02 149 5555 ถึง 60

 

Beware of evening stress

Beware of evening stress

ผลการวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ที่เผยแพร่ใน ScienceDaily เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 สองวันที่ผ่านมานี้เองค่ะว่า การเผชิญภาวะเครียดในช่วงเวาลาเย็น ร่างกายมีการปลดปล่อยฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมาทางร่างกายน้อยกว่าการเผชิญเหตุการณ์ในช่วงเวลาเช้า

ซึ่งเป็นที่มาของการพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์ฉบับนี้ว่า ให้ตระหนักปัญหาความเครียดในช่วงเย็นเข้าไว้ เรามาติดตามดูค่ะว่าข้อมูลวิทยาศาสตร์ล่าสุดที่ศึกษามามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ศึกษาไว้เป็นข้อมูลประดับ (สมอง) บ้างก็คงไม่เสียหลายนะคะ

ผลการศึกษาดังกล่าวได้รับการตีพิพม์ในวารสาร Neuropsychopharmacology Reports โดยนักวิจัยชื่อ ศจ.นายแพทย์ยูจิโร ยามานากะ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการศึกษาอาสาสมัครที่มีสุขภาพแข็งแรงและอยู่ในวัยหนุ่มสาว จำนวน 27 ราย ที่อยู่ในช่วงวันทำงานและมีสุขภาพการนอนเป็นปกตินิสัย ผลการศึกษาพบว่า การทำงานของระบบ hypothalamus-pituitary-adrenal (หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ แกน HPA ซึ่งเป็นส่วนหลักส่วนหนึ่งของระบบประสาทต่อมไร้ท่อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย โดยเฉพาะส่วนที่ตอบสนองต่อปฏิกิริยาความเครียด รวมถึงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบการย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน อารมณ์ ความรู้สึกทางเพศ การเก็บและใช้พลังงานของร่างกาย เป็นต้น) ตอบสนองต่อระบบปฏิกิริยาทางร่างกายและจิตใจ ตามช่วงเวลาในแต่ละวันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

ดังที่กล่าวมาข้างต้น แกน HPA เชื่อมต่อกับระบบประสาทส่วนกลางและระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดหลายตัว หนึ่งในนั้นคือ คอร์ติซอล ซึ่งถือเป็นฮอร์โมนหลักที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของร่างกายมนุษย์ โดยที่เมื่อแกน HPA ถูกกระตุ้นจากเหตุการณ์ที่เครียด จะทำให้ปฏิกิริยาของร่างกายที่เป็นเสมือนนาฬิกาในสมองมีปฏิกิริยาตอบสนองแตกต่างกัน

วิธีการศึกษาและวัดระดับฮอร์โมน ทีมผู้วิจัยได้แบ่งอาสาสมัครเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกวัดระดับคอร์ติซอลในน้ำลาย ในเวลาเช้าสองชั่วโมงหลังจากตื่นนอนปกติ และอีกกลุ่มหนึ่งวัดระดับคอร์ติซอลในช่วงเวลาสิบชั่วโมงหลังตื่นตอนปกติ ทั้งนี้ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมกลุ่มตัวอย่างผ่านกล้องและการทำแบบทดสอบความเครียด (Stress test) นักวิจัยพบว่า ระดับคอร์ติซอลในน้ำลายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มอาสาสมัครที่ตื่นนอนปกติในช่วงเช้า นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้ให้กลุ่มอาสาสมัครทำแบบทดสอบความเครียด การวัดการเต้นของหัวใจ และการทำงานของระบบประสามอัตโนมัติส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น อัตราการเต้นหัวใจ เป็นต้น ซึ่งผลการศึกษาไม่พบความแตกต่างกัน ซึ่งหัวหน้าทีมวิจัย นายแพทย์ยามานากะ กล่าวว่า ร่างกายตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ทำให้เครียด ด้วยการกระตุ้นทั้งต่อแกน HPA และระบบประสารทอัตโนมัติ sympathetic nervous system โดยปฏิกิริยาทั้งหมดนี้จะเกิดในช่วงเช้า แต่ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองกระตุ้นต่อระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic nervous system เพียงอย่างเดียวในช่วงเย็นเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามหัวหน้าทีมวิจัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยด้านการตอบสนองทางชีววิทยา ที่เป็นเสมือนนาฬิการ่างกายในสมองเมื่อเผชิญกับภาวะเครียด ซึ่งถือเป็นกลไกการป้องกันตนเองของร่างกายแต่ละคนโดยทั่วไปนั้น อาจมีปัจจัยอื่นๆมาเกี่ยวข้องได้ด้วย

Beware of evening stress โดยสรุป

ร่างกายมนุษย์เรามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการเกิดฮอร์โมนแห่งความเครียดแตกต่างกันตามช่วงเวลาในแต่ละวัน โดยมีผลต่อการป้องกันตนเองของร่างกายเมื่อเผชิญกับภาวะเครียดที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติในเวลาเช้ามีมากกว่าเย็นอย่างมีนัยสำคัญ

ถ้าร่างกายมีปฏิกิริยาอัตโนมัติตอบสนองต่อภาวะเครียดโดยเฉพาะในช่วงเย็นต่ำนั้น ส่งผลให้การป้องกันตนเองของร่างกายมนุษย์เราอ่อนแอลง เราจำเป็นต้องมีความตระหนักเพิ่มมากขึ้นว่าจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆของร่างกายขาดสมดุลไป จนเกิดปัญหาสุขภาพกายและจิตตามมา ซึ่งการศึกษาก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยจอห์นฮอบกินส์ เผยแพร่เมื่อต้นปี คือ 16 มกราคม 2561 ในวารสาร International Journal of Obesity โดยผลการศึกษาพบว่า การมีพฤติกรรมการกินมากผิดปกติในช่วงเวลาเย็น มากจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดของร่างกายที่ผิดปกติ ที่ทำให้สมองหลั่งฮอร์โมนแห่งความหิว "hunger hormone" เพิ่มมากขึ้น การเกิดปฏิกิริยาอัตโนมัติที่เกิดขึ้นมาทางด้านใดด้านหนึ่ง ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่ไม่เหมือนกัน จึงส่งผลต่อการหาทางส่งเสริมป้องกันต่อปัญหาความเครียดแตกต่างไปจากเดิมค่ะ การที่ผู้เกี่ยวข้องจะป้องกันส่งเสริมสุขภาพจิตและกายให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล การนำข้อมูลที่พบนี้มาประกอบ คงจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมป้องกันปัญหาความเครียดได้อย่างเหมาะสมขึ้นค่ะ นี่คงจะเป็นเหตุผลอันสมควรที่ผู้เผยแพร่งานวิจัย ScienceDaily พาดหัวข่าวได้น่าสนใจว่า “Beware of evening stress” ท่านผู้อ่านบางท่านที่อาจจะมีความสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมนะเราจึงรู้สึกมีความสุข ไม่สามารถลดอาหารเย็นได้ในวันที่คิดว่าทำงานหนักๆ (ในที่นี้หมายถึงเครียดๆค่ะ)....หรือ เหตุใดนักดื่มทั้งหลายจึงมีพฤติกรรมดื่ม (หนัก) ในช่วงเวลาเย็น มีคำตอบได้ระดับหนึ่งว่า คงมีส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปฏิกิริยาอัตโนมัติ (ของร่างกาย) นี่เองค่ะ

Story Source:

Materials provided by Hokkaido University. Note: Content may be edited for style and length.

Materials provided by Johns Hopkins Medicine. Note: Content may be edited for style and length.

Journal Reference:

1. Yujiro Yamanaka, Hidemasa Motoshima, Kenji Uchida.Hypothalamic-pituitary-adrenal axis differentially responses to morning and evening psychological stress in healthy subjects. Neuropsychopharmacology Reports, 2018; DOI: 10.1002/npr2.12042

2. S Carnell, C Grillot, T Ungredda, S Ellis, N Mehta, J Holst, A Geliebter. Morning and afternoon appetite and gut hormone responses to meal and stress challenges in obese individuals with and without binge eating disorder. International Journal of Obesity, 2017; DOI:10.1038/ijo.2017.307 (https://www.sciencedaily.com/releases/2018/01/180116120007.htm)

29 November 2561

By nitayaporn.m

Views, 8003

 

Preset Colors