้รอดชีวิต เช่น ยีนอดอยาก ซึ่งกล่าวไปแล้วข้างต้นยีนเจริญพันธ์ ยีนภูมิคุ้มกัน ยีนฟื้นฟู ซึ่งจะทำให้ ยีนที่ช่วยให้รอดชีวิตทำงานจะช่วยให้เราอายุยืนและมีสุขภาพดี และ ยีนที่ช่วยให้รอดชีวิต นี้จะปรากฏขึ้นเฉพาะ ตอนอดอยากเท่านั้น

เรื่องนี้ได้กลายมาเป็นข้อมูลพื้นฐานของวิธีรักษาสุขภาพด้วยการกินอาหารวันละมื้อ ซึ่งเป็นประเด็นหลักของบทความเรื่องนี้ค่ะ

เหตุผลที่มีการห้ามมาตั้งแต่สมัยโบราณว่าอย่ากินจนอิ่มด้วยการสอนว่า เคล็ดลับของการมีสุขภาพดีคือกินให้อิ่มประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์นั้น เป็นการบอกแบบอ้อมๆให้ใส่ใจวิถีชีวิตที่จะทำให้ยีนดังกล่าวนี้ปรากฏตัวอย่างชัดเจนนั่นเอง

แหล่งข้อมูล

1. Guarente L. Sirtuins: aging, and metabolism; Adv Med Sci. 2016 Mar;61(1):52-62.https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22114328

2. Watroba M & Szukiewicz D. The role of sirtuins in aging and age-related diseases; https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26521204

3. โยชิโนะ นะงุโมะ. ยิ่งหิวยิ่งสุขภาพดี: สำนักพิมพ์วีเลิร์น; พิมพ์ครั้งที่ 1 2012, หน้า30-35.

4 July 2561

By nitayaporn.m

Views, 41859

 

Preset Colors