02 149 5555 ถึง 60

 

เส้นทางการปฏิรูปนโยบายกัญชาทั่วโลก

เส้นทางการปฏิรูปนโยบายกัญชาทั่วโลก

เส้นทางการปฏิรูปนโยบายยาเสพติดจากทั่วโลก (Global Commission on Drug Policy)

ปัจจุบัน มีหลายๆประเทศได้ปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบายด้านยาเสพติด และมีหลากหลายเส้นทางสู่กลยุทธ์ปฏิรูป โดยยึดแนวทางแก้ปัญหาทางการแพทย์นำทางร่วมไปกับการปฏฺิรูปด้านกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อดำเนินไปบนพื้นฐานที่มีมนุษยธรรม จนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่าวิธีการเดิมคือ นโยบายการทำสงครามยาเสพติดดังเช่นในอดีตตลอดปีทศวรรษ 1900s ที่ผ่านมา วันนี้จึงจะขอยกตัวอย่างเหล่าประเทศ ที่ได้ปรับทิศทางด้านยาเสพติดไปแล้วจากทั่วทุกมุมในโลกดังต่อไปนี้ โดยประเทศเหล่านี้ถือเป็นตัวอย่างบางส่วนที่ได้นำมาเสนอมา ณ ที่นี้ อาทิเช่น

สหรัฐอเมริกา

ปัจจุบันมี 23 รัฐที่มีตลาดกัญชาทางการแพทย์ที่ถูกกฎหมาย และอีก 17 รัฐ ได้ลดทอนความเป็นอาชญากรรมทางคดีอาญายาเสพติดของการมีกัญชาไว้ในครอบครองสำหรับการใช้ที่ไม่ใช่เพื่อการแพทย์เท่านั้น แต่ได้เ่ปิดกว้างถึงการมีเข้าถึงเสรี จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นการผ่อนปรนที่เป็นวงกว้างต่อพืชกัญชา นับตั้งแต่นั้นมา โดยรัฐโอเรกอนถือเป็นรัฐแรกที่มีการปฏิรูปมาตั้งแต่ปี 1973 เป็นต้นมา

ประเทศเนเธอร์แลนด์

กฎหมายของปี ค.ศ. 1976 ที่เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของประเทศได้ถูกปรับทิศทางแนวนโยบาย ที่นำไปสู่การพัฒนาระบบกฎหมายโดยพฤตินัยของการขายกัญชา โดยใช้สิ่งที่เรียกกว่า “ร้านกาแฟ” ขายกัญชาเพื่อการเข้าถึงอย่างปลอดภัย นั่นคือจุดเริ่มต้นให้กับประชาชนที่ต้องการเข้าถึงพืชกัญชา สามารถเข้าถึงได้ตามร้านกาแฟที่มีมุมพืชกัญชาอย่างถูกกฎหมาย ทั้งนี้อันเป็นผลมาจากแรงกดดันในสังคมและท้องถิ่นในการผลักดันให้มีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมให้มีการตลาดในด้านขายปลีก และรวมไปถึงการผลิตพืชกัญชาด้วย

ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เยอรมันนี เดนมาร์ค

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ประเทศเหล่านี้ได้บุกเบิกการพัฒนาวิธีการปฏิบัติที่ทำได้จริง ในการลดอันตรายจากการใช้เข็มฉีดยา โดยจัดตั้งโครงการเข็มและกระบอกฉีดยา (Needles and syringe programs) โครงการบำบัดโดยการใช้สารทดแทนฝิ่น (opiate substation treatment) โครงการบำบัดการติดสารเสพติดจากเฮโรอีนโดยเฮโรอีน (heroin-assisted treatment programs) และกำหนดให้มีสถานที่ในการใช้ยาเสพติดภายใต้การควบคุมดูแลอย่างเป็นระบบทางสุขภาพ (supervised drug consumption facilities)

ประเทศโปรตุเกส

ในปี ค.ศ. 2001 โปรตุเกสได้ยกเลิกโทษทางอาญาสำหรับการมียาเสพติดทุกชนิดไว้ในครอบครองเป็นการส่วนตัว และเริ่มดำเนินนโยบายยาเสพติดที่ใช้สุขภาพเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ซึ่งรวมถึงมาตรการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว

ประเทศออสเตรเลีย

ในปี ค.ศ. 2001 ออสเตรียเลีย ได้กำหนดให้มีศูนย์ฉีดยาภายใต้การควบคุมทางการแพทย์แห่งเมืองซิดนีย์ โดยเปิดบริการในปี ค.ศ. 2001 เป็นต้นมา

ประเทศคานาดา

ประเทศคานาดา ได้กำหนดให้มีที่ตั้งศูนย์ฉีดยาที่ปลอดภัยตามกฎหมาย ภายใต้การควบคุมทางการแพทย์ 2 แห่ง ซึ่งแห่งแรกเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2003 ผู้ติดยาเสพติดสามารถฉีดยาเสพติดผิดกฎหมายที่ได้รับมาก่อนล่วงหน้าที่ศูนย์เหล่านี้ได้ นอกจากนี้ประเทศคานาดายังได้ทดลองการบำบัดเฮโรอีนในศูนย์ฉีดยาทั้งสองนี้

ประเทศยูเครน

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เป็นต้นมา ประเทศยูเครน ถือเป็นประเทศที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสากล (Global fund) เพื่อให้มีการใช้มาตรการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดได้สมบูรณ์ที่สุดในยุโรปตะวันออก โดยในปี ค.ศ. 2012 มีผู้ใช้ยาเสพติดมารับบริการกว่า 171.000 ราย ทั้งนี้สามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีลดลงเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2011 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 เป็นต้นมา

ประเทศจีนและเวียดนาม

จากที่เคยต่อต้านมาตรการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดมาเป็นเวลานาน ทั้งประเทศจีนและเวียดนามต่างได้ดำเนินการ โครงการบำบัดการใช้สารประเภทฝิ่นทดแทน และโครงการเข็มและกระบอกฉีดยา (ตามแนวทางของประเทศยุโรปอย่างสวิสเซอร์แลนด์) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เป็นต้นมา

ประเทศสเปนและเบลเยี่ยม

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ได้มีการรวมกลุ่มเพื่อการก่อตั้งสโมสรกัญชา (Cannabis social clubs) นำโดยนักรณรงค์ ซึ่งได้เริ่มใช้การตีความตัวบทกฎหมายที่อนุญาตให้มีการเพาะปลูกกัญชาเพื่อใช้เสพเป็นส่วนตัวในวงแคบๆ ทั้งนี้เป็นการปูทางมาสู่การออกกฎหมายอย่างเป็นระบบ ในการผลิตและจำหน่ายแก่สมาชิกในสโมสรดังกล่าวด้วย

กลุ่มประเทศในลาตินอเมริกา

ในปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา คณะกรรมการยาเสพติดและประชาธิปไตย กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา (Latin American Commission on Drugs and Democracy) นำโดยอดีตประธานาธิบดี 4 ท่าน ได้เริ่มถกแถลงในประเด็น “ยาเสพติดและประชาธิปไตย โดยนำไปสู่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์” เพื่อเริ่มต้นให้มีการปฏิรูปนโยบายยาเสพติดที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ภายใต้หลักความเป็นประชาธิปไตยและมีมนุษยธรรม

คณะกรรมการสากลว่าด้วยนโยบายยาเสพติด (Global commission on Drug Policy)

ในปี ค.ศ. 2011 คณะกรรมการสากลว่าด้วยนโยบายยาเสพติด (Global commission on Drug Policy) ได้ออกรายงาน “สงครามต้านยาเสพติด” รายงานฉบับนี้ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศด้านยาเสพติด โดยผลักดันให้มีการปฏิรูปกฎหมายยาเสพติดไปทั่วโลก โดยเน้นไปที่การใช้มาตรการทางกฎหมายที่ผ่อนปรน หันมาใช้มาตรการทางการแพทย์ บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน ให้มีการดูแลอย่างทั่วถึงทุกกลุ่มประชากร กล่าวโดยสรุป คณะกรรมการได้รณรงค์ให้ทุกประเทศในโลกเลิกสงครามการต้านยาเสพติด แต่หันมาใช้มาตรการลดปัญหาอย่างผ่อนปรนมากขึ้น ทั้งนี้เป็นพิสูจน์ว่า แนวทางการทำสงครามต้านยาเสพติดอย่างแข็งกร้าว เป็นมาตรการที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง

รัฐวอชิงตันและรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา

ในปี ค.ศ. 2012 ได้มีการออกกฎหมายโดยการผลักดันจากกลุ่มประชาชน ผ่านผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง รัฐวอชิงตันและรัฐโคโลราโด จนกลายเป็นเขตอำนาจรัฐแรกในโลกที่จัดตั้งตลาดสำหรับกัญชาทั่วไป ทั้งนี้ที่ไม่ได้มีเพื่อใช้ทางการแพทย์ ซึ่งควบคุมตามกฎหมาย

ประเทศอุรุกกวัย

ในปี ค.ศ. 2013 อุรุกวัยเป็นรัฐประชาชาติแรกที่บัญญัติในกฎหมายเพื่อจัดตั้งตลาดสำหรับกัญชาทั่วไป โดยเป็นการผลักดันต่อกฎหมายต่อเนื่องจากกัญชาเพื่อการแพทย์ ซึ่งยังถูกควบคุมโดยกฎหมายระดับหนึ่ง

ประเทศ่นิวซีแลนด์

ในปี ค.ศ. 2013 นิวซีแลนด์ได้ผ่านกฎหมายใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่นคืออนุญาตให้มีการขายสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทตัวใหม่ (Novel psychoactive substance: NPS) ที่มีความเสี่ยงบางตัวภายใต้การควบคุมตามกฎหมาย ซึ่งไม่เคยบัญญัติอยู่ในกฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน

แหล่งข้อมูล

หนังสือ เข้าควบคุมเส้นทางสู่นโยบายยาเสพติดที่มีประสิทธิผล โครงการกำลังใจในพระดำริฯ “คณะกรรมการสากลว่าด้วยนโยบายยาเสพติด” ปีที่พิมพ์ 2560. หน้า 52-60.

2 August 2562

By nitayaporn.m

Views, 4995

 

Preset Colors