02 149 5555 ถึง 60

 

โอเลมปิคฤดูหนาวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่อพืชกัญชา

การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่อพืชกัญชา สำหรับนักกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2018

เมื่อเร็วนี้ ประมาณต้นปี พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นช่วงที่จะมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 23-28 กุมภาพันธ์ 2018 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองพยองชัง ประเทศเกาหลีใต้ มีสาระสำคัญที่อยากนำเสนอข้อมูลในวันนี้คือ เป็นที่น่าสนใจว่าแนวคิดเรื่องกัญชาเพื่อการแพทย์ในยุคปัจจุบันนี้ ได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆด้านสุขภาพทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่หน่วยงานที่ควบคุมดูแลการใช้สารที่ออกฤทธิ์กระตุ้น ในแวดวงกีฬาอย่าง World Anti-Doping Agency (WADA) ได้ออกเกณฑ์ที่ผ่อนปรนมากขึ้นต่อการวัดระดับ carboxy-THC (ระดับ metabolite ของกัญชา ที่วัดในปัสสาวะ)

ซึ่งวิธีการดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นวิธีการตรวจหาระดับที่มีความแม่นยำที่สุด ที่จะบอกสถานถะของสารกระตุ้นในร่างกายจำพวก Cannabidiol (CBD) ในนักกีฬา ซึ่งถือเป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีเทคโนโยลีก้าวหน้าที่สุด ซึ่งการกำหนดให้สารกระตุ้นจากพืชกัญชา จัดเป็นสารต้องห้ามที่ผู้เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดมากที่สุดอันหนึ่ง อาทิเช่น ในปี 2016 จากเดิมที่ WADA ได้กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำสุดสำหรับระดับระดับของ c-THC (Cannabidiol; CBD) เท่ากับ 150 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ค่าอ้างอิงมาตรฐาน (reference standard) และได้เพิ่มข้อความว่า “กำหนดให้จำกัด THC metabolite อยู่ระหว่าง 15 ng/mL และ 100 ng/ml” ต่อมา ตั้งแต่เดือนกันยายน 2017 เป็นต้นมา WADA ได้ลบส่วนที่เป็นข้อความอันเป็นข้อจำกัดออกทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เป็นการเริ่มต้นให้มีการอนุญาตให้มีการใช้ CBD ในกลุ่มนักกีฬา อีกทั้งยังกำหนดให้ CBD จัดเป็นสารประกอบกัญชาที่สามารถใช้เพื่อการรักษา (Therapeutic use) ที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสำหรับนักกีฬาได้ต่อไป

เป็นที่ทราบกันดีว่า ตลอดกว่าทศวรรษที่ผ่านมา มีการเปิดเผยข้อมูลวิชาการด้านการแพทย์ของพืชสายพันธุ์กัญชา โดยเฉพาะที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักกันดีคือ ข้อมูลที่ได้มีการอนุญาตสารจากพืชกัญชาสำหรับการใช้งานทางการแพทย์และการบำบัดโรคได้ จึงทำให้มีทิศทางการพัฒนาการนำแนวคิดทางการแพทย์ มาอัพเดทต่อแวดวงกีฬาให้เหมาะสม ทั้งนี้ในอดีตตั้งแต่เริ่มต้นกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวเป็นต้นมา สารกระตุ้นที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทกลุ่ม Cannabinoids CBD จัดเป็นสารที่มีอยู่ในรายการ “ต้องห้าม” มาตลอดหลายสิบปีนั้น ได้รับการอัปเดตและมีการอภิปรายกันอย่างเป็นวงกว้างในที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมสารต้องกระตุ้นต้องห้ามของ WADA เป็นประจำทุกปี อย่างไรก็ตาม การออกกฎเกณฑ์นี้ดังกล่าวจึงถือเป็นการเปลี่ยนทัศนคติที่ชัดเจนต่อกัญชา และเพิ่มช่องทางการใช้งานในวงกว้างของ CBD ให้มีเพิ่มขึ้น

แนวคิดที่มีการอภิปรายมากที่สุด คือการปรับกฎเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพืชกัญชา ในส่วนข้อความที่กำหนดให้มีการออกข้อจำกัด c-THC ของ WADA อยู่ที่ประมาณ 15 ng / mL ได้ถูกยกขึ้นมาอภิปราย หลังจากการหารือกับคณะกรรมการด้านการแพทย์ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ในปี 2013 ซึ่งแนวคิดและมุมมองต่อพืชกัญชา ในระยะแรกมีการนำเสนออภิปรายข้อคิดเห็นทางวิชาการอย่างเป็นวงกว้าง ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลเดิมด้านผลต่อสมอง และแนวคิดใหม่ที่เปิดกว้างมากขึ้น หลังการเผยแพร่ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ด้านการแพทย์ ประโยชน์ของสารจากพืชกัญชาต่อประสิทธิภาพในการรักษาโรคบางโรค ที่มีอันตรายและรุนแรงและสร้างภาระต่อผู้ป่วย อาทิ โรคทางกาย เช่น มะเร็ง หรือแม้แต่โรคทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า เป็นต้น ซึ่งทำให้ผู้ที่เจ็บป่วยต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมาน รวมถึงสร้างภาระทางเศรษฐกิจต่อโลกอย่างมหาศาล จากผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่พัฒนาก้าวหน้าขึ้นนั้น ทำให้มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพิ่มเติมชัดเจนขึ้นว่า ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้สารพืชกัญชานั้นไม่ได้เลวร้ายอย่างการศึกษาในอดีต ทั้งนี้เป็นการเพิ่มมุมมองและการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าแทนการควบคุมที่เข้มงวดอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการรับรู้ว่านี่เป็นเรื่องที่ซับซ้อน และมีทิศทางการอภิปรายได้เริ่มต้นขึ้นจากกรณี การถูกริบเหรียญทองของนักกีฬา ที่รู้จักกันดีที่สุดนั้นมาจากโอลิมปิกฤดูหนาวเกมที่จังหวัดนากาโน่ ประเทศญี่ปุ่น ในปี 1998 ที่ Ross Rebagliati นักกีฬาที่ถูกปลดออกจากการแข่งขันสโนว์บอร์ดเหรียญทองโอลิมปิก โดยมีการตรวจพบสารจากพืชกัญชาเกินเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้ต่อมา เหรียญทองของเขาได้รับการคืนสถานะหลังจากนั้นไม่นาน เพราะหลังจากมีการอัปเดทให้สารพืชกัญชาไม่ได้เป็นรายการสารต้องห้ามของ WADA ซึ่งผลการทดสอบสารกระตุ้นของนักสโนว์บอร์ด อยู่ที่ 17.8 ng / mL ซึ่งเป็น 2.8 ng / mL ที่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่ได้อนุญาตในเวลานั้น เมื่อสารไม่ได้อยู่ใน "รายการต้องห้าม" แล้ว ผู้เกี่ยวข้องจึงคืนสถานภาพชนะและเหรียญทองให้กับนักกีฬาคนดังกล่าว อย่างไรก็ตามมีเหตุผลอีกหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องการตรวจหาระดับสารกัญชาในร่างกาย อาทิ เช่น การเผาผลาญกัญชาในรูปแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับร่างกายแต่ละบุคคล ไลฟ์สไตล์ ความถี่ในการใช้งาน และระยะเวลาจากการใช้งานครั้งล่าสุด เหล่านี้เป็นข้อมูลที่การได้เหรียญทองของนักกีฬาคนดังกล่าว ที่ได้มีการอภิปรายกันอย่างมาก

กล่าวโดยสรุป

จากข้อมูลข้างต้นเป็นที่ชัดเจนว่า การใช้ประโยชน์จากพืชที่มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ในกลุ่มพืชกัญชานั้น ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างเพิ่มขึ้น ซึ่งจากการเปิดช่องทางการอนุญาต ให้สารที่สกัดจากพืชกัญชาสามารถนำมารักษาโรคบางชนิดได้นั้น ทำให้ผู้เกี่ยวข้องในวงการกีฬาได้อาศัยข้อมูลนี้ในการปรับปรุงความเป็นปัจจุบันของกฎเกณฑ์ ที่ใช้ในการควบคุมสารกระตุ้นต้องห้ามของ World Anti-Doping Agency (WADA) กฎเกณฑ์การตรวจสารกระตุ้นต้องห้ามของนักกีฬาในงานโอลิมปิคฤดูหนาวประจำปี 2018 ที่ประเทศเกาหลีใต้ โดยตั้งแต่ปี 2016 อนุญาตให้มีการใช้ CBD ในกลุ่มนักกีฬาได้ โดยมีระดับสารกระตุ้นดังกล่าวในปัสสาวะได้ไม่เกิน 150 นาโนกรัม/มิลลิลิตร อีกทั้งยังกำหนดให้ CBD จัดเป็นสารประกอบกัญชาที่สามารถใช้เพื่อการรักษา (Therapeutic use) ที่สามารถตรวจพบได้ในนักกีฬา

Sources: WADA "Prohibited List" of banned substances; USADA TUE; USADA Marijuana and Cannabinoids

19 July 2562

By nitayaporn.m

Views, 4724

 

Preset Colors