02 149 5555 ถึง 60

 

Concentration, Meditation และ Insight สมาธิ ภาวนา และวิปัสนา

วันมาฆะบูชา

สัปดาห์หน้าคือ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ ที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมาย และพระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้

ว่ากันว่า ในสมัยพุทธกาล หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือน ขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะหรือเดือน ๓ ในเวลาบ่าย พระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้ามาประชุมพร้อมกัน นับเป็นเหตุอัศจรรย์ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ เรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าเมื่อทอดพระเนตรเห็นมหาสังฆสันนิบาต อันประกอบไปด้วยเหตุอัศจรรย์ดังกล่าว จึงทรงเห็นเป็นโอกาสอันสมควรที่จะแสดง "โอวาทปาติโมกข์" อันเป็นหลักคำสอนสำคัญ ที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแก่ที่ประชุมพระสงฆ์เหล่านั้น เพื่อวางจุดหมาย หลักการ และวิธีการ ในการเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันต์สาวกและพุทธบริษัททั้งหลาย

ในประเทศไทยเดิมนั้นไม่มีพิธีมาฆบูชาในพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้ทรง ปรารภให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศลเพื่อเป็นพุทธบูชา และรัฐบาลกำหนดให้มีวันมาฆะบูชาเพื่อให้ชาวพุทธได้ถือปฏิบัติกิจธรรมตามหลักศาสนาพุทธ

ไหนๆก็เป็นวันสำคัญของชาวพุทธ วันนี้เราจึงขอนำเสนอแนวคิดของศาสนาพุทธ ที่มีความสัมพันธ์กับแนวคิดทางจิตวิทยา โดยบทความนี้ได้นำเอาหลักการแนวพุทธในมุมมองจิตวิทยา ของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ท่านเป็นพระนักวิชาการนักคิดนักเขียนผลงานทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ ท่านได้รับรางวัลและดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบันทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education) มาเป็นความรู้ต่อท่านผู้อ่าน อันเนื่องมาจากวันสำคัญในทางศาสนาพุทธ ดังนี้ค่ะ

Concentration, Meditation และ Insight สมาธิ ภาวนา และวิปัสสนา

โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

Concentration, Meditation และ Insight ในพุทธศาสนา หมายถึง สมาธิ ภาวนา และวิปัสสนา ตามลำดับ

คำว่า “สมาธิ” เดิมฝรั่งที่ศึกษาแนวคำสอนของพระพุทธเจ้าเคยกล่าวว่า ควรจะหมายถึง meditation แต่เดี๋ยวนี้ควรใช้คำว่า concentration

เมื่อพูดถึงคำว่า สมาธิ หลายท่านมักจะนึกถึง คำในภาษาฝรั่งว่า meditation ซึ่งใช้กันเกลื่อน แต่ความจริง meditation ไม่ใช่คำตรงแท้สำหรับสมาธิเลยทีเดียว เพราะในคำฝรั่งเป็นคำที่มีความหมายคลุมเครือที่มีมาแต่เก่าก่อน ถ้าจะแปลเป็นภาษาไทย ก็น่าจะหมายถึง “ความครุ่นพิจารณา” ซึ่งก็ไมไดมีความชัดเจนว่าครุ่นคิดพิจารณาอย่างไร เมื่อคำว่าสมาธิของเราเข้ามาฝรั่งจึงไม่รู้จะใช้คำอะไรก็เอาคำว่า meditation ใช้ไปก่อนเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น จึงไมสามารถสื่อความหมายที่แท้จริงได สมาธิในความหมายที่แท้ของเราฝรั่งเขาไมมีการปฏิบัติกัน ต่อมาฝรั่งที่ใชภาษาอังกฤษมาศึกษาพระพุทธศาสนา รู และเข้าใจหลักธรรมดีขึ้น จึงไดตกลงกันว่า สำหรับคำว่า “สมาธิ” นี้ ซึ่งเป็นขอธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา ศัพท์ที่ควรจะให้ความหมายตรงที่สุดควรจะเป็นคำว่า concentration

สมาธิ คือ concentration หมายถึง ความตั้งมั่นแห่งจิต (คือภาวะที่จิตตั้งมั่น)

เป็นคำแปลตามตัวอักษร แต่ความหมายของสมาธิที่ใช้ในที่ทั่วไป หาได้จำกัดเพียงแค่คำแปลตามตัวหนังสือเท่านั้นไม่ เมื่อจิตตั้งมั่นนั้น นอกจากจิตใจจะแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กำหนด หรือตามต้องการเกี่ยวข้องเพียงอย่างหนึ่งอย่างเดียวได้แล้ว มันยังพ่วงเอาคุณสมบัติหรือองค์ธรรมอื่นๆ มาด้วยอีกหลายอย่าง ทั้งองค์ธรรมหรือคุณสมบัติที่นำหน้า หรือที่จำเป็นต้องมีมา เพื่อช่วยให้มันเกิดขึ้น ทั้งองค์ธรรมร่วมที่ช่วยพยุงหรือคอยค้ำจุนให้มันคงอยู่ และทั้งองค์ธรรม ที่อาศัยพลอยติดตามมา

เมื่อจิตเป็นสมาธิ หรือพูดง่ายๆว่าเมื่อเรามีสมาธิ จิตใจก็จะมีความเข้มแข็ง หนักแน่น มั่นคง แกล้วกล้า เข้าประจันกับสิ่งที่กำหนดหรืองานที่ทำ ไม่หดหู่ไม่ท้อแท้หรือถดถอย จะมีสติกำกับอยู่ ตื่นตัว หรือมีใจอยู่กับตัวไม่ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย จะมีความสงบ ซึ่งมาพร้อมด้วยความเยือกเย็น สบายใจ ความผ่อนคลาย ความเอิบอิ่มใจ ปลอดโปร่ง ผ่องใส และความสุข

ภาวนา หมายถึง meditation

คำว่า Meditation ในความหมายของชาวพุทธแล้ว ปัจจุบันมีแนวโน้มจะเป็นความหมายตรงกับคำว่า "ภาวนา"

อย่างไรก็ตาม โดยความหมายที่กล่าวถึงก็ไมไดตรงทีเดียว เพราะคำว่า ภาวนา ในทางปฏิบัติของชาวพุทธนั้น หมายความถึง การเจริญหรือการทำให้เพิ่มพูนขึ้นมา ซึ่งถ้าจะแปลตรงศัพท์จริงๆ ควรจะหมายความว่า ทำให้มีให้เป็น มากกว่านั่นเอง

โดยสรุป ภาวนา หมายความถึงสภาพจิตที่ดี เช่น คุณธรรมยังไมมีในจิตใจของเราก็ทำให้มีให้เป็นขึ้นมา อย่างนี้จึงเรียกว่าภาวนาตามความหมายของชาวพุทธ เช่นเดียวกันกับคำอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันอย่างคำว่า ศรัทธา หรือเมตตา ยังไมมีก็ทำให้มีให้เป็นขึ้นมา อะไรต่างๆเหล่านี้ ดังนั้น สมาธิถ้าไม่มีก็ทำให้มีให้เป็นเพิ่มพูนขึ้นมา จึงจะเรียกกว่าเป็นการทำกิจภาวนาอย่างที่พุทธบริษัทถือปฏิบัติกัน

ในภาษาไทยเราแปล “ภาวนา” วา เจริญ เช่น เจริญเมตตา เรียกว่า เมตตาภาวนา เจริญสมาธิ เรียกกว่า สมาธิภาวนา เจริญวิปัสสนา เรียกกว่า วิปัสสนาภาวนา เจริญปัญญา ก็เรียกว่า ปัญญาภาวนา สรุปความแล้ว ถ้าฝรั่งจะแปลคำว่าภาวนาให้ตรงแท้ควรจะแปลว่า development ซึ่งคำศัพท์ทั้งหลายเหล่านี้ ยังถือว่าไม่ลงตัวแน่นอน การภาวนา หรือการเจริญนั้น ถ้าพูดในทางจิตใจและทางปัญญา รวมแล้วมีสองด้านสำคัญที่เรารู้กันดีบางทีเรียกว่า กรรมฐาน ซึ่งการเจริญกรรมฐานก็มีสายสมถะ คือทำจิตให้สงบเป็นสมาธิเรียกว่า “สมถภาวนา”

Meditation ความหมายสองแบบ

บางทีก็มีชาวพุทธบางท่านใช้คำว่า meditation มาใช้แทนภาวนา ก็เลยทำให้มี meditation ๒ แบบ คือ ๑. สำหรับแบบสมถภาวนา ก็ใช้คำว่า Tranquility Meditation ซึ่งจะว่าไปแล้วถ้าจะให้ตรงตัวควรจะหมายถึง Tranquility Development ซึ่งก็คือ การทำให้ ความสงบเกิดขึ้น tranquility คือความสงบ บางทีก็ใช้คำว่า “calm” ซึ่งรวมแล้ว ก็คือความสงบ หมายถึงสมถะ) โดยมุ่งที่ตัวสมาธิ สวนอีกด้านหนึ่งคือ วิปัสสนาภาวนา ซึ่งควรแปลว่า Insight หมายถึง การหยั่งรูหยั่งเห็น เอา meditation มารวมเข้าก็จะเป็นคำวลีว่า Insight Meditation แปลว่า วิปัสสนาภาวนา อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้ว่าตรงๆควนใช้คำว่า Insight Development แปลว่า การเจริญวิปัสสนา ถ้าจะเลือกใช้คำว่า meditation ในความหมายของภาวนา

ดังนั้น จะว่าไปแล้ว คำว่า meditation ในทางพุทธแล้วถือเป็นคำศัพท์ที่ไมชัดเจน แล้วแต่เราจะตกลงว่าจะใช้คำไหน ตอนนี้ สรุปแล้วมีแนวโน้มที่จะใช้ meditation มาใช้กับภาวนา ในรูปแบบ ๒ ดังนี้

๑. Tranquility Meditation หมายถึง การเจริญความสงบ เรียกกว่า “สมถภาวนา”

๒. Insight Meditation การเจริญปัญญาที่หยั่งรูหยั่งเห็น เรียกกว่า “วิปัสสนาภาวนา”

ดังที่กล่าวแล้วตอนต้น สวนตัว ความหมายของคำว่า “สมาธิ” สามารถแปลได้ง่ายๆคือ ภาวะที่จิตตั้งมั่น ควรให้คำจำกัดความจำเพาะเจาะจงลงไปว่าหมายถึง concentration ซึ่งจะมีความหมายชัดขึ้น ถ้าเราจะปฏิบัติเพื่อศึกษาอะไรเราหรือจะพิจารณาเรื่องอะไรจิตต้อง concentrate หมายความว่า จิตต้องแน่วแน่ลงไปในสิ่งนั้น ถาไม่ concentrate ก็จะมองเห็นและเข้าใจสิ่งนั้นไดยาก

ปฏิบัติสมาธิให้ถูกทาง

พุทธศาสนิกชนพึงจำให้แม่นว่า ในองค์มรรค 8 ขอ สัมมาสมาธิ เราแปลกันว่า จิตตั้งมั่นชอบ คำว่า จิตตั้งมั่น หมายความถึง จิตเรียบสม่ำเสมอ ยูกับสิ่งใดก็มั่นคงอยู่กับสิ่งนั้นไมวอกแวกไมฟุ้งซ่าน ไม่กระสับกระส่าย ไมกระวนกระวาย จิตอยู่กับตัวแน่วแน่ ถาพิจารณาคิดเรื่องอะไรให้อยู่กับสิ่งนั้นสิ่งเดียว สิ่งอื่นเข้ามาแทรกมากวนไมได อย่างนี้เรียกว่า “สมาธิ”

จิตที่เป็นสมาธินี้มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ ดังนี้

๑. จิตที่มีสมาธิ เป็นจิตที่มีกำลัง เรียกกว่า มีพลังมาก

๒. จิตที่มีสมาธิจะเป็นจิตที่ผ่องใสเหมือนน้ำที่ใส เพราะมันนิ่งสงบ ทำให้มองเห็นอะไรไดชัดเจน ข้อนี้เกื้อกูลต่อการเกิดปัญญา

๓. ข้อนี้สืบเนื่องมาจาก ข้อ ๑ และ ๒ คือ พอจิตของเราสงบไมมีอะไรกวน จิตของเราก็ไมกระสับกระส่ายไมวอกแวก

การที่จิตไมกระวนกระวาย มันก็สงบ พอสงบ ไมมีอะไรกวนจะพบความสุข ดังนั้น คนที่จิตเป็นสมาธิ ก็สงบ เมื่อสงบก็มีความสุข สมาธิ จึงเป็นเรื่องของจิตใจ คือการทำจิตใจให้สงบ พอสงบแลว จิตก็ใส จะสามารถใช้ปัญญาไดดี นั่นคือ เกิดปัญญาแล้ว มองเห็นอะไรไดชัดเจน ท่านทั้งหลาย พึงจำพุทธพจน์ให้แม่นๆว่า “สมาหิโต ยถาภูตํปชานาติ” แปลว่า “ผู้มีจิตตั้งมั่น” แลวจะรูชัดตามที่เป็น นั่นคือมีสมาธิ แลวจะปัญญารูจริง ดังนั้น หลักการเรื่อง สมาธิ ถือเป็นพื้นฐาน หรือเป็นปัจจัย หรือเป็นเครื่องมือ ที่จะช่วยให้เกิดปัญญา และสามารถใช้ปัญญาได้ดี ซึ่งคุณสมบัติเฉพาข้อนี้เป็น ประโยชน์ที่บางทีถูกมองข้ามไปของพวกเราชาวพุทธหลายคน ที่ไปเน้นไปคิด ปฏิบัติ และหลงงมงายอยู่กับวัตถุสิ่งของ เกิดเป็นศรัทธาที่บิดเบี้ยวไปจากหลักคำสอนที่แท้จริงขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วิปัสสนา / Insight

มีภาวนาใหญ่ที่เป็นหลักอยู่ ๒อย่างสำหรับพวกเราชาวพุทธ คือ เจริญสมถะ หมายถึง การทำจิตใจให้สงบ มุ่งให้เกิดสมาธิ เรียกว่า “สมถภาวนา” และ”การเจริญวิปัสสนา” ก็คือการทำปัญญาทำความรู้ความเข้าใจทั้งหลายทั้งโลกและชีวิตให้เกิดขึ้นเรียกว่า “วิปัสสนาภาวนา”

วิปัสสนา เป็นภาวนาอีกด้านหนึ่ง เรียกว่าา "วิปัสสนาภาวนา” ไดแก่ เจริญปัญญา คือ ทำปัญญาให้เกิดขึ้น ให้เจริญเพิ่มพูนขึ้น ให้รู้แจ้งความจริงของสิ่งทั้งหลาย ให้รู้ว่าสังขารทั้งหลายเป็นนของไมเที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทนอยู่ในสภาพเดิม ไมไดตองเปลี่ยนแปลง และเป็นไปตามเหตุปัจจัย การรู้ความจริงข้อนี้ เรียกว่า เป็น “วิปัสสนา” ที่แท้จริง

กล่าวโดยสรุป

ในวันสำคัญทางพุทธศาสนา มาฆะบูชา พวกเราชาวพุทธพึงนำหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ได้ทำความเข้าใจเพื่อเผยแพร่แก่นหลักการปฏิบัติของพุทธศานา ให้ตรงกันกับชาวพุทธทั่วโลกที่สื่อสารกันเป็นภาษาอังกฤษ โดยยึดอยู่บนพื้นฐานหลักวิชาการกับหลักธรรมสามวลีที่สำคัญคือ คำว่า สมาธิ ภาวนา และวิปัสสนา โดยอธิบายว่า "สมาธิ" ตรงกับคำว่า “Concentration” ซึ่งการมีสมาธิคือ การมีจิตตั้งมั่น ถือเป็นพื้นฐานปัจจัยหลักนำไปสู่การใช้ปัญญาได้ดี ขณะที่ คำว่า “ภาวนา” หมายความถึงการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบและเกิดปัญญา ตรงกับคำว่า “Meditation” ซึ่งให้ความหมายไปสองทาง นัยหนึ่ง คือ Tranquility Meditation หมายถึง ความสงบ และอีกนัยหนึ่งคือ Insight Meditation ตรงกับคำว่า “วิปัสสนา” คือการปฏิบัติมุ่งให้เกิดสงบเพื่อให้รู้แจ้งต่อตนเองและความเป็นจริงรอบๆตัว เช่นเดียวกับในแนวคิดทางจิตวิทยา การมี insight คือ การรู้จักความจริงทั้งต่อตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ถือว่า ใครมี insight เป็นข้อบ่งชี้สำคัญที่สุดอันหนึ่งที่ถือว่าไม่ป่วยจิตแน่นอน นั่นเอง

แหล่งข้อมูล

samadhi_in_buddhism.pdf โดย ป. อ. ปยุตฺโต

15 February 2562

By ป. อ. ปยุตฺโต/ Posted by Nitayaporn M.

Views, 12671

 

Preset Colors