02 149 5555 ถึง 60

 

1-7 พฤศจิกายน 2562 สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ

1-7 พฤศจิกายน 2562 สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 1-7 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ในปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ ภายใต้แนวคิด “เครียดได้ คลายเป็น เล่นเกมแต่พอดี” เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนจากโรคติดเกม (Gaming disorder) องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช มีผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพ ครอบครัว การศึกษา การงานอาชีพ และ สังคม โดยทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของความเจ็บป่วยทางจิตจากพฤติกรรมเสพติดเกมนับพันล้านคน สำหรับประเทศไทย คาดการณ์มีเด็กติดเกมและมีปัญหาเสี่ยงต่อการติดเกม ประมาณ 2 ล้านคน

พร้อมประกาศเจตนารมณ์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม เครือข่ายสุขภาพ เครือข่ายเด็กและเยาวชน สภาวิชาชีพ ราชวิทยาลัย และโรงเรียนแพทย์ 84 องค์กร ในการคุ้มครองเด็กและเยาวชน ป้องกัน และแก้ไขปัญหาติดเกมอย่างเป็นรูปธรรม

ประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนมาตรการเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน ป้องกันและแก้ไขปัญหาติดเกม 4 ข้อ ได้แก่

1. ป้องกันและควบคุมการบริโภคเกมที่มีผลต่อสมอง พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน

2. สนับสนุนให้มีมาตรการกำกับดูแลการแข่งขันวีดีโอเกม และ E-SPORT ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม

3. สร้างความตระหนักถึงผลเสียและเรียนรู้การใช้อย่างเหมาะสมแก่เด็ก ครอบครัว และครู

4. สร้างระบบเฝ้าระวังและช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาให้เข้าถึงบริการได้อย่างครอบคลุม ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กและเยาวชนไทยเติบโตเป็นคนไทย 4.0 ที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศและดูแลสังคมต่อไป

ปัญหาเด็กติดเกมส์

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้ให้รายละเอียดว่า ปัญหาพฤติกรรมเสพติดเกม เป็นปัญหาจิตเวชเด็กและวัยรุ่นที่พบบ่อย ในอายุระหว่าง 6 - 18 ปี มีความสัมพันธ์กับชนิดของเกมประเภทต่อสู้ออนไลน์แบบมีผู้ลงแข่งเป็นทีมเป็นหลัก และเกิดโรคร่วมทางจิตเวช เช่น โรคสมาธิสั้น วิตกกังวล ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน โรคติดสารเสพติด โรคจิต และโรคลมชัก โดยเฉลี่ยเด็กและวัยรุ่นจะใช้เวลาเล่นเกมนาน 5 ชม.ต่อวันและเล่นเกมแข่งขันต่อสู้ออนไลน์ 1 - 4 เกมสลับกันไป ซึ่งเกินระดับความปลอดภัยในการเล่นเกม 9 ชั่วโมง /ต่อสัปดาห์ เด็กมักแสดงอาการหงุดหงิด ก้าวร้าวเมื่อให้เลิกเล่น และมักไม่ทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตนเองซึ่งเกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ ปัญหาการเรียน สอบตก ไม่ยอมไปโรงเรียน ซ้ำชั้น เรียนไม่จบ จากการเล่นนานเกิน 4 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป พฤติกรรมเสี่ยงเรื่องเพศ ผ่านการแชทในห้องเกม ปัญหาการเติมเงิน การซื้อขายและการพนัน พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา เช่น การด่าทอด้วยภาษาหยาบคาย พฤติกรรมก้าวร้าวทางกาย เช่น การทุบตีคนอื่น อาละวาดทำลายของ คุกคามคนใกล้ชิด รังแกกันทางสื่อสังคมออนไลน์ ใช้สารเสพติด ฆ่าตัวตาย พฤติกรรมการกระทำความผิด ลักขโมยเงิน ย่องเบา เพื่อให้ได้ smartphone การข่มขู่เพื่อให้ได้เงินและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในวัยรุ่น เป็นต้น

นายแพทย์กิตกวี โพธิ์โน ผอ. รพ.จิตเวชนครพนมราชนครินทร์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า " โรคติดเกม " (Gaming Disorder) คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการเสพติดในทางสมอง มีลักษณะคล้ายการติดสารเสพติด เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาสมอง พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเล่นเกมทางอินเทอร์เน็ต โดยสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้

1. ใช้เวลาเล่นเกมนานเกินไป

2. ขาดการควบคุมตนเองในการใช้ชีวิตปกติ เช่น การกิน การนอน

3. เสียหน้าที่การเรียนและการงาน

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ โรคติดเกม เป็นหนึ่งโรคทางจิตเวช เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาสมอง พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็ก

การป้องกันการติดเกม

ครอบครัวมีส่วนสำคัญในการวางกรอบกติการ่วมกัน กำหนดเวลา ลักษณะเกม และร่วมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว อีกทั้งผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้มีวินัยแนวทาง

ไม่ปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เล่นไอแพด ไอโฟน แทนการเลี้ยงดูและการได้รับการกระตุ้นพัฒนาการจากพ่อแม่

หากท่านผู้อ่านสงสัยว่าบุคคลในครอบครัวจะมีปัญหาติดเกมส์หรือไม่ ลองทำแบบทดสอบออนไลน์ และหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้จากเวปป์ไซท์สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต ได้ตามลิงก์นี้ค่ะ https://www.thaiteentraining.com/index.php

1 November 2561

By DMH Staffs

Views, 5263

 

Preset Colors