02 149 5555 ถึง 60

 

นักดื่ม เสี่ยงมะเร็งเต้านมหรือมีประโยชน์ (บ้าง)

นักดื่ม เสี่ยงมะเร็งเต้านมหรือมีประโยชน์ (บ้าง)

วันนี้สำหรับประเทศไทย คือวันลอยกระทง (ตรงกับวันที่ 22 พฤศจิกายน หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) ตามความเชื่อคนโบราณที่มีความผูกพันธ์กับน้ำ อันเป็นแหล่งทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพ ถือเป็นวันขอขมาแม่คงคา / ปลดปล่อยความทุกข์ให้ลอยไปตามแม่คงคา / หรือเพื่อขอพร แต่สำหรับบางท่านอาจจะถือโอกาสดื่มสังสรรค์กับเพื่อนเพื่อหวังปลดปล่อยความเหนื่อยล้าจากการทำงาน เพื่อหวังแสวงหาความสุขสนุกสนาน หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ตลอดระยะเวลากว่าหมื่นปีแล้วที่มนุษย์รู้จักและผลิตเครื่องดื่มที่ทำการหมัก จะด้วยกรรมวีธีผลิตแบบใดก็ตาม ยังเป็นที่ถกเถียงถึงผลของเครื่องดื่มดังกล่าวว่า จริงๆแล้วแอลกอฮอล์นั้นดีต่อมนุษย์เราหรือไม่

การที่จะกล่าวว่า การดื่มแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัย หรือในขนาดที่เป็นพิษต่อร่างกาย ยังมีข้อสรุปความเห็นที่แตกต่างกัน ที่ทำให้คนเดินดินธรรมดาอย่างเราๆท่านๆทั้งหลายได้งงพอสมควรค่ะ บ้างก็ว่า การดื่มในขนาดปลานกลางดีต่อหัวใจ ระบบหลอดเลือด และอาจจะสามารถช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes type 2) และรวมไปถึงป้องกันโรคนิ่วได้

ส่วนการดื่มหนัก เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐ การดื่มหนักอาจเป็นอันตรายต่อตับและหัวใจ มีผลต่อเด็กในครรภ์ เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งอื่นๆ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า และปัญหาความรุนแรง หรือแม้กระทั่งสร้างปัญหาในความสัมพันธ์ในครอบครัวได้

เราจึงเห็นข้อมูลแอลกอฮอล์แบบมีสองหน้าตลอดเวลา อย่าได้แปลกใจค่ะ สารที่ออกฤทธิ์ที่อยู่ในเครื่องดื่มแอล์กอฮอล์ เป็นโมเลกุลธรรมดาที่เรียกกว่า เอธานอล มีผลต่อร่างกายในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น ผลโดยตรงต่อกระเพาะอาหาร สมอง หัวใจ ถึงน้ำดี และตับ มันทำให้ระดับไขมัน ไม่ว่าจะเป็นระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์) และอินซูลินในเลือด รวมไปถึงการอักเสบและการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้จะมีผลต่ออารมณ์ สมาธิ สติของมนุษย์เราอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ดื่มปานกลางคือเท่าไร

ปัจจุบันมีการใช้คำว่า ปริมาณแอลกอฮอล์ในระดับการดื่มปานกลาง (Moderate Alcohol drinking) หรือ ดื่ม 1 แก้ว ( a drink) นั้นมีการให้ความหมายว่าอย่างไรที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ในการศึกษาวิจัยบางการศึกษาให้คำจำกัดความว่า ดื่มปานกลาง หมายถึงน้อยกว่า 1 แก้วต่อวัน(1) ในขณะที่บางรายงานก็บอกกว่าหมายถึง 3-4 แก้วต่อวัน สิ่งที่ถือว่าเป็นเครื่องดื่ม หมายถึงของเหลว ในความเป็นจริงแล้วแม้แต่ในหมู่นักวิจัยเองเครื่องดื่มแอลกอออล์ไม่มีคำจำกัดความของเครื่องดื่มมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป(2) ในขณะที่สหรัฐนั้น คำว่าเครื่องดื่ม 1 แก้ว มักจะหมายถึงเบียร์ขนาด 12 ออนซ์ หรือไวน์ 5 ออนซ์ หรือสุรา 1.5 ออนซ์ (เหล้า เช่น จิน หรือ วิสกี้)(3) แต่ละเครื่องดื่มมีแอลกอออล์เฉลี่ย 12-14 กรัม แต่มีความแตกต่างในระดับไมโครเมื่อพูดถึงแอลกอฮอล์ในไวน์

ไวน์แดงเป็นอย่างไร

ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำว่าไวน์แดงทำให้เกิดความแตกต่าง แต่ในรายงานการวิจัยอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าเครื่องดื่มมีผลน้อยมากต่อประโยชน์ของระบบหัวใจและหลอดเลือด

ดื่มเท่าไรมีผลดีต่อสุขภาพ

มีคำแนะนำล่าสุดจากหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างองค์การอนามัยโลกกล่าวว่า การดื่มที่ปลอดภัยและมีผลต่อสุขภาพคือ 1-2 แก้วดื่มต่อวัน สำหรับเพศชาย ส่วนในเพศหญิงไม่ควรเกิน 1 แก้วดื่มใน 1 วัน(3)

ด้านมืดของแอลกอฮอล์

ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสามารถหยุดดื่มได้เมื่อมีความเสี่ยง ในขณะที่บางคนก็มมองการดื่มที่ปลอดภัยเป็นการดื่มเพื่อสุขภาพ แต่บางคนไม่คิดเช่นนั้น

การดื่มหนักเป็นสาเหตุนำไปสู่การเสียชีวิต เพราะแอลกอฮอล์มันตัวการทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะสำคัญดังเช่น ตับ นำไปสู่ปัญหาตับแข็ง หรือแม้แต่การส่งผลร้ายแรงต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงการเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งในหลายๆชนิด เมื่อเร็วๆสถาบันวิจัยมะเร็งสหรัฐ (American institute for cancer research) ระบุว่ามีหลักฐานที่น่าถือเชื่อมโยงแอลกอฮอล์กับการเกิดมะเร็งในช่องปาก หลอดลม หลอดอาหาร เต้านม ตับ ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก(4) องค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็งได้ข้อสรุปว่า ทั้งแอทธานอลในแอลกอฮอล์และ acetaldehyde ซึ่งเป็นสารเคมีที่เกิดจากการสลายตัวของเอธานอลเป็นสารก่อมระเร็งต่อมนุษย์ในปริมาณสุง(5) ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ดื่มที่สูบบุหรี่หรือมีภาวะทุภโภชนาการ

ปัญหาการดื่มเหล้ายังกระทบครอบครัว เพื่อน ชุมชนของผู้ดื่ม

- ปี 2014 ประชาชนอเมริกันกว่า 61 ล้านคนถูกจัดว่าเป็นผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ดื่ม 5 แก้วดื่ม หรือมากกว่า อย่างน้อยเดือนละครั้ง) และ 16 ล้านคน เป็นผู้ดื่มหนัก คือ ดื่มมากกว่า 5 แก้วดื่มในหนึ่งเดือน(6)

- แอลกอฮอล์มีบทบาทสูงถึงหนึ่งในสามกรณีการเกิดอาชญากรรมรุนแรง(7)

- ในปี 2015 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทีมีแอลกอฮอล์มาเกี่ยวข้องมากกว่า 10,000 คนในสหรัฐ(8)

- ค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงแอลกอฮอล์ของประชากรโลกมีมูลค่ากว่า 249 พันล้านเหรียญต่อปี(9)

- การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แอลกอฮอล์สามารถรบกวนการนอนหลับและมีผลต่อการตัดสินใจของคนเรา แอลกอฮอล์มีปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบที่อาจเป็นอันตรายต่อยาหลายชนิดรวมทั้งยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด และยาระงับประสาทนอกจากนี้ยังเสพติดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคพิษสุราเรื้อรัง

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

มีหลักฐานที่น่าเชื่อว่าการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมและยิ่งบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเท่าใดก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น[10-14]

จากการทบทวนการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้หญิงจำนวน 88,084 รายและชายจำนวน 47,881 คน ในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา พบว่า แม้ว่าจะดื่มเพียง 1 แก้วดื่ม ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ (ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก ช่องปาก ตับ หลอดอาหาร ฯลฯ) ในเพศชาย ขณะที่ในผู้หญิงส่วนใหญ่พบเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะในหมู่ผู้สูบบุหรี่ที่แม้ว่าจะดื่มเพียง 1 ถึง 2 แก้วดื่มต่อวัน สำหรับผู้ชายที่ไม่สูบบุหรี่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งดังกล่าวที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(15)

นักวิจัยพบว่าการดื่ม 2-5 แก้วต่อวันเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งเต้านมถึง 41% ซึ่งไม่สำคัญว่ารูปแบบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเป็นชนิดใด อาทิเช่น ไวน์ เบียร์ หรือสุรา ซึ่ง 40% ของผู้หญิงที่ดื่ม 2-5 แก้วดื่มต่อวัน จะมีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้น โดยมีทุกๆ 13 คนใน 100 ที่เป็นเพศหญิงทั่วไป ที่ร่างกายกำลังค่อยๆพัฒนาความเสี่ยง อันนำไปสู่ มะเร็งเต้านมในช่วงการดำเนินชีวิตแต่ละปี ในขณะที่ประชากรสหรัฐเพศหญิงจะพบความเสี่ยง 17 ถึง 18 คนในทุก 100 คนที่กำลังดำเนินชีวิตตนเองไปสู่ความเสี่ยงการเป็นมะเร็งนี้เช่นเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญในแต่ละปี (10)

โฟเลทกับแอลกอฮอล์และมะเร็งเต้านม

ปัญหาการขาดได้รับโฟเลทไม่เพียงพอในอาหาร เป็นปัญหาเสี่ยงนำไปสู่มะเร็งเต้านมของเพศหญิง เนื่องจากว่าการโฟเลท เป็นสาระสำคัญในการสร้างเซลล์ป้องกันมะเร็ง ดังนั้น การขาดโฟเลทอันมีสาเหตุจากการดื่มหนัก จึงเป็นตัวการสำคัญให้การเปลี่ยนแปลงในยีนที่จะนำไปสู่การเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นตัวกระตุ้นสำคัญต่อกระบวนการเกิดมะเร็งเต้านมในเพศหญิง การขาดโฟเลทจากการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งร่างกายมีความต้องการอย่างน้อย 400 ไมโครกรัมต่อวัน เพียงเราดื่ม 1 แก้วดื่มต่อวันก็สามารถนำร่างกายไปสู่ความเสี่ยงดังที่กล่าวมาได้แล้ว(16,17)

โดยสรุป ความจริงที่เราไม่อามองข้ามได้คือ การดื่มแอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อมนุษย์เราทั้งเพศชายและหญิง นอกจากปัญหาที่เรารู้ๆกันดีคือพิษต่อตับ สมอง หัวใจ ระบบหลอดเลือด มะเร็งในทางเดินอาหารแล้ว สิ่งที่หลายคนอาจคาดไม่ถึงนั่นคือ การดื่มแอลกอฮอล์ แม้จะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นการดื่มเพื่อสุขภาพหรือดื่มอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะดังตัวอย่าง 1 แก้วดื่ม ก็นำร่างกายโดยเฉพาะเพศหญิงไปสู่ความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมอย่างมากแล้วค่ะ นอกจากความเสี่ยงในฐานะที่เกิดเป็นเพศหญิงแล้ว หากเป็นนักดื่มด้วย

จึงมีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เป็นข้อมูลอัพเดทอันหนึ่งที่สำคัญ นำมาบอกกล่าวโดยเฉพาะสำหรับท่านที่อาศัยวันลอยกระทงนี้เป็นวันแห่งการดื่ม (อีกหนึ่งวัน) นำมาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาว่าจะปฏิบัติต่อไปอย่างไรนะคะ

แหล่งข้อมูลและอ้างอิง

https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/healthy-drinks/drinks-to-consume-in-moderation/alcohol-full-story/

22 November 2561

By nitayaporn.m

Views, 8122

 

Preset Colors