02 149 5555 ถึง 60

 

อ่านวิธีคิดที่สมองได้แม่นยำขึ้น

ผลวิจัยชี้อ่านสมองและใจคนที่ตัดสินใจจะทำดี (ถูก) หรือทำผิด (ชั่ว) ได้แม่นยำ

แนวคิดเรื่องการทำความเข้าใจบุคคล ที่สามารถตัดสินใจลงมือกระทำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม โดยเฉพาะในประเด็นที่ตัดสินใจว่าจะทำถูก (ดี) หรือทำ ผิด (ชั่ว) นั้น ได้รับความสนใจกับนักวิชาการด้านจิตวิทยามากว่าหลายพันปีแล้ว ว่ามีกระบวนการ วิธีคิด และตัดสินใจเช่นไร เพื่อหาทางส่งเสริมป้องกันปัญหาด้านจริยธรรม เพื่อความสงบสุขในสังคม หรือป้องกันปัญหาด้านสุขภาพจิตและจิตเวชที่จะเกิดตามมา

เร็วๆนี้มีรายงานการศึกษาสองรายงานการศึกษา เผยแพร่ในสื่อวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงฉบับหนึ่งคือ PsyPost ได้กล่าวถึงผลการศึกษาการทำงานของสมองขณะคิดและตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม โดยนำเสนอทั้งในแง่ประสาทวิทยา (ศึกษาการทำงานของสมองโดยตรง) และด้านจิตวิทยา เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์

ในการศึกษาที่กล่าวถึงนี้ นักวิจัยได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ fNIRS (functional Near Infrared Spectroscopy) ซึ่งถือเป็นเทคนิคการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ไม่มีผลต่อตัวอย่าง ซึ่ง เทคโนโลยี fNIRS เป็น AI (เป็นซอฟท์แวร์ Artificial Intelligence ออกแบบเพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานคล้ายสมองมนุษย์) เพื่อที่จะเข้าถึงความคิดของมนุษย์เราได้ ดูว่าเรากำลังครุ่นคิดอยู่กับการแก้ปัญหาอะไรบางอย่างอยู่หรือไม่ ทำให้สามารถติดตามได้ว่าคนเรากำลังใช้ความคิดหรือวางแผนที่จะตัดสินใจ มีสติ ง่วง หรือกำลังขาดสมาธิ เป็นต้น ซึ่งในการทำงานของ fNIRS จะใช้เซนเซอร์อินฟราเรดตรวจวัดกิจกรรมภายในสมองของมนุษย์ เซนเซอร์นี้จะวางอยู่เหนือศีรษะ และส่งรังสีอินฟราเรดซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทะลุผ่านเข้าไปในกะโหลก เซนเซอร์ดังกล่าวสามารถวัดปริมาณออกซิเจนที่ถูกส่งเข้าไปในเส้นเลือดภายในสมอง โดยอาศัยหลักการทางฟิสิกส์ ในเรื่องการทำงานของแสงที่สะท้อนกลับมา การวัดระดับปริมาณออกซิเจนในเส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมอง ณ ช่วงเวลาที่สมองกำลังทำงาน ระดับออกซิเจนที่สูงแสดงภาพบนจอมอนิเตอร์ บ่งบอกว่าสมองส่วนนั้นๆกำลังมีการทำงาน/ทำงานอย่างหนัก (ซึ่งหมายความว่าบุคคลดังกล่าวกำลังใช้ความคิดอย่างจริงจังนั่นเอง)

ซึ่งในการศึกษานี้ เป็นการติดตามการทำงานของสมองของบุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 33 ราย โดยรายงานการศึกษาแรกเป็นการใช้แบบวัด Trolley Problem เพื่อแยกพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งพฤติกรรมที่แสดงออกและที่ไม่แสดงออกแต่แอบแฝงซ่อนเร้น

Trolley Problem เป็นแบบทดสอบที่โด่งดังมากอันหนึ่ง ที่ผู้ที่อยู่ในวงการจิตวิทยาให้ความสนใจ ซึ่งได้รับการเผยแพร่แนวคิดนี้ครั้งแรกเป็นการศึกษาของ Philippa Foot ในปี 1967 ซึ่งช่วงแรกๆเน้นเพียงเพื่อให้เห็นคำอธิบายที่เป็นรูปธรรมประกอบคำสอนเชิงจริยธรรม ให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ ต่อมาได้มีผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมจนกลายเป็นแนวคิดที่จับต้องได้มากขึ้น จนถึงศตวรรษปัจจุบัน เมื่อนิตยสารไทม์ได้มีการตีพิมพ์แนวคิดดังกล่าว เมื่อช่วงต้นทศวรรษ ปี 2011 ได้กล่าวอธิบายพฤติกรรมบุคคลขณะที่มีการตัดสินใจเพื่อเลือกที่จะทำดีหรือชั่วของมนุษย์นั้น มีกระบวนการทำงานของร่างกายและจิตใจเช่นไร จึงกลายมาเป็นแบบทดสอบ (อ่านใจ) แยกแยะพฤติกรรมความคิดการตัดสินใจ โดยการจำลองสถานการณ์ให้บุคคลเลือกสับสวิทต์รางรถไฟ ที่ถูกแยกเป็นสองราง โดยรางหนึ่งมี 1 คน ถูกมัดมือมัดตัวอยู่รางที่ 1 และอีก 5 คนถูกมัดมือมัดตัวเช่นเดียวกันอยู่รางที่สอง จากนั้นให้บุคคลเลือกตัดสินใจเพียงอันใดอันหนึ่งในสองสถานการณ์ ระหว่างการตัดสินใจว่าจะเลือกทำลายหรือช่วยชีวิต 1 คนหรือ ช่วย (ทำลาย) ชีวิต 5 คน บนทางแยกดังกล่าวนั้น โดยแนวคิดนี้ต้องการให้มีการศึกษาแสดงความเห็นในเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่บุคคลต้องตัดสินใจเลือกทางจริยธรรม ทั้งด้านที่แสดงออกและไม่แสดงออกแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่

ผลการศึกษาด้านจิตวิทยา ที่ได้จากการ Trolley Problem โดยผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดล้วนตัดสิินเลือกใจเลิือกในรางที่ 1 ที่จะฆ่าบุคคลที่ถูกมัดอยู่ในราง 1 คน เพื่อช่วยเหลืออีกรางหนึ่งที่มีคนถูกมัดอยู่ 5 คนให้รอดชีวิต โดยมองว่าเป็นทางเลือกที่มีผลตีต่อกลุ่มคนส่วนใหญ่

ผลการศึกษาได้รับการตีพิมพ์ในวารสารด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมมนุษย์ Behavioral Brain Research ผู้วิจัยได้อธิบายในประเด็น ขณะที่บุคคลตัดสินใจประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม ขณะที่ตัดสินใจเลือกช่วยคนกลุ่มใหญ่และทำร้ายคน 1 คนไปนั้น มีบุคลิกภาพแบบมีความผิดปกติทางเจิตเวชแฝงอยู่ (Psychopathic personality traits) แต่ไม่แสดงออกชัดเจน มีพฤติกรรมปกติดังเช่นคนทั่วไป

ขณะเดียวกันรายการศึกษาที่ถูกเผยแพร่อีกอันหนึ่ง โดยเป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างทั้ง 33 ราย เช่นเดียวกัน เป็นการศึกษาทางประสาทวิทยาเพื่อดูการทำงานของสมอง โดยการมอนิเตอร์ผ่านเทคนิค fNRIS เพื่อดูว่าขณะที่บุคคลกลุ่มตัวอย่างเลือกที่จะตัดสินใจช่วยหรือปล่อยให้เกิดสถานการณ์ที่คน 1 คนหรือคน 5 คนรอดและมีชีวิตนั้น สมองส่วนใดของบุคคลทำงาน

ผลการศึกษาพบความแตกต่างของการทำงานของสมอง ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างกำลังตัดสินใจเลือกที่จะปล่อยหรือช่วยชีวิต จากจอมอนิเตอร์มีปฏิกิริยาแสดงภาพให้เห็นปฏิกิริยาของสมองบริเวณด้านข้าง (Lateral region) สมองส่วนหน้าซึกซ้าย (บริเวณหน้าผาก) ที่เรียกว่า Prefrontal cortex กำลังทำงานอย่างชัดเจน โดยผลการศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Brain and Behavior

[Prefrontal cortex เป็นส่วนสำคัญของสมองที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการ คิดขั้นสูง วางแผน การตัดสินใจ การเรียนรู้ นัักวิชาการบางท่านอธิบายให้คำจำกัดความว่า เป็นซีอีโอของสมอง เป็นส่วนสุขุมลุ่มลึกซึ่งทำหน้าที่คิดทบทวน และเป็นส่วนที่มีพัฒนาการช้าที่สุดกว่าจะสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมมนุษย์จึงเรียนรู้และทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆ ได้ดีกว่าเมื่อเป็นผู้ใหญ่ และทำไมวัยรุ่นจึงมักตกอยู่ในภาวะสับสนรวมถึงยากลำบากในการตัดสินใจ]

ซึ่งจากข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว นายแพทย์ Amir Granbakhche หัวหน้าทีมวิจัยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ข้อมูลที่พบนี้จะทำให้สามารถแยกแยะพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะบุคคลที่มีบุคลิกภาพแฝงที่เริ่มมีความผิดปกติแต่ไม่แสดงออกมาภายนอก ดูเผินๆเหมือนคนปกติทั่วไป รวมทั้งมีการตัดสินใจคิดและกระทำที่ไม่แสดงชัดเจนว่ามีบุคคลิภาพผิดปกติ ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยทางจิตเวชที่แม่นยำน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่บุคคลมีบุคลิกภาพแฝงผิดปกติเล็กน้อยไม่แสดงออก อาทิเช่น คนที่มีจิตใจเยือกเย็นเฉยชาสงบนิ่ง (Cold heartedness) บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบมีความเห็นแก่ตัว คนที่จิตใจแข็งกระด้างไม่สนใจกฎกติกาสังคม รวมไปถึงบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบสนุกสนานที่ดูจะไร้กังวลใดๆ บุคคลที่ไม่อนาทรร้อนใจต่อความทุกข์ของคนอื่น พวกที่มีบุคลิกภาพแบบเชื่อมั่นในตนเองสูงมากๆ เหล่านี้เป็นต้น “ผลการศึกษาของเราสามารถแสดงข้อมูลปัจจุบันถึงระดับการทำงานของระบบประสาท ขณะที่บุคคลมีพฤติกรรมทั้งที่แสดงออกและแอบแฝงซ่อนเร้น พวกเราหวังว่า การใช้เทคนิค fNRIS จะช่วยวินิจฉัยกลุ่มบุคคลที่ดูเป็นปกติในสังคม แต่มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม หรือมีแนวโน้มที่จะแสดงความเจ็บป่วยทางจิตเวช รวมไปถึงบุคคลที่พร้อมที่จะก่ออาชญากรรมที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ ให้สามารถแยกจากกลุ่มคนปกติทั่วไปได้ นำไปสู่การเข้าถึบงบริการสุขภาพจิตและการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

สรุป

เทคนิค fNRIS เป็นการตรวจวินิจฉัยการทำงานของสมองโดยการใช้องค์ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ที่ทำงานคล้ายสมองมนุษย์มากที่สุด ตรวจสอบการทำงานของสมอง ในขณะที่บุคคลมีพฤติกรรมทั้งที่แสดงออกและแอบแฝงซ่อนเร้น ในสถานการณ์ที่บุคคลต้องตัดสินใจเลือกที่จะทำดีหรือไม่ดี โดยที่ไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อร่ากายมนุษย์ เป็นการตรวจสอบทางด้านประสาทวิทยาและจิตวิทยาที่มีความแม่นยำมากขึ้น โดยสามารถตรวจเช็คทั้งนามธรรมและรูปธรรมไปพร้อมๆกัน ถือเป็นความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์มาให้อัพเดทกันค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูล

1. https://www.iflscience.com/brain/study-links-psychopathic-personality-traits-with-activity-in-a-specific-part-of-the-brain/all/

2. วิธีการทำงานของ fNRIS จาก http://scienceillustratedthailand.com/

12 December 2561

By nitayaporn.m

Views, 6607

 

Preset Colors